โครงการทำนาปรัง

http://www.rdpb.go.th/thai/important/0032/0032.html

โครงการทำนาปรังในพื้นที่ว่างเปล่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก


พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาให้ประสานกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก พิจารณาหาที่ว่างเปล่าของโรงเรียนฯมาพัฒนาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นการนำร่องให้ชาวบ้านได้เห็นและนำไป ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่หลักการ “พออยู่ พอกิน” ที่ได้พระราชทานไว้ให้เป็นหลักในการเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ผลการดำเนินงาน สำนักงานเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา โรงเรียนนายร้อยจปร. กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และจังหวัดนครนายก ได้ประสานดำเนินการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ว่างเปล่าในโรงเรียนนายร้อย จปร. เป็นแปลงนาสาธิตประมาณ 10 ไร่ หลังจากการสาธิตการทำนาปรังในพื้นที่ว่างเปล่า ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2541 เวลา 14.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงไถนาด้วยรถแทรกเตอร์และทรง หว่านข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 60 เพื่อปลูกข้าวนาปี ฤดูฝนปี 2541 โดยวิธีหว่านน้ำตม ใช้อัตรา เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 60 จำนวน 4 แปลง และสุพรรณบุรี 1จำนวน 4 แปลง รวม 8 แปลง คิดเป็นพื้นที่นา 9.55 ไร่ กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการปรับระดับพื้นที่แปลงนาให้มีสภาพเหมาะสมยิ่งขึ้น กรมวิชาการเกษตรสนับสนุนทางด้าน เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช พร้อมสนับสนุนงานด้านวิชาการ และการดูแลรักษา โดยมีโรงเรียนนายร้อย จปร. และ จังหวัดนครนายกร่วมสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานแปลงปลูกข้าวนาปี ฤดูฝนปี 2541
1. ปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่ละแปลงยังไม่สม่ำเสมอเนื่องจากการปรับระดับหน้าดินทำให้ต้นข้าวของแต่ละแปลงเจริญเติบโตและออกรวงไม่พร้อมกันแต่อย่างไรก็ตามระดับหน้าดินค่อนข้างสม่ำ เสมอดีกว่าเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูนาปรังที่ผ่านมา
2. น้ำท่วมคันนาทำให้ไม่สามารถสูบน้ำออกจากแปลงนาได้ เนื่องจากนา แปลงที่ 7 และ 8 เป็นแปลงที่ลุ่มต่ำกว่าแปลงอื่น ๆ เมื่อฝนตกหนักน้ำจะไหล่บ่ามาจากภูเขาลงที่ลุ่มและทะลัก
เข้าท่วมแปลง จำเป็นต้องเสริมคันนาให้สูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. เนื่องจากแปลงนาอยู่โดดเดี่ยวและอยู่ใกล้ป่าละเมาะซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของหนูและนกตว์ศัตรูข้าว ดังกล่าวจึงชุกชุมมาก
4. ปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนห่อใบข้าว หนอนกอและโรคกาบใบแห้ง
5. ปัญหาภัยธรรมชาติ คือ พายุลมแรงและฝนตกหนักมาก ทำให้ต้นข้าวในระยะออกรวงล้มเป็นบางส่วน ต้องเสียเวลาและแรงงานผูกมัดต้นข้าวที่ล้มให้ตั้งขึ้น เพื่อมิให้รวงข้าวแช่น้ำเน่าเสียหาย อย่างไรก็ตามปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ สามารถแก้ไขได้ โดยการปรับปรุงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินพร้อมทั้งปรับระดับดิน ให้สม่ำเสมอขึ้นอีก ที่รกร้างซึ่งเป็นดงมัยราพยักษ์สามารถปรับปรุงเป็นพื้นที่นาได้อีกประมาณ 2 ไร่ เพื่อทำลาย แหล่งพักพิงของหนูและนกที่จะเข้ากัดกินทำลายข้าวในแปลงนา พร้อมเสริมคันนาในแปลงที่ลุ่มให้สูงขึ้น เพื่อกันน้ำฝนไหลทะลักเข้าท่วมแปลงนา นอกจากนี้จะทดลองเปลี่ยนการปลูกข้าวนาปีจากหว่านน้ำตมเป็นวิธีปักดำ น่าจะช่วยให้ต้นข้าว เจริญเติบโตสม่ำเสมอและต้นแข็งแรงขึ้นและจะทำให้ต้นข้าวล้มน้อยลง ทั้งนี้เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จแล้ว กรมวิชาการเกษตรกำหนดแผนที่จะทำการพัฒนาปรับปรุงดินโดยการปลูกถั่ว จากนั้นก็จะทดลองทำนาปีด้วยวิธีการปักดำต่อไป
ประโยชน์ของโครงการ เพื่อเป็นโครงการนำร่องให้ชาวบ้านได้เห็นและนำไปดำเนินการ เพื่อนำไปสู่หลักการ “พออยู่ พอกิน” เพื่อนำที่ดินที่ว่างเปล่า และน้ำใช้ที่ผ่านการบำบัดแล้วมาก่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อขยายพันธุ์และเผยแพร่เทคโนโลยีการทำนาให้แก่ เกษตรกรผู้สนใจ



โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545