โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วย

http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj202.htm

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

1. พระราชดำริ/ความเป็นมา
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริเริ่ม ดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 ตามแนวพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้จัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ โดยประสานส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการร่วมกัน เพื่อพัฒนาอาชีพด้านเกษตรกรรม ศิลปาชีพ การอนุรักษ์ป่าไม้การพัฒนาแหล่งน้ำ และให้มีการจัดการในลักษณะเดียวกับสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรÑ

2. แนวทางการดำเนินงาน
พื้นที่โครงการฯ ทั้งหมด 102,000 ไร่ ได้สำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ออกเป็น 3 ส่วน คือ ถ ส่วนที่ 1 เป็นเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า ครอบคลุมพื้นที่ 52,462 ไร่ ส่วนที่ 2 เป็นเขตพัฒนาการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตเกษตรน้ำฝน 31,600 ไร่และพื้นที่เขตชลประทาน 8,400 ไร่ ส่วนที่ 3 เป็นเขตพัฒนาอาชีพเสริม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณกว่า 4,000 ไร่ และมีศูนย์ศิลปาชีพพิเศษของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้การอบรม และพัฒนาอาชีพในครัวเรือน

3. ผลการดำเนินงาน
สำนักงาน กปร. ได้ประสานส่วนราชการต่างๆ ดำเนินการตามรูปแบบพัฒนาพื้นที่แบบถ เบ็ดเสร็จ เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาอนุรักษ์ป่าไม้และ ต้นน้ำลำธาร รวมทั้งพัฒนาอาชีพของราษฎรโดยจำแนกออกเป็น 5 แผนงาน ซึ่งมีผลความก้าวหน้า ดังนี้
1) ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค โดยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน7 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ความจุ 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่สำหรับระบบส่งน้ำอยู่ระหว่างการปรับรูปแบบการส่งน้ำ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของพื้นที่รับน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยพุง ความจุ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่ สำหรับระบบส่งน้ำกำลังดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธันวาคม 2542 อ่างเก็บน้ำห้วยตะไถ ความจุ 0.7 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 400 ไร่ ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำในแปลงนา เสร็จแล้วครอบคลุมพื้นที่ 300 ไร่ อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน ความจุ 0.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 400 ไร่ สำหรับระบบส่งน้ำกำลังดำเนินการ ก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2542 ถ อ่างเก็บน้ำห้วยทา ความจุ 2.8 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่ ปัจจุบันดำเนิน การก่อสร้างระบบส่งน้ำในแปลงนาเสร็จแล้วครอบคลุมพื้นที่ 700 ไร่ อ่างเก็บน้ำห้วยพุ ความจุ 4.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 2,700 ไร่ ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำเสร็จแล้ว อ่างเก็บน้ำห้วยหอย ความจุ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,300 ไร่ ปัจจุบันดำเนิน การก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำเสร็จแล้ว อ่างเก็บน้ำทั้ง 7 แห่งนี้ สามารถเก็บกักน้ำได้ปริมาตรสูงสุด 25 ล้านลูกบาศก์เมตรมีพื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ 8,400 ไร่ และมีปริมาณน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ไปยังอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
อนึ่งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 ตามที่ อธิบดีกรมชลประทาน กราบบังคมทูลว่า ในการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มายังพื้นที่โครงการอ่าง เก็บน้ำ ลำพะยัง จะต้องผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ของกรมป่าไม้ ทำให้มีปัญหาในการดำเนินงาน จึงได้พระราชทานพระราชดำริสรุปว่าให้รีบดำเนินการ และพิจารณาดูพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์มีพื้นที่ว่างหรือไม่ ให้ดำเนินการปลูกป่าทำเป็นอุทยานเล็กๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่จะเกิดกับป่าไม้ เพราะหากไม่ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่นั้น ซึ่งประสบความแห้งแล้งมากราษฎรก็จะไปบุกรุกป่า และทำลายพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ จนหมดไป และน้ำที่ออกมาก็จะพิจารณาว่าจะนำไปช่วยพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ในการบำรุงรักษาป่าให้เกิดความชุ่มชื้นได้มากเพียงใด
2) ด้านพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่า บำรุงรักษาป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ 52,462 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกป่าแนวกันชนระยะทาง 42 กิโลเมตร รวม 800 ไร่ และดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าแล้ว 2,850 ไร่ ปัจจุบันปลูกป่าเพิ่มเติมอีก 950 ไร่ นอกจากนี้ ดำเนินการป้องกัน และควบคุมไฟป่าและ ส่งเสริมแนวคิดคนอยู่ร่วมกับป่าแก่ราษฎร เพื่อให้ราษฏรเข้าใจ และรู้จักเก็บผลประโยชน์จากป่า และบำรุงรักษาป่าในลักษณะอนุรักษ์ เพื่อเกื้อกูลพึ่งพา ประโยชน์กันและกัน อันจะเป็นการสนับสนุนการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป
3) ด้านการพัฒนาที่ดิน ดำเนินการสำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเนื้อที่ 102,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นเขตอนุรักษ์ป่าไม้ตามธรรมชาติ เขตฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม และเขตพัฒนาพื้นที่การเกษตร โดยดำเนินการปรับปรุงพื้นที่อนุรักษ์ดินและน้ำ 1,250 ไร่ และจัดเป็นเขตปฏิรูปประมาณ 57,100 ไร่ ซึ่งได้ประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน พร้อมดำเนินการมอบเอกสารสิทธิ์ สปก.4-01 แก่ราษฎรแล้ว จำนวน 2,713 ราย เป็นเนื้อที่ประมาณ 41,930 ไร่ นอกจากนี้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพดิน โดยส่งเสริมสาธิตการใช้ปุ๋ยคอก จำนวน 150 ไร่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด 450 ไร่ และอบรม¼Ùéนำเกษตรกร ให้มีความรู้เกี่ยวกับการบำรุงดินกว่า 250 ราย
4) ด้านการพัฒนาอาชีพ
4.1 การส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตรแก่ราษฎร โดยจัดตั้งศาลาวิชาการเกษตรในพื้นที่บ้านแก่งนาง เพื่อพัฒนาแปลงเกษตรผสมผสาน ตัวอย่าง สำหรับให้เกษตรกรเข้ามาดูงาน และให้บริการเทคโนโลยีการเกษตร และพืชพันธุ์ดี ยิ่งกว่านั้น จะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างส่วนราชการกับ เกษตรกรและองค์กรชาวบ้าน เพื่อร่วมกันพัฒนาอาชีพในด้านต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพการเกษตรหลากหลายด้าน ได้แก่ การปลูกยางพารา พื้นที่ 270 ไร่ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม พื้นที่ 150 ไร่ การปลูกข้าวไร่ จำนวน 200 ราย พื้นที่ 1,050 ไร่ การปลูกไม้ผล พื้นที่ 450 ไร่ การทำไร่นาสวนผสม พื้นที่ 1,260 ไร่ถ การเกษตรแบบผสมผสาน พื้นที่ 460 ไร่ ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น
4.2 การส่งเสริมอาชีพด้านประมงและปศุสัตว์ ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานการเลี้ยงปลาในนาข้าว จำนวน 210 ราย ปัจจุบันมีศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาประจำหมู่บ้าน ซึ่งสามารถผลิตพันธุ์ปลาสนับสนุนแก่ราษฎรได้ 2 ล้านตัว เพื่อเป็นแหล่งอาหาร และเป็นอาชีพเสริมของ เกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์ผลิตพันธุ์สัตว์เล็ก และสัตว์ปีก เพื่อผลิตพันธุ์ไก่ เป็ดและสุกร สำหรับส่งเสริมแก่ราษฎรใน พื้นที่โครงการฯ รวมทั้ง จัดตั้งศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ประจำตำบลเพื่อให้บริการผสมเทียม และป้องกันรักษาพยาบาลสัตว์ ซึ่งสามารถให้บริการแก่ราษฎร ครอบคลุมพื้นที่ 11 หมู่บ้าน
4.3 การส่งเสริมระบบสหกรณ์ ได้จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด มีสมาชิกทั้งสิ้น 752 ครอบครัว ซึ่งดำเนินการธุรกิจสหกรณ์ โดยจัดหาวัสดุการเกษตรแก่สมาชิก ได้แก่ปุ๋ย อาหารสัตว์ และยาปราบศัตรูพืช บริการให้สินเชื่อด้านการเกษตร 2.7 ล้านบาท ตลอดจนการรวบรวม ผลผลิตมันสำปะหลังของสมาชิกในลักษณะรวมขายเพื่อลดการถูกเอาเปรียบและลดความเสี่ยงด้านราคา นอกจากนี้สหกรณ์ฯ ยังให้บริการด้านต่างๆ แก่สมาชิก อาทิ การอบรมผู้นำกลุ่ม การส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มสตรีและเยาวชนให้สามารถประกอบอาชีพเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนต่อไปถ นอกจากการส่งเสริมอาชีพการเกษตร และระบบสหกรณ์แล้ว โครงการฯ จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ การทอผ้าไหม การทำไม้กวาด การซ่อมเครื่องยนต์ ฯลฯ เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่มีความรู้ในการประกอบอาชีพมากขึ้น และเป็นทางเลือกสำหรับราษฎรในการทำงานหา เลี้ยงชีพ และเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
5) ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตและโครงสร้างพื้นฐาน
ดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ การศึกษาของเยาวชนและถ เด็กเล็ก ด้านสาธารณสุข ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา ด้านองค์กรระดับ หมู่บ้านโดยยกระดับการศึกษา สุขภาพอนามัยของราษฎรในพื้นที่เป้าหมายให้สูงขึ้น และพัฒนาให้ชุมชนมีความ เป็นระเบียบ มีความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือพึ่งพากัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อมในชุมชนถ นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน โครงการฯ ในพื้นที่โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ปฏิบัติงานในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการเตรียมความพร้อมของประชาชน โดยประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการสำรวจ พื้นที่เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ การรณรงค์ปลูกป่าเพิ่มเติม และการคัดเลือกราษฎรที่มีศักยภาพและมีความตั้งใจพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ ¡ารขยายผลสู่ราษฎรบริเวณใกล้เคียงต่อไป ทำให้การดำเนินงานของโครงการฯ ก้าวหน้าไปได้มาก ประสบความ สำเร็จในการป้องกันรักษาป่า การตัดไม้ทำลายป่าลดลงมา และราษฎรตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง และเข้าร่วมสนับสนุนโครงการฯ ได้เป็นอย่างดีถ สำนักงาน กปร. ได้ประสาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ ขึ้น เพื่อวางกรอบนโยบาย และแผนงานที่จะ ปฏิบัติงานในปี2543-2544 เพื่อให้เกิดการพัฒนาในลักษณะแบบเบ็ดเสร็จ มีความสอดคล้องต่อเนื่องและเกิดประโยชน์แก่ราษฎรอย่างสมบูรณ์ทุกด้าน อันจะทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีความเป็นอยู่ พอกินพออยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิมในอนาคต







โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545