โต๊ะ


แม้ว่าเราจะเคยเห็นโต๊ะมาตั้งแต่เกิด แต่ใครจะเคยคิดบ้างไหมว่า กว่าจะมาเป็นโต๊ะ 1 ตัวได้นั้น เราต้องผ่านกระบวนการคิดและใช้วิทยาศาสตร์หลายสาขาทีเดียว
เมื่อเราคิดจะสร้างโต๊ะสักตัว ลองปล่อยใจคิดไปว่า เราอยากได้โต๊ะแบบไหน สี่เหลี่ยมผืนผ้า, สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ วงกลม ดีล่ะ คณิตศาสตร์ก็เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วนะ เพราะถ้าเราเลือกโต๊ะแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า อุปกรณ์ที่เราจะนำมาทำโต๊ะจะต้องคำนวณหาพื้นที่เป็น กว้างxยาว แต่ถ้าอยากได้โต๊ะแบบวงกลม ก็ต้องใช้ pr2 แทน เอาล่ะ พอเลือกแบบได้ เราก็ต้องเริ่มหาอุปกรณ์ในการสร้างโต๊ะ ซึ่งมีให้เลือกมากมาย เช่น ไม้, หินอ่อน, พลาสติก และอะลูมิเนียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เลื่อย, กระดาษทราย, แลกเกอร์, สี และเครื่องมือวัด เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เคมี, ฟิสิกส์ และชีววิทยา ในทางเคมีที่เกี่ยวข้องยกตัวอย่างเช่น สี ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีช่วยให้ติดสีทนนาน กันน้ำ และป้องกันการเกิดสนิมในกรณีที่เราจะทำโต๊ะจากโลหะ ส่วนในทางฟิสิกส์ เมื่อเราสร้างโต๊ะ เราก็คงอยากให้มันตั้งอยู่ได้อย่างแข็งแรงและรับน้ำหนักได้ดี เพราะฉะนั้นเราก็ต้องคิดว่า จะทำขาตั้งโต๊ะแบบไหน, น้ำหนักของโต๊ะที่ขาโต๊ะจะรับแรงกดได้ พื้นผิวจะต้องเป็นอย่างไร เพื่อให้ของต่างๆที่วางบนโต๊ะไม่หล่นลงมา นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งในการคิดสร้างโต๊ะ นอกจากนี้ ในทางชีววิทยา ถ้าเราใช้โต๊ะที่ทำด้วยไม้ก็ต้องมีการเลือกชนิดของไม้ที่ทนทาน ปลวกจะกินได้หรือเปล่า เมื่อโดนน้ำหรือความชื้น ไม้จะขึ้นราไหม ต้องป้องกันอย่างไร ถ้าไม่ใช้ไม้ ก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้กับโต๊ะว่า จะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

แหล่งที่มา
คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ, ดร.พร้อม พานิชภักดิ์, ครั้งที่ 2, สภาวิจัยแห่งชาติ, 2516, หน้า 7-9.




โดย : นางสาว POTJANEE KETMAI, Praatunam pra-in Post office 13180, วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2545