การจราจรกับผู้ใช้ทองถนน

http://www.samukkee.org/magazine/
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ผู้ใช้ถนน (Roadusers) จำกัดความแต่เฉพาะเจ้าของรถยนต์และผู้ใช้บริการขนส่งมวลชน การวางแผนและออกแบบจึงเน้นไปที่คนกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนใหญ่ ถนนที่ออกแบบจะต้องรองรับปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสมต่อการให้บริการ ในกรณีที่ปริมาณช่องจราจรไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณการจราจร การขยายถนนก็จะมีความจำเป็น เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ การเวนคืนที่ดินจึงทำได้ค่อนข้างจำกัด และกฏหมายในอดีดที่ให้กำหนดให้มีระยะ Setoff ของสิ่งปลูกสร้างที่น้อยจนเกินไป ทำให้การขยายถนนจำเป็นต้องเข้าไปแบ่งส่วนของพื้นที่ฟุตบาทข้างทาง

แนวความคิดสำหรับสหัสวรรษใหม่ คำจำกัดความของผู้ใช้ถนนควรจะต้องมีการปรับปรุงให้กว้างและชัดเจนมากขึ้น ผู้ใช้ถนนในที่นี้นอกจากผู้ขับขี่ยานพาหนะแล้ว ยังควรจะรวมถึงผู้ใช้ทางเท้า คนพิการซึ่งมีขีดจำกัดในการใช้ระบบขนส่งแลจำเป็นจะต้องมีการออกแบบพิเศษเพื่อรองรับ ผู้ใช้จักรยาน หรือพาหนะอี่นๆ ในการเดินทาง รวมเรียกว่าการออกแบบสำหรับ Multi-modal design

Multi-modal design ถูกแรงกดดันจากกลุ่มผู้ใช้ถนนที่ถูกละเลยจากแนวความคิดในการออกแบบเดิมๆที่ผ่านมา และทำให้การออกแบบในปัจจุบันหันมาคำนึงถึงการออกแบบเพื่อประสานประโยชน์ของผู้ใช้ถนนมากขึ้น การออกแบบจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความเสมอภาค (Equality) ในการเข้าไปใช้ประโยชน์ของระบบบริการนั้นๆ การยอมรับระดับการให้บริการที่อาจจะไม่ดีเหมือนเดิมของผู้ใช้รถ ในขณะที่เพิ่มความสะดวกหรือปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้ใช้ถนนกลุ่มอี่นๆ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า ผู้ใช้ถนนทุกคนมีโอกาสในการเป็นผู้เดินเท้า แต่ไม่ใช่ทุกคนจำเป็นจะต้องเป็นเจ้าของรถยนต์เสมอไป ดังนั้นปริมาณความต้องการในการใช้พื้นผิวของถนนควรจะให้มีความเสมอภาคทั้งคนเดินเท้าและผู้ใช้รถ การออกแบบทางเดินเท้าควรจะต้องได้รับความเอาใจใส่เท่าเทียมกับผู้ใช้รถ ปริมาณพี้นผิวสำหรับทางเดินก็จำเป็นจะต้องมีอย่างพอเพียงกับปริมาณผู้มาใช้ ซึ่งดูเหมือนจะถูกมองข้ามเพื่อนำพื้นที่เหล่านั้นไปใช้สำหรับช่องทางเดินรถดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้ความปลอดภัยของคนเดินถนนยังถูกมองข้ามอย่างไม่น่าจะยอมให้เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่การยอมให้รถจักรยานยนต์ขึ้นไปใช้ทางเท้าเป็นช่องทางสัญจรเพื่อแก้ไขปัญหารถติด สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้ทางเท้าเกิดความเครียด ไม่ปลอดภัย ถึงแม้ตนเองจะใช้พื้นที่ที่ออกแบบไว้สำหรับตนเอง

เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งสำหรับสังคมของเราก็คือการขาดความเอาใจใส่ต่อคนพิการ หรือการจัดลำดับความสำคัญของคนกลุ่มนั้นน้อยกว่าคนกลุ่มอี่นๆ การออกแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ได้คำนึงถึงหรือมาคิดได้ภายหลังว่าจำเป็นจะต้องออกแบบเพื่อคนกลุ่มนี้เช่นกัน ข้ออ้างส่วนนึงที่ถูกนำมาใช้อยู่ตลอดเวลาก็คืองบประมาณไม่เพียงพอจำเป็นจะต้องทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ก่อน ข้ออ้างนี้ฟังอย่างไรก็คงไม่ขึ้น การเปรียบเทียบอย่างง่ายที่สุดก็คือ งบประมาณที่ลดลงอาจทำให้ไม่สามารถขยายถนนออกไปสองเลนได้จำเป็นต้องสร้างเพียงเลนเดียว ข้อเสียก็คือรถอาจจะติดนานขึ้น แต่ถ้าการออกแบบสำหรับคนพิการถูกมองข้ามอย่างเช่นการออกแบบทางข้ามที่ไม่ดี ไม่มีความชัดเจนระหว่างทางเดินเท้ากับส่วนของพื้นถนนอาจทำให้คนที่พิการทางสายตาเดินผ่านไปกลางถนนโดยไม่รู้ได้ และอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

หลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปได้มีการรณรงค์ให้มีการใช้จักรยานกันมากขึ้นเพื่อรถปัญหาการจราจร เมื่อเริ่มต้นใหม่ๆ คนส่วนใหญ่ก็มองไม่ออกว่าการใช้จักรยานจะช่วยรถปัญหาได้อย่างไร แต่หลังจากผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งการศึกษาพบว่าการรณรงค์ให้หันมาใช้จักรยานไม่มีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อปริมาณการจราจรในระยะไกลจริง คนที่เดินทางระยะไกลๆก็ยังเลือกที่จะใช้รถยนต์อยู่ แต่มีผลในทางที่เป็นประโยชน์ในการลดปริมาณการจราจรของรถยนต์ในระยะใกล้ๆได้ ในถนนที่มีการจราจรผสมทั้งการเดินทางระยะไกลและระยะใกล้รวมกัน ถนนเหล่านั้นจะให้บริการที่ดีขึ้นถึงแม้พื้นที่ของถนนส่วนนึงถูกลดลงเพื่อนำไปใช้เป็นช่องทางของจักรยาน คนที่เคยขับรถไปจ่ายกับข้าวใกล้บ้านก็หันมาใช้จักรยาน เนื่องจากสะดวก ไม่มีปัญหาเรื่องของการจราจรติดขัด

อย่างไรก็ตามการรณรงค์จะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีการออกแบบที่ถูกต้อง ต้องปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ทั้งจักรยานและผู้ใช้รถยนต์ อุบัติเหตุเพียงหนึ่งหรือสองครั้งก็อาจทำให้คนเปลี่ยนใจกับไปใช้รถยนต์เช่นเดิมได้




โดย : เด็กชาย รุ่งโรจน์ ดาพรม, ราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545