การแปลงสเกล

การแปลงสเกล

ในปัจจุบันนี้ผลงานทางกีต้าร์นับได้ว่าก้าวหน้าทัดเทียมไม่แพ้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดเลยทีเดียว ซึ่งผลงานการประพันธ์ อันเกิดจากคีตกวีทางกีต้าร์นั้นมีมากขึ้นและยังได้พัฒนาดัดแปลงวิธีทางกาเล่นใหม่ ๆ ขึ้นอีก ซึ่งจะพบได้จากบทเพลงของ เลโอ บรูเวอร์ (LEO BROUWER) ซีลวาโน บอสโซตติ (SYLVANO BOSSOTTI) มัวลิซ โอฮานา (MAURICE OHANA) คริสโตบาล ฮาล์ฟเตอร์ (CRISTOBAL HALFFTER) และคีตกวีอื่น ๆ อีก โดยที่บทเพลงซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้เป็นแนวทางของดนตรีแบบร่วมสมัย (CONTEMPORARY) ซึ่งคีตกวีได้คำนึงถึงเรื่องของเสียงเป็นสำคัญ ไม่ว่าอะไรก็ตามที่สามารถทำให้เกิดเสียงได้ สิ่งนั้นก็สามารถนำมาประกอบเป็นบทเพลงได้ และจากจุดนี้เองที่ทำให้เราเห็นได้ว่าคีตกวีในปัจจุบันนี้ ไม่เพียงเฉพาะคีตกวีทางกีต้าร์เท่านั้นที่ให้ความสำคัญของเรื่องของ เสียง แต่ยังรวมถึงคีตกวีทั่ว ๆ ไปอีกด้วย
โดยปกติแล้ว ในดนตรีอเมริกัน (โดยเฉพาะกีต้าร์) เมื่อจะเล่นเพลงแนวอะไรซักอย่างก็จะมีการเอาโน้ตจากเมเจอร์สเกลนั้นแหละมาแปลงค่าโน้ตบางตัว
ทั้งนี้เพื่อให้ได้สุ้มเสียงแบบที่ต้องการ สมมติว่าจะเล่นเพลงร็อคในสเกล A : Major ก็จะมีการเอาโน้ตในสเกลเอเมเจอร์ที่ว่านี้ มาแปลงค่าโน้ตบางตัวเพื่อให้ได้สุ้มเสียงแบบดนตรีร็อค มันจึงเกิดสูตรขึ้นมาว่า Rock Scale ก็คือแปลงค่าโน้ตตัวที่ 3,7 ในสเกลเมเจอร์ใดๆ ก็ได้ให้ต่ำลงจากเดิมครึ่งเสียง ขอให้ดู EX.1
ตัวอย่างนี้แต่เดิมคือสเกลเอเมเจอร์และโน้ตตัวที่ 3,7 ถูกแปลงค่าลดลงจากเดิมครึ่งเสียง แต่เดิมโน้ตตัวที่ 3,7 ของสเกลนี้ติดชาร์พอยู่ 1 ตัว เมื่อโดนลดลงครึ่งเสียงเราก็ตัดเครื่องหมายชาร์พทิ้งไป โน้ตทั้งสองตัวที่ว่านี้จึงกลายเป็นโน้ตตัวธรรมดาไป หรือจะเรียกว่า Natural ก็ได้ครับ สเกลนี้อาจเรียกว่า A : Dorian Mode ก็ได้ จึงขอสรุปว่าเราจะเรียกมันว่าเป็น A : Rock Scale หรือ A : Dorian Mode มันก็ถูกทั้งคู่ อาจจะมีการเพิ่มตัวโน้ตแฟลต 5 (b5)เข้าไป
ด้วยก็ได้ (ถ้าอยากจะเพิ่ม) EX.2 อันนี้มันคือสเกล A : Dorian Mode (ADD b5) นั่นก็คือให้ลดเสียงตัวที่ 5 ลงจากเดิมครึ่งเสียงด้วย ก็คือโน้ตตัว E ในที่นี้ก็ต้องเอาเครื่องหมายแฟลตมาใส่หน้าตัวโน้ต เพื่อให้เสียงมันต่ำลงจากเดิมครึ่งเสียง สเกลอันนี้มันจึงมีโน้ตดังนี้ครับท่าน เริ่มที่โน้ตตัว A-B-C-D-Eb-F#-G-A
เรื่องเกี่ยวกับการแปลงค่าโน้ตต่างๆในสเกลเพื่อสร้างคอร์ดชนิดต่างๆ รวมไปถึงการสร้างสเกลแปลกๆใดๆ ก็ตามผมจะเน้นไอ้เรื่องการแปลงค่าโน้ตในสเกลเพื่อผลิตงานดนตรีอยู่เสมอ ถ้าเราไปพบคำว่าสูตรบลูส์สเกล = b3,b5,b7 ตรงนี้หมายถึงให้ลดค่าของโน้ตตัวที่ 3,5,7 ของเมเจอร์สเกลใดๆก็ตามลง ตัวละ
ครึ่งเสียงนะครับ ไม่ใช่ให้เอาแฟลตไปใส่หน้าโน้ตนะครับ มันจะผิด เพราะเท่าที่พบมาคนก็ชอบถามเรื่องนี้กันมาก ถ้าบังเอิญโน้ตตัวที่ 3,5,7 มันเป็นตัวธรรมดาก็ทำได้ง่าย แต่ถ้ามันบังเอิญติดแฟลตบ้างหรือชาร์พบ้าง แล้วจะไปลดเสียงมันจะทำอย่างไรดีตรงนี้ไม่ขออธิบายแล้วครับ ขอให้ไปหาคำตอบเอาเองก็แล้วกัน



ที่มา จากหนังสือ PROGRESSIVE THE GUITAR 2001 เล่มที่ 324
ผู้ร่วมดำเนินงาน : นาย คมกฤช กิจเจตนี
นายพินิต แม่นยำ
นางสาว ขวัญจิต ไกรเพิ่ม



โดย : นาย นายยุทธเนศ ฝักคูณ, โรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์, วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545