เจ้าพ่อบางพลี

เจ้าพ่อบางพลีมีตำนานเล่าสืบกันมาว่าเป็นคนจีน ชื่อ เถ้า แซ้ปู้ อาชีพทำสวน ไม่มีครอบครัว เป็นคนในดี มีความเมตากรุณาชอบช่วยเหลือ พอเสียชีวิตประชาชนในหมู่บ้านพร้อมใจกันปั้นรูปเหมือนและตั้งไว้ในศาลหมู่บ้านก็เจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกัน
ศาลเจ้าพ่อบางพลี เป็นศาลเก่าแก่ไม่มีใครทราบว่าสร้างเมื่อใด เพียงแต่สันนิษฐานตามพุทธศักราชที่คนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บางพลี พ.ศ.2400 มีอายุประมาณ 141 ปี เมื่อคนจีนเข้ามาก็นำวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาด้วยศาลเจ้าพอบางพลีเป็นเรือนไม้ตั้งอยู่เยื้อง ๆ ปากคลองบางขวาง ทางฝั่งใต้ของคลองสำโรง หมู่ที่ 11 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ต่อมามีชาวจีนมาอาศัยอยู่ที่ตลาดบางพลีมากขึ้น ไม่สะดวกที่ข้ามคลองไปกราบไหว้ และทำทางพิธีการประเพณีจีน จึงได้ปรึกษาหารือกันเพื่อย้ายศาลเจ้าบางพลีมาไว้ที่หน้าวัดบริเวณหน้าพระเจดีย์และไปขออนุญาตพระอาจารย์กุ่ย เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน ในสมัยนั้นผู้ที่ย้ายศาลเจ้าพ่อบางพลี คือ นายกัง แซ่แต้, นายย่งเทียม แซ่โค้ว, นายบุ่งกุ่ย แซ่ลี้ และคณะได้สร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ต่อมาพระครูสมัยพิศาล สมณวัตร์ (อาจารย์มัวน) เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญใน ท่านเห็นว่าบริเวณหน้าวัดแคบและต้องการให้เป็นสัดส่วนจึงได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ดินบริเวณหลังตลาดเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อบางพลี และสะดวกต่อชาวจีนที่จะมากระทำพิธีทางวัฒนธรรมจีน ในสมัยนั้นนาย บุญวิจิตร เป็นประธานศาละจ้าพ่อบางพลี ท่านและคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อบางพลี ได้เชิญชวนพี่น้องชาวจีนร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินด้านหลังเพิ่มอีก 320 ตารางวา และได้ก่อสร้างศาลเจ้าพ่อบางพลีเป็นการถาวรจำกระทั่งทุกวันนี้ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2535 ตั้งอยู่เลขที่ 299 หมู่ 10 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ภายในศาลเจ้าบางพลีได้อัญเชิญรูปปั้นเจ้าพ่อบางพลี เจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่ทับทิม เจ้าแม่กวนอิม ไฉ่ชิ่งเฮี๊ย ประดิษฐานไว้ในศาลเพื่อเป็นศิริมงคล คุ้มครองพี่น้องชาวอำเภอบางพลีให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากภัยอันตรายใด ๆ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง
งานทำบุญประจำปี ทำบุญปีละ 2 ครั้ง ประมาณเดือนมิถุนายน และเดือนกุมภาพันธ์ ทำบุญทั้งพิธีไทยและพิธีจีนมีงิ้วแสดงถวายเจ้าพ่อ มีการประมูลของเพื่อเป็นศิริมงคล
งานเทกระจาด ประมาณเดือนสิงหาคม จะทำบุญให้กับผีไม่มีญาติและแจกทานทั้งข้าวสารอาหารแห้ง
ศาลเจ้าพ่อบางพลีเป็นวิถีชีวิตส่วนหนึ่งของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ที่มาอยู่ที่อำเภอบางพลีได้สักการะและกระทำพิธีตามวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าจะไปประกอบอาชีพที่ไหน เมื่อมีงานประจำปีทุกคนจะกลับมาร่วมพิธี


โดย : นางสาว พัดชา เข็มมา, โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง, วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545