นักจิตวิทยากับจิตแพทย์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร |
|
นักจิตวิทยากับจิตแพทย์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ถ้าผู้ที่จบการศึกษาทางสาย
อาชีวศึกษา ทางด้านบริหารธุรกิจ มีความสนใจจะเปลี่ยนไปศึกษาต่อทางด้านจิตวิทยา ไม่ทราบจะมีปัญหา หรือไม่
คุณหมอบรรจง สืบสมาน กรุณาให้คำอธิบายว่า จิตแพทย์ (Psychiatrist) คือ บุคคลที่จบการ ศึกษาแพทย์ศาสตร์ แล้วเข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาวิชา เฉพาะทางด้านทางแพทย์สาขาหนึ่ง ใช้เวลาฝึกอบรมสามปี เมื่อจบออกมาเป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขาจิตเวชศาสตร์ เรียกว่า จิตแพทย์ จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) นั้นเป็นศาสตร์ว่าด้วยความ ผิดปรกติ หรือโรคภัยไข้เจ็บทางด้านอารมณ์และจิตใจ เนื้อหาครอบคลุมทั้งทางด้านชีวภาพ จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล ตั้งแต่ระยะก่อนเกิด อยู่ในครรภ์ การเลี้ยงดูในระยะต่าง ๆ ตามอายุ เพื่อเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดความผิดปรกติด้านจิตใจ บุคคลิกภาพ การปรับตัวของคน การวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกันด้วย
ส่วนนักจิตวิทยา (Plychologist) นั้นไม่ใช่แพทย์ แต่เป็นบุคลากรที่มีความรู้ทางจิตวิทยา (Plychology) ซึ่งเป็นศาสตร์หรือวิชาการที่มุ่งอธิบายความเป็นไปในคนปรกติตั้งแต่เกิด และมีพัฒนาการอย่างไรไป ตามวัย วัฒนธรรม และสังคม นักจิตวิทยามีหลายสาขา เช่น นักจิตวิทยาคลินิก จะทำงานในคลินิกจิตเวช กับจิตแพทย์ ทำหน้าที่ทดสอบด้วยเครื่องมือ (test) ต่าง ๆ ทางด้านบุคลิกภาพ อารมณ์ จิตใจ เช่น Personality Test Rorschach, IQ test ฯลฯ บางคนจะทำงานกับผู้ป่วยบางประเภท เช่น พฤติกรรม เบี่ยงเบน การปรับตัวเข้ากับวัย ยาเสพติด ฯลฯ อาจเป็นวิธีการแนะแนว หรือการทำกลุ่มบำบัด ซึ่งบางที จะแยกสาขาเป็น นักจิตวิทยาสาขาบริการ นอกจากนั้นก็มี นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม การศึกษา หรือการกีฬา ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางด้านจิตวิทยาบางสาขาได้ โดย ไม่จำเป็นต้องจบเอกจิตวิทยาในระดับปริญญาตรีมาก่อน อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยบางแห่งอาจมีข้อกำหนด แตกต่างกันไป ผู้ที่สนใจคงต้องศึกษาจากคู่มือสอบของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย หนังสือ 108 คำถาม ในเครือสำนักพิมพ์สารคดี
|
โดย : นาย ไชยา ภักดีวงศ์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 9 พฤศจิกายน 2544
|