โรคปากและเท้าเปื่อย


Mouth and foot decay






เนื่องด้วยโรคปากและเท้าเปื่อยในประเทศไทยที่พบในขณะนี้มี 3 ชนิด คือ โอ, เอ และเอเซียวัน ซึ่งแต่ละชนิดไม่สามารถให้ความคุ้มครองโรคแก่สัตว์ที่เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ชนิดเดียวกันได้ ดังนั้นจึงอาจเป็นโรคที่เกิดจากชนิดอื่นได้ ตัวอย่างเช่น สัตว์ที่ฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดโอแล้ว ก็อาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดเอ หรือเอเซียวันได้ การเก็บตัวอย่างเชื้อจาก โค กระบือ สุกร แพะ และแกะ จากท้องที่ที่เกิดโรคนี้มาตรวจวินิจฉัย เพื่อ
1. ให้ทราบว่าเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยหรือไม่และเป็นชนิดใด
2. ให้ทราบว่าเชื้อชนิดใดกำลังระบาดอยู่ในตำบล อำเภอ จังหวัดใด เพื่อการศึกษาทางระบาดวิทยาในสัตว์
3. ให้การใช้วัคซีนในการป้องกันและกำจัดโรคตรงกับชนิดของเชื้อที่กำลังระบาดในแต่ละพื้นที่



1. บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือ แผลที่ลิ้น บริเวณปาก แผลที่กีบ ไรกีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจของลูกสัตว์แรกเกิด
2. ในโค กระบือ ให้เก็บจากแผลเยื่อลิ้นและแผลบริเวณปาก โดยใช้ผ้า ในสุกร ให้เก็บจากแผลหรือตุ่มใสบริเวณเหนือจมูก หรือรอบ ๆ ปากและภาชนะที่สะอาด
2. ในสุกร หรือโค กระบือ แพะ แกะ ที่เดินเขยกแสดงว่าเชื้อแพร่กระจายไปถึงเท้าแล้วและไม่สามารถเก็บเยื่อลิ้นได้ ควรเก็บเชื้อจากบริเวณไรกีบ ซอกกีบ หรืออุ้งกีบแทน โดยทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดก่อน
3. 4. ขนาดของเนื้อเยื่อเก็บเชื้อไม่ควรน้อยกว่า 1 ตารางนิ้ว หรือรวมกันให้ได้มากกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเนื้อเยื้อจากสัตว์ตัวหนึ่ง ๆ ได้น้อย ก็ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มเติมด้วย และแยกขวดเป็นตัว ๆ ไป
5. เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ำยา 50 % กลีเซอรีนบัฟเฟอร์ เขย่าให้น้ำยาท่วมเนื้อเยื่อ ปิดจุกให้แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ำยารั่วไหล ทำเครื่องหมาย ขวดให้ชัดเจน
6. ในกรณีไม่สามารถเก็บเนื้อเยื่อได้ ขอให้เจาะเลือดอย่างน้อย 5 มล.แยกส่วนที่เป็นน้ำเหลือง เก็บในขวดที่สะอาดปราศจากเชื้อ ปิดจุกให้แน่น และปิดทับด้วยเทปกันการรั่วไหล
7. การนำส่งขวดบรรจุเนื้อเยื่อหรือน้ำเหลืองที่ได้ฆ่าเชื้อภายนอก ขวดแล้ว ห่อทับด้วยกระดาษหลาย ๆ ชั้น หรือห่อด้วยวัสดุอื่นกันขวดแตก แล้วบรรจุกล่องหรือภาชนะที่ไม่แตกง่ายพร้อมกับบันทึกประวัติของสัตว์ป่วยรีบนำส่งทันที หรือในกรณีจำเป็นต้องเก็บไว้ก่อน ควรเก็บในตู้เย็นหรือกระติกน้ำแข็ง วิธีนำส่งที่ดีที่สุด คือ นำส่งในสภาพแช่เย็นในกระติกน้ำแข็ง โดยมีปริมาณน้ำแข็งเพียงพอ จนถึงศูนย์โรคปากและเท้าเปื่อยอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 ในกรณีที่ไม่สามารถนำส่งในสภาพแช่เย็น ก็อาจส่งทางไปรษณีย์โดยเร็ว
หมายเหตุ
1. หากพบตุ่มหนองที่ ลิ้น อุ้งเท้า ไรกีบ ของโคและสุกร ซึ่งมักพบในสัตว์ที่เพิ่งเป็นโรคใหม่ ๆ หากสามารถเก็บน้ำเหลือง ส่งไปได้ก็จะเป็นการดียิ่ง ควรเก็บก่อนตุ่มหนองจะแตก โดยใช้เข็มดูด แล้วเก็บในขวดที่สะอาด ควรเก็บในที่เย็นและนำส่งศูนย์โรคปากและเท้าเปื่อย
2. การเก็บเชื้อควรเก็บจากแผลหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่เพิ่งเป็นโรค เพราะจะมีปริมาณไวรัสมากเพียงพอสำหรับการตรวจ
3. ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเนื้อเยื่อที่จะส่งไปตรวจ เพราะจะทำให้ผลการวินิจฉัยผิดพลาดได้
4. ภายหลังเก็บเชื้อใส่ขวดเรียบร้อยแล้ว ควรทำความสะอาดภายนอกขวด และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนมือผู้เก็บเนื้อเยื่อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเชื้อไประบาดที่อื่น
5. กลีเซอรีนบัฟเฟอร์ สำหรับเก็บเชื้อเบิกได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม กองสัตว์รักษ์ กรมปศุสัตว์
ที่มา http://www.18.com




โดย : นาย ชัยณรงค์ สุวานิช, โรงเรียน เสนา, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545