นำอัดลมกับนำหวาน

คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สารานุกรมวิทยาศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
น้ำหวานและน้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มอีกประเภทหนึ่งที่นิยมดื่มกันมาก ส่วนประกอบสำคัญในการผลิตได้แก่ น้ำตาลและหัวน้ำเชื่อมถ้ามีการนำส่วนประกอบดังกล่าวมาอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้มีรสซ่าจะเป็นพวกน้ำอัดลมแต่ถ้าไม่มีการอัดแก๊สดังกล่าว ก็จัดเป็นเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน นอกจากนั้นอาจมีการเติมสี และวัตถุกันเสีย ซึ่งวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กรดเบนโซอิก หรือกรดซอร์บิก โดยใช้ได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 1 กิโลกรัม น้ำอัดลมหรือน้ำหวานบางชนิดอาจใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งได้แก่พวกซัลคลาเมตดัลซิล และซัลคาริน หรือขัณฑสกร ซึ่งล้วนเป็นสารที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล สารเหล่านี้ไม่มีคุณค่าทางอาหารเลย และยังทำให้เกิดโทษด้วย ซึ่งก็ได้ทดลองให้สารทดลองเหล่านี้กับหนู พบว่าทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
ปัจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศห้ามใช้ ซัยคลาเมต และดัลซิลแล้วฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ผู้ผลิตจึงคำนวนถึงมาตราฐานและข้อห้ามต่างๆ ตามที่กระทรวงสาธารณกำหนดไว้ด้วย




โดย : นางสาว kloyjai chompraklap, student 4/3klongluang patumtani 1318, วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545