นก

นก . 2001. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก . http://kanchanapisek.or.th
นก
นกเป็นสัตว์ที่มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ และมีเสน่ห์ในตัวเองที่แตกต่างกันไป เท่าที่ศึกษากันมาคาดว่ามีนกอยู่ในโลกประมาณ 9,000 ชนิด ในประเทศไทยมีประมาณ 917 ชนิด ใน 89 วงศ์ เป็นนกที่มีการผสมพันธุ์ในประเทศ 638 ชนิด มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศ 167 ชนิด นกอพยพ 23 ชนิด ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นนกที่อยู่ในภาวะอาจจะสูญพันธุ์ 190 ชนิด และที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 93 ชนิด นกที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด คือ พวกที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มทั้งในป่าและแหล่งน้ำต่างๆนกที่อาศัยตามชายฝั่งทะเลและนกในป่าชายเลนที่พบโดยทั่วไปจะกินพืชและสัตว์น้ำเป็นอาหาร ลักษณะเด่น คือ มีขายาว คอยาว จงอยปากยาว เพื่อสะดวกในการหาอาหาร เช่น เหยี่ยวแดง (Brahminy kite : Haliastur indus) นกกินเปี้ยว (Collared kingfisher : Halcyon chloris) นกหัวโตขาดำ (Kentish piove : Charadrius alexan drinus) นกหัวโตขาเหลือง (Luttke rubged plover : C.dubius) นกเด้าดิน (Common sandpiper : Actites hypoleucos) นกเลนชายฝั่ง (Marsh sandpiper : Tringa stagnatilis) นกทะเลขาแดงธรรมดา (Common redshank : T.totanus) นกอีก๋อยเล็ก (Whimbrel : Numenius phoeopus) นกนางนวลธรรมดา (Brown-headedgull : Larus bounnicephalus)
ในประเทศไทยนกชายฝั่งที่สำคัญมีอยู่หลายชนิด หนึ่งในจำนวนนั้น คือ นกชาปีไหน (Nicobar pigeon : Caloenas nicobarica) เป็นนกประจำถิ่นอยู่ในวงศ์นกเขา มีขนาดใหญ่กว่านกเขาทั่วไป หางสั้นขนสีเขียวแก่เลื่อม หางสีขาว ในประเทศไทยถือว่าพบเห็นได้ยากแต่จะพบอยู่ ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงาคนเป็นจำนวนมากเข้าใจว่า นกเป็นเพียงสิ่งประดับในธรรมชาติซึ่งให้ความสวยงามเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว นกมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพวกพืชและต่อการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การเป็นผู้ผสมเกสรดอกไม้ กระจายเมล็ดพันธุ์ และการเป็นทั้งเหยื่อและผู้ล่าของห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติและระบบนิเวศน์แล้ว นกยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์เราทางด้านจิตใจ อีกด้วย เนื่องจากความหลากหลายของชนิด ความงดงามของสีสัน ความน่ารักของพฤติกรรมและท่าทางของนก ทำให้กิจกรรมการดูนกเป็นที่ สนใจและรื่นรมย์ของผู้คนที่ได้มีโอกาสพบเห็น นกจึงเป็นเสมือนชนวนจุดประกายกระแสความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ดี ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในธรรมชาติ เกิดขึ้นจากกระแสความต้องการปกป้องพื้นที่พักอาศัยของนก ซึ่งอพยพจากดินแดนหนึ่ง ไปยังอีกดินแดนหนึ่งตามฤดูกาลโดยไม่คำนึงว่า ดินแดนที่ตนอพยพไปนั้นอยู่ในเขตแดนของประเทศใด จนเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ เรียกว่า อนุสัญญาแรมซาร์ หรือ RANSARCONVENTION ซึ่งมีกำหนดมาจากการประชุมที่เรียกว่า Convention on Wetlands of Internation Importance Especially as Waterfowl Habitat นั่นเองแหล่งพักอาศัยของนกน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย คือ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด บริเวณทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่เศษ นอกจากการเป็นแหล่งพักพิงของนกน้ำอพยพนานาชนิดแล้วยังเป็นที่เพาะพันธุ์หา อาหารและอยู่อาศัยอีกมากมายหลายชนิด การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ไว้ในเขตอุทยานแห่งชาติ จึงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาแรมซาร์ อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำอีกหลายแห่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันนี้ แต่ยังไม่ได้รับความสนใจที่จะดูแลรักษาและปกป้องไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง และแม่กลอง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้กำลังถูกกระแสการพัฒนาประเทศ การสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและมากมายกว่าการเก็บพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านั้นไว้สำหรับการเป็นที่อยู่อาศัยของนก และสัตว์น้ำอื่นๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรแบ่งปันผืนดินบนโลกให้กับนกและสัตว์เหล่านั้นบ้าง




โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545