ครุฑกับนาค

ครุฑ คือพาหนะของพระวิษณุ กินนาคเป็นอาหาร ส่วน นาค เป็นพระแท่นให้พระวิษณุบรรทมในน้ำ และเป็นที่มาของคำว่า นารายณ์บรรทมสินธุ์ คนไทยที่เชื่อว่า พระมหากษัตริย์เป็นอวตารหนึ่งของ พระวิษณุ จึงได้นำเอาครุฑและนาค ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ มาทำเป็นสัญญลักษณ์ของ พระมหากษัตริย์ ในตำรามหาภารตะได้กล่าวถึงครุฑและนาคไว้ว่า ในขณะที่พระพรหมกำลังสร้างโลกอยู่นั้น พระทักษะ ปชาบดีได้ยกลูกสาวทั้ง 13 คน ให้เป็นภรรยาฤๅษีกัสปะ และเกิดบุตรหลานจำนวนมาก โดยนางกัทรุ เป็นมารดาของนาคและงู 1,000 ตัว นางวินตาให้กำเนิดไข่ 2 ใบ ซึ่งต้องใช้เวลาฟักนานมาก นางวิน ตาจึงทุบไข่ใบหนึ่งให้แตกเป็นตัวออกมาบุตรนางวินตาเมื่อออกมาจากไข่แล้วก็กลายเป็นชาย ครึ่งคนครึ่งนก แต่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ เพราะออกจากไข่เร็วเกินไป จึงบอกแก่นางวินตาว่า ควรปล่อยให้ไข่อีกใบ ออกเป็นตัวออกมาเอง จะเป็นครึ่งชายครึ่งนกที่สมบูรณ์มีบุญญาธิการและพละกำลังมาก และจะเป็นผู้ช่วยให้นางวินตาพ้นทุกข์ เมื่อกล่าวจบก็บินจากไป และไปเป็นสารภีให้พระสุริยเทพ ต่อมานางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันว่า ม้าอุจชัยควรที่วิ่งไปมาอยู่บนสวรรค์มีหางเป็นสีอะไร ถ้าใคร แพ้ ก็ต้องเป็นข้ารับใช้ให้อีกฝ่ายตลอดไป นางวินตาเลือกตอบว่าสีขาว นางกัทรุตอบว่าสีดำ ซึ่งนางกัทรุก็รู้อยู่ว่าหางม้าเป็นสีขาว นางกลัวแพ้จึงขอให้ลูกๆ ซึ่งเป็นงูและนาค 1,000 ตัวมาช่วย โดยแทรก เข้าไปที่ขนหางของม้าให้เป็นสีดำ เมื่อม้าวิ่งมาถึง ทั้ง 2 จึงเห็นว่าหางม้าเป็นสีดำ นางวินตาจึงแพ้และกลายเป็นข้ารับใช้ให้นางกัทรุ ในขณะนั้น ไข่ใบที่ 2 ของนางวินตา ได้แตกตัวออกมาเป็นครึ่งชายครึ่งนก มีความสมบูรณ์ แข็งแรง และ เจริญเติบโตรวดเร็วมาก สามารถบินข้ามมหาสมุทรได้ในเวลาอันสั้นเมื่อออกจากไข่แล้ว ก็บินไปตามหา นางวินตาจนพบ นางวินตาจึงเล่าเรื่องที่ถูกนางภัทรุโกงจนต้องมาเป็นทาสรับใช้ บุตรนางวินตารู้เรื่อง ก็โกรธ แต่นางวินตาได้ห้ามไว้ไม่ให้ไปทำอะไรฝ่ายนางกัทรุ เพราะต้องการรักษาสัตย์ บุตรนางวินตาก็ ยอมและอยู่กับนางวินตา คอยรับใช้นางกัทรุและลูก ๆ ต่อมานางกัทรุและลูก ๆ ต้องการไปเที่ยวในมหาสมุทร จึงได้พากันขี่หลังบุตรนางวินตา บุตรนางวินตา ยังมีความโกรธแค้นอยู่จึงบินเข้าไปใกล้พระอาทิตย์ ลูกๆ ของนางกัทรุทนร้อนไม่ไหว จึงได้พากันกระโดด ลงไปยังมหาสมุทร นางกัทรุจึงขอให้พระอินทร์ช่วย พระอินทร์จึงบันดาลเมฆมาบังแสงอาทิตย์ให้ลูกๆ นางกัทรุจึงปลอดภัย ในที่สุดบุตรนางวินตาได้เข้าไปเจรจาขอแลกอิสรภาพจากนางกัทรุ นางจึงได้ขอแลก กับน้ำอำมฤต บุครนางวินตาจึงบินไปหาน้ำอำมฤต ในระหว่างทาง ได้พบฤๅษีกัสปะผู้เป็นบิดา ซึ่งได้แนะ นำให้บุตรนางวินตากินเต่ายักษ์และช้างที่กำลังสู้กันเพื่อเพิ่มพลัง บุตรนางวินตาจึงได้จับสัตว์ทั้ง 2 กิน แล้วบินต่อไป ถึงต้นไทรต้นหนึ่งก็แวะลงไปเกาะ ต้นไทรนี้มีฤๅษี 4 ตนกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ เมื่อบินลงมา เกาะทำให้หนักมากกิ่งไทรจึงหัก บุตรนางวินตาจึงจับกิ่งไม้นั้นไว้เพื่อไม่ให้ฤๅษีทั้ง 4 ตนตกลงไป ฤๅษีทั้ง 4 จึงเรียกบุตรนางวินตาว่า ครุฑ แปลว่า ผู้แบกหรือผู้ยกของหนักได้ บุตรนางวินตาจึงได้ชื่อว่าพญาครุฑ ตั้งแต่นั้นมา แล้วพญาครุฑก็เดินทางต่อไปเพื่อไปเอาน้ำอำมฤต ซึ่งพระอินทร์เป็นผู้รักษาไว้เมื่อเรื่องนี้รู้ถึงพระอินทร์ จึงสั่งเพิ่มกำลังให้เข้มแข็ง โดยชั้นนอกให้เทวดาสวรรค์รักษาไว้ให้หม้อน้ำอำมฤตอยู่ตรง กลางกงจักร มีงู 2 ตัวหมุนกงจักรและมีไฟล้อมรอบ เมื่อพญาครุฑมาถึง ก็ใช้ปีกกระพือลมพัดทหารกระเด็นไป แล้วจึงไปอมน้ำในมหาสมุทรมาพ่นดับไฟรอบกงจักร และกินงูที่หมุนกงจักรนั้นแล้วจึงนำน้ำอำมฤตกลับมาไถ่ตัวมารดา พระอินทร์ก็เข้าขัดขวางจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น แต่พระอินทร์สู้ไม่ได้ ร้อนถึงพระวิษณุต้องลงมาช่วย แต่ทั้งพระวิษณุและพระยาครุฑต่างก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ทั้ง 2 จึงหยุดรบ และทำสัญญาเป็นไมตรีต่อกัน โดยพระยาครุฑสัญญาที่จะเป็นพาหนะของพระวิษณุตลอดไป ฝ่ายพระวิษณุก็ให้พรพระยาครุฑในการเป็นอมตะ ไม่มีใครมาทำอันตรายได้ เมื่อพระยาครุฑนำน้ำอำมฤติไปไถ่ตัวมารดาแล้ว จึงได้จับงูและพระยานาคกินเป็นอาหารตั้งแต่นั้นมา แต่เนื่องจากทั้งพญานาคและพญาครุฑต่างก็เป็นผู้รับใช้พระวิษณุด้วยกัน พระวิษณุจึงขอร้องพญาครุฑว่าอย่าทำอันตรายพญานาคเมื่อ อยู่ต่อหน้าพระองค์


ครุฑกับนาค . 2545 . [Online] . เข้าถึงได้จาก www.viboon.com




โดย : นางสาว จีระนันท์ ขลุ่ยกระโทก, ripw คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545