http://www.samukkee.org/magazine/
อาจารย์เกตุได้มองเห็นถึงปัญหาและได้ศึกษา จนพบรายงานเกี่ยวกับปัญหาของสารฟลูออไรด์ในนํ้าและได้พยายามหาทางแก้ไข ช่วงแรกทางโรงเรียนได้ซื้อเครื่องกรองนํ้าทำด้วยท่อพีวีซีและบรรจุเถ้ากระดูกจากโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งชนะการออกแบบโครงการวิทยาศาสตร์มาใช้ แต่ว่าพอใช้ไปเถ้ากระดูกก็หลุดลงมา ทำให้เด็กๆกลัวไม่กล้าใช้ เลยคิดที่จะพัฒนาเครื่องกรองนํ้าขึ้นมาใช้ในโรงเรียนเอง
เดิมโรงเรียนมีงบประมาณเพียงแค่หนึ่งหมื่นบาท จึงได้ติดต่อองค์การศุภนิมิตรที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับเงินสนับสนุนมาสมทบอีกสี่หมื่นบาท จากนั้นได้ติดต่อศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ (สำนักงานตั้งอยู่ในจ.เชียงใหม่) เมื่อได้ทำการตรวจสอบนํ้าดื่มในโรงเรียน พบว่ามีสารฟลูออไรด์สูงถึง 8 ppm (parts per million) เกินจากที่ยอมรับได้จากอ.ย.ที่ 1.5 ppm ทางศูนย์ได้ติดต่อพ่อกำนันไลให้ช่วยสร้างและปรับปรุงเครื่องกรองนํ้าโดยใช้เถ้าที่มาจากการเผากระดูกสัตว์มาเป็นตัวกรอง จากการทดสอบเครื่องครั้งแรก พบว่าสามารถกำจัดสารฟลูออไรด์ในนํ้าจาก 7.85 ppm ให้ลดลงเหลือ 0.74 ppm ทำให้เกิดกำลังใจในการพัฒนาเครื่องกรองนํ้าต่อมา ปัจจุบันได้วางเครื่องกรองนํ้าไว้ 3 จุดคือที่โรงอาหาร อาคารเรียนเด็กมัธยม และเครื่องใหญ่ข้างถังนํ้าของโรงเรียน
ในส่วนของเครื่องกรองนํ้านั้น กำนันไล อุตระพ
|