เล็บมือนาง

เล็บมือนาง. 9 พฤศจิกายน 2544. บ้านเมือง. : 21.

เล็บมือนาง เป็นไม้เถาเลื้อย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
การปลูก ใช้รากหรือเหง้าที่มีต้นอ่อนเกิดขึ้นแยกมาชำในที่ชุ่มชื้น เล็บมือนางชอบดินร่วนปนทรายและอุดมสมบูรณ์พอสมควร แสงแดดปานกลางปลูกได้ทุกฤดูกาล
ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมล็ดแก่ที่เป็นสีน้ำตาล
รสและสรรพคุณยาไทย รสเอียน เบื่อเล็กน้อย ใช้ขับพยาธิ และตานทราง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เมล็ดเล็บมือนางจะประกอบด้วยน้ำมันและสาร Qusisqualic adid (เป็นกรดอะมิโน) และ D-Manitol พบว่าสารสำคัญในการออกฤทธิ์ขับพยาธิคือ Qusisqualic adid และยังมีรายงานฤทธิ์การขับถ่ายอย่างแรงของน้ำมันในเมล็ดเล็บมือนางอีกด้วย ในประเทศจีนใช้เมล็ดเล็บมือนางเป็นยาถ่ายพยาธิมานานโดยผสมเป็นยาตำรับถ่ายพยาธิประเทศฟิลิปปินส์และประเทศแถบอินโดจีนก็ใช้เช่นกัน
การเตรียมยาสมุนไพรแบบง่ายและวิธีใช้ ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนและพยาธิไส้เดือนและพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็กใช้ 2-3 เมล็ด(หนัก 4-6 กรัม) ผู้ใหญ่ใช้ 5-7 เมล็ด (หนัก 10-15 กรัม)ทุบพอแตกต้มเอาน้ำดื่มหรือหั่นทอดกับไข่รับประทาน
ข้อควรระวัง เมล็ดเล็บมือนางอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ สะอึก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน



โดย : นางสาว malee pinkes, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545