โครงการขุดสระเก็บกักน้ำ

http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj205.htm

โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่
ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


1. พระราชดำริ / ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฎร โดยการดำเนินงานขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ในบริเวณพื้นที่ที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 13 ไร่ 3 งาน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริไว้ดังกล่าว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ขยายผลการดำเนินงานของโครงการไปสู่ราษฎรในบริเวณใกล้ เคียงด้วย

อีกทั้งต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่


2. แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน

2.1 โครงการสาธิตในพื้นที่บ้านแดนสามัคคี อำเภอเขาวง
¼Å¡ÒôÓà¹Ô¹§Ò¹ หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแล้ว สำนักงานกปร. ได้ประสานหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 13ไร่ 3 งาน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำให้มีน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรได้อย่างเพียงพอตลอดปี โดยดำเนินงานในรูปแบทฤษฏีใหม่ ดังนี้
1) ขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่ จำนวน 3 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร
2) พื้นที่ทำนา ประมาณ 3 ไร่ มีการศึกษาทดลองปลูกข้าว และพืชไร่หลังนา
3) พื้นที่ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก ประมาณ 6 ไร่
4) พื้นที่อยู่อาศัย ถนนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน
5) บริเวณขอบสระทำโรงเลี้ยงหมูเหมยซาน และในสระน้ำมีการเลี้ยงปลา

¼Å¡ÒôÓà¹Ô¹§Ò¹ จากการดำเนินงานการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้ผลงานแยกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1) ข้าว : โดยวิธีหว่าน และปักดำได้ผลผลิตไว้สำหรับการบริโภค และเหลือขายบ้างบางส่วน
2) พืชหลังนา : โดยหลังเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนแล้ว ได้ทำการปลูกข้าวโพดหวานพิเศษ และพืชจำพวกถั่ว เพื่อไว้บริโภคและเหลือขาย รวมทั้ง เป็นการปรับปรุงบำรุงดินด้วย
3) พืชสวนครัว : ได้มีการปลูกข่า ตะไคร้ กระเพา พริก ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญงอกงามมีผลผลิตดี สามารถเก็บขายได้เงินเป็นรายได้
4) ไม้ดอก : ได้มีการปลูกมะลิ เยอบีร่า บานไม่รู้โรย ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระ ได้ผลผลิตที่สามารถเก็บขายได้ราคา
5) ไม้ผล : ได้มีการปลูกไม้ผลพันธุ์ดี ได้แก่ กระท้อน ขนุน มะม่วง ละมุดน้อยหน่า ส้มโอ มะละกอ ฝรั่ง ฯลฯ โดยอาศัยน้ำจากสระได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม้ผลบางประเภท เช่น ฝรั่ง ละมุด มะละกอ สามารถให้ผลผลิตเก็บขายเป็นรายได้ดี
6) การเลี้ยงหมู : ได้เลี้ยงหมูเหมยซานเพศเมีย 2 ตัว โดยสร้างคอกบนขอบสระเก็บน้ำ สามารถตกลูกปีละ 2 คอก ๆ ละ 10-12 ตัว
7) การเลี้ยงปลา : ได้ปล่อยปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ และปลานวลจันทร์เทศ ลงในสระเก็บน้ำจำนวน 25,000 ตัว จะสามารถจับเป็นอาหารและขายเป็นรายได้ ได้เงิน4,150 บาท
2.2 การขยายผลการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่

แนวทางการดำเนินงาน

สำนักงาน กปร. ได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสนองพระราชดำริดำเนินการขยายผลโครงการดังกล่าว โดยการขุดสระเก็บกักน้ำขนาดพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ลึก 4 เมตร สามารถ

เก็บกักน้ำได้ประมาณ 4,800 ลูกบาศก์เมตร ให้ราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความเหมาะสม และราษฎรมี ความต้องการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งราษฎรเจ้าของพื้นที่จะต้องออกค่าใช้จ่ายร่วมสมทบค่าขุดสระละประมาณ 5,000 บาท อีกทั้งเมื่อดำเนินการขุดสระเก็บกักน้ำให้แล้ว ยังมีการนำราษฎรเจ้าของสระไปศึกษา อบรม และดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ที่ดำเนินการประสบผลสำเร็จแล้ว เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาทางการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่อไป

ผลการดำเนินงาน

ในปีงบประมาณ 2542 ได้มีการขยายผลการดำเนินงานขุดสระเก็บกักน้ำประจำ ไร่นา เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ราษฎรทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังนี้

1. พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง และอำเภอสหัสขันธ์ จำนวน 100 สระ

2. พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอปทุมรัตน์ จำนวน 65 สระ

3. พื้นที่จังหวัดนครพนม จำนวน 25 สระ

4. พื้นที่จังหวัดสกลนคร อำเภอคำตากล้า จำนวน 175 สระ

5. พื้นที่จังหวัดสกลนคร อำเภอบ้านม่วงและอำเภอสว่างแดนดิน จำนวน 46 สระ

6. พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 25 สระ

7. พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 25 สระ

8. พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 25 สระ

9. พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 75 สระ

รวมจำนวนสระที่ขุดทั้งสิ้น จำนวน 561 สระ





สระเก็บกักน้ำประจำไร่นาดังกล่าว บางส่วนขุดเสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนฤดูฝนปีนี้ จึง สามารถเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้แล้ว และราษฎรเริ่มปลูกพืช ต้นไม้ บริเวณรอบขอบสระ ส่วนที่เหลือหลังฤดูฝนจะดำเนินการขุดให้แล้วเสร็จต่อไป ซึ่งราษฎรมีความตื่นตัวที่จะใช้ประโยชน์จาก สระเก็บกักน้ำนี้เป็นอย่างมาก และบางส่วนได้เข้ารับการฝึกอบรม ดูงานเกี่ยวกับการเกษตรทฤษฎีใหม่จนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถที่จะนำความรู้ และภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองแล้ว

3. ประโยชน์ที่ราษฎรได้รับ

ราษฎรมีสระเก็บกักน้ำไว้ใช้เป็นของตนเอง และต่างให้ความสนใจในการพัฒนาการเกษตรและมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มากขึ้น บริเวณขอบสระจะปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ และ เลี้ยงปลาในสระน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างคอกสัตว์แบบง่ายๆ เพื่อเลี้ยงสัตว์และในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้ง ราษฎรสามารถอาศัยน้ำจากสระที่เก็บสำรองไว้มาใช้เพาะปลูกกล้า หรือหล่อเลี้ยงต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้ ราษฎรเจ้าของสระน้ำจะมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนขุดสระ

เก็บกักน้ำ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมีงานทำตลอดปี และราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถพิสูจน์พระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ว่ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตรได้เป็นอย่างดี

4. โครงการคัดเลือกแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ดีเด่น

จากการขยายผลโครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ของหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ดำเนินงานขุดสระน้ำประจำไร่นา และส่งเสริม สนับสนุนให้ราษฎรทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และมีผลการดำเนินงานที่สำเร็จจนเป็นที่ยอมรับอีกวิธีการหนึ่งในการพัฒนาการเกษตร เพื่อให้ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้และช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้ง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542

ดังนั้น สำนักงาน กปร. จึงได้จัดโครงการคัดเลือกแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อคัดเลือกแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ประสบผลสำเร็จ อันจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการศึกษา ดูงาน และขยายผลต่อไป อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจ ให้แก่เกษตรกร โดยขอความกรุณากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 แห่ง พิจารณาคัดเลือกแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ส่งให้คณะกรรมการจัดการคัดเลือกแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กปร. และผู้แทนจากกรมต่างๆ

ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งพิจารณาคัดเลือกในเบื้องต้น ส่งเข้ามาเป็น จำนวน 130 ราย ครอบคลุม 60 จังหวัด และคณะกรรมการฯ พิจารณาคัดเลือกจากข้อมูลที่ได้รับ และพิจารณาแปลงในพื้นที่ จริงแล้ว สามารถคัดเลือกเกษตรกรที่นำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จได้ จำนวน 32 รายใน 29 จังหวัด โดยพิจารณาแบ่งเป็นเกษตรกรยอดเยี่ยม 6 ราย เกษตรกรดีเด่น 12 ราย และเกษตรกรชมเชย 14 ราย และมีพิธีประกาศผล และมอบโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล โดย ฯพณฯ นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล





โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545