"ชา" รสชาติแห่งสุขภาพ
ใบชาได้จากพืชที่มีชื่อว่า Camellia sinensis วงศ์ Theaceae ถิ่นกำเนิดคือประเทศจีน ต่อมาแพร่ กระจายไปสู่ อินเดีย ศรีลังกา และญี่ปุ่น การเก็บใบชาจะเลือกเก็บเฉพาะยอดและใบอ่อน ใบที่อายุ ต่างกันจะให้รสชาติไม่เหมือนกัน เช่น Orange pekoe จะได้จากใบอ่อนที่สุด แต่ Souchong จะเก็บจากใบที่สี่ (นับจากยอด) ใบชาจะถูกทำให้แห้งด้วยความร้อน อบ คั่ว หรือตากแห้ง จะได้ เป็นชาเขียว ถ้านำใบชาไปผ่านกระบวนการหมักก่อนจะทำให้แห้ง จะได้ใบชาสีดำ ส่วนชา Oolong จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างชาเขียวกับชาดำ หลังจากผ่านการคัดขนาดแล้ว ใบชาจะถูกบรรจุในถุง อะลูมิเนียมฟอยส์ เพื่อป้องกันการดูดซับกลิ่นอื่น ๆ และเพื่อป้องกันการสูญเสียความหอม สารประกอบหลักในใบชาเขียว ได้แก่ สารในกลุ่ม polyphenolic จำพวก catechins และ flavonols ส่วนชาดำที่ผ่านการหมักแล้วทำให้สารจำพวก catechins บางส่วนเปลี่ยนเป็น aflavin และ tharubigins ซึ่งเป็นสารพอกลีเมอร์ของสารในกลุ่ม polyphenolic โดยเป็นสารสำคัญที่มีบทบาท ในการป้องกันการเกิดมะเร็ง และต้านการก่อกลายพันธุ์ และยังมีคุณสมบัติต้านออกซิเดชั่น จึงลดปริมาณอนุมูลอิสระในร่างกายที่เชื่อว่าเป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดมะเร็ง นอกจาก นั้นชายังสามารถดื่มเป็นยาแก้ท้องเสียได้ เนื่องจากสารแทนนินที่มีมากในใบชา
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : กุลศิริ ช. ศิริปุณย์, จดหมายข่าว วท. ป. 1 ฉ. 10 ตุลาคม 2541
|