เด็กถนัดเรียนรู้อย่างไร มองเห็น? สัมผัส? ได้ยิน?
จากรายงานการวิจัยของริต้า สตาฟฟอร์ด และเคนเนท เจ. ดันน์ เรื่อง Teaching Secondary Students Through Their Individual Learning Styles ในปี 1993 พบข้อน่าสนใจหลาย ประการเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียน รู้ที่แตกต่างหลากหลาย การสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ตามแนวทางที่เด็กถนัด จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น โดยทั่วไปวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์แบ่ง ได้เป็น 3 ประเภท คือ การเรียนรู้โดยการมองเห็นภาพ (Visual) การเรียนรู้โดยการสัมผัส (Kinesthetic) และการเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง (Auditory) เด็กที่ถนัดการเรียนรู้โดย การมองเห็นภาพมักหัวไวในเรื่องการจัดรูปทรงต่างๆ การต่อจิกซอว์ การออกแบบ เป็นต้น เนื่อง จากสมองสามารถสร้างข้อมูลภาพได้ดีกว่าการวิเคราะห์ทางภาษา เด็กกลุ่มนี้จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบของการเรียนในชั้นเรียนได้ง่าย ชอบนั่งเงียบๆ เขียนหนังสือค่อนข้างเป็นระเบียบ เรียบร้อยและจัดเก็บระบบข้อมูลต่างๆ ได้ดี เหมาะกับอาชีพสถาปนิก วิศวกร ศัลยแพทย์ รวมถึง อาชีพที่ต้องมองเห็นวิสัยทัศน์ในอนาคต เด็กที่ถนัดการเรียนรู้โดยการสัมผัส เด็กกลุ่มนี้ จะสร้างกระบวนการและจดจำข้อมูลได้ดีก็ต้องได้สัมผัสและรู้สึกกับสิ่งที่ตนเรียน เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่ไม่อยู่นิ่ง ไม่ค่อยสนใจการเรียน ไม่มีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เด็ก กลุ่มนี้จะไม่สามารถจัดระบบข้อมูลได้ ไม่สามารถสร้างภาพต่างๆในใจได้เลย ซึ่งมักจะมีปัญหากับการทดสอบในห้องเรียนที่ยังเป็นรูปแบบเก่าๆ แต่เด็กกลุ่มนี้จะประสบความสำเร็จถ้าสามารถ เลือกสร้างโครงงานของตนเองได้ เด็กกลุ่มนี้จึงเหมาะกับการปฏิบัติการในห้องทดลอง การแสดงละคร เต้นรำ การออกสำรวจตามพื้นที่ เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่มักเรียนรู้โดย วิธีนี้ โรงเรียนจึงควรเพิ่มวิชากลุ่มพลศึกษา ศิลปะ และการทำโครงงานให้มากขึ้น สำหรับเด็กกลุ่มที่เรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง (Auditory) เด็กที่ถนัดการเรียนรู้ แนวนี้จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยการได้ยินหรือจากการฟัง เด็กกลุ่มนี้จะสามารถจัดระบบ ข้อมูลได้ดีจากการฟังและฝึกทักษะเช่นนี้ซ้ำๆ จะชอบชั้นเรียนที่จัดให้มีการถกเถียงใน หัวข้อต่างๆ เด็กกลุ่มนี้จะช่างพูดช่างคุยมากที่สุด และมักมีปัญหาด้านการเขียน
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : สานปฏิรูป ป. 1 ฉ. 12 กุมภาพันธ์ 2542
|