ชากับสุขภาพ.2545[ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก : http : //www.rdi.gpo.or.th/htmls-sedat.html.
ชากับสุขภาพ
วัฒนธรรมของชาวตะวันออกถือว่าชาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หากแต่ข้อกล่าวอ้างถึงคุณความดีของการดื่มชาแทบทั้งหมดตามประวัติศาสตร์กลับเป็นเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ปัจจุบันวิทยาศาสตร์กำลังก้าวกระเถิบเข้าไปในปริมณฑลของการดื่มชากับสุขภาพ การศึกษาเพื่อค้นหาผลของชาต่อสุขภาพอยู่ในขั้นเริ่มต้น โดยการพิจารณาข้อมูลจากวิทยาโรคระบาด การศึกษาทางการแพทย์ งานวิจัยห้องปฏิบัติการด้านสัตว์ รวมถึงการศึกษากลไกในหลอดแก้วชาทั้งสามประเภทได้แก่ ชาดำ ชาเขียว และชาสีน้ำตาลของจีน (colong tea) ต่างทำมาจากใบของพืชชนิดเดียวกันคือ Camellia sinensis กระบวนการผลิตชาเป็นสิ่งกำหนดประเภทของชาที่ได้ออกมา ชาเขียวนิยมชงเป็นเครื่องดื่มในประเทศจีนและญี่ปุ่น ผลิตขึ้นจากการใช้ไอน้ำบ่มใบชาหรือคั่วใบชาในกะทะทันทีที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการหยุดเอ็นไซม์มิให้ไปยุ่งกับออกซิเดฃัน(1) ชาดำ (เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคกันมากที่สุดในประเทศแถบตะวันตก ชาจีนสีน้ำตาล (ผลิตในจีนตอนใต้) ทำจากใบชาที่ทิ้งไว้จนเหี่ยวแห้งจนกระทั่งปริมาณความชื้นลดลง ใบชาที่แห้งแล้วถูกนำไปบดและอัดเพื่อเริ่มกระบวนการหมัก ทันทีที่บดแล้วนำชาไปคั่ว เพื่อหยุดยั้งการเกิดออกซิเดชัน ส่วนชาดำนั้นปล่อยให้หมักนานกว่าเพื่อให้เกิดออกซิเดชัน สำหรับชาสมุนไพรที่ทำจากใบพืชชนิดอื่นๆ จะไม่ขอกล่าวถึงในเรื่องนี้ สารประกอบในชา ได้แก่โพลีฟีนอลในชามีคุณสมบัติต่อต้านออกซิเดชันอย่างแรง สารต่อต้านออกซิเดชันป้องกันการทำอันตรายเซลล์ซึ่งเชื่อกันว่ามีส่วนทำให้เกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดและทำให้แก่เร็ว ผลสำเร็จของการทำงานอาจเกิดขึ้นจากการไล่ล่าไอออนของโลหะซึ่งเป็นตัวออกซิไดส์อย่างแรง หรือไล่ล่าสปีซีส์ที่มีออกซิเจน ซึ่งว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา ศักยภาพในการต่อต้านออกซิเดชั่นของสารประกอบโพลีฟีนอลแต่ละสารมีความสัมพันธ์กับจำนวนหมู่ไฮดรอกซิลที่มันมีอยู่เป็นอย่างยิ่ง ทั้งชาเขียวและชาดำคือขุมรวมของเหล่าสารโพลีฟีนอลที่ต่อต้านออกซิเดชันแต่สำหรับชาเขียวเป็นเพราะมันมีความเข้มข้นของโพลีฟีนอลซึ่งมีหมู่ไฮดรอกซิล สูงกว่าชาดำมาก มันจึงมีศักยภาพในการต่อต้านออกซิเดชันสูงกว่าประมาณ 5 เท่า
ผลที่มีต่อสุขภาพ
หัวใจและหลอดเลือด มีความเป็นไปได้ว่าชาป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เนื่องจากชามีคุณสมบัติต่อต้านออกซิเดชัน ตัวอย่างเช่น โพลีฟีนอลในชาสามารถป้องกันการเกิดเพอร์ออกซิเดชันที่เกิดกับไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการตกตะกอนและสะสมจนเป็นก้อนอุดตันในเส้นเลือดแดง คณะวิจัยของ Michael Hertog ในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ทำการศึกษาวิทยาโรคระบาด แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่สวนทางกันระหว่างปริมาณเฟลโวนอยที่บริโภค (ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากชา) กับความเสี่ยงของโรคหัวใจ และกับโรคลมปัจจุบันในหมู่คนชาวดัตฃ์(6,7) แต่การศึกษาที่แยกต่างหากออกไปของคณะวิจัย Hertog กับกลุ่มชาวเวลส์กลับไม่พบความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว(8) ข้อเสนอแนะในกรณีนี้คือ นมที่ชาวเวลส์ชอบเติมลงในชาน่าจะเป็นตัวลดศักยภาพการต่อต้านออกซิเดชันของชา แต่สมมติฐานนี้ต้องได้รับการยืนยันจากงานวิจัย
|