เด็กไทยกับไอที

          เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกสำคัญที่ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกนำมาใช้เป็นเคื่องมือสร้างพัฒนาการด้านต่างๆในวงกว้าง ดดยเฉพาะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนกระตุ้นความสนใจศึกษาและสร้างความเข้าใจให้นักเรียนได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ผลการวิจัยในหลายๆประเทศจะบ่งชี้สอดคล้องกันว่า เมื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ช่วยการเรียนการสอนแล้ว ผลปรากฎว่านักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน กว้างขวางและรวดเร็วอันเป็นดัชนีแสดงถึงความสำเร็จและประสิทธิภาพการเรียนการสอนนั่นเอง

      เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแลวอื่นๆประเทศไทยนับว่าก้าวไปได้ช้ากว่าเพื่อนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ด้านการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากเรายังตกข้อจำกัดหลายประการทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ โดยเฉพาะครู อาจารย์ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ทักษะพื้นฐานในด้านนี้ทว่าภายใต้ความพยายามอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ เทคโนโลยีสารสนเทศก็ได้รับความสำคัญจนถือเป็นนโยบายหลักที่จะต้องช่วยกันผลักดันเพื่อใช้พัฒนาการศึกษาชาติอย่างจริงจัง

       สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ได้ริเริ่ม โครงการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน ตั้งแต่ปี 42 เป้าหมายก็เพื่อมุ่งส่งเสริมให้โรงเรียนต่างๆนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และอื่นๆนอกเหนือจากหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำการสอนอยู่แล้วในโรงเรียนตามปกติ

        ล่าสุดจากที่ สสวท.ได้จัดประชุมวิชาการในโครงการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนเรื่อง Instructional Uses of ICT:Teachers and Technology งานนี้ Dr.Robert B.Kozma ผู้เชี่ยวชาญจากScience Research Institute แคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกาได้ให้แง่คิดกับคณะครู อาจารย์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆของไทยกว่า 300 คนว่า

       “ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาการศึกษาอย่างได้ผลนั้น ครูต้องสนับสนุนให้เด็กใช้ไอทีในฐานะ “เครื่องมือ” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับระบบการศึกษาปัจจุบันครูต้องสวมบทบาทหลักเป็น “คู่คิด”คือทั้งสนับสนุนให้นักเรียนเกิดความคิด,แนะนำและเป็นพี่เลี้ยงช่วยแก้ปัญหาอันเป็นการเรียนแบบร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด หาความรู้ไปด้วยกัน ซึ่งท้ายที่สุดจะเชื่อมต่อครู-นักเรียน เปิดประตูออกสู่สังคมโลกที่กว้างขึ้น เช่น ความสะเร็จที่เกิดขึ้นแล้วกับโครงการ GLOBE ที่เปิดโอกาสให้เด็กทั่วโลกศึกษาสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศในชุมชนตนแล้วเชื่อมความรู้สู่เด็กๆชาติอื่น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสะพานนั่นเอง ”

      ทุกเป้าหมายที่ไปสู้ความสำเร็จได้ล้วนเริ่มต้นจาก “ก้าวแรก”ของความพยายามทั้งสิ้น ณ วันนี้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นปัจจัยพัฒนาการศึกษาไทย แม้จะยังไม่ลงลึกและเป็นไปโดยกว้างขวางเต็มที่ หากผลดีที่เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว เมื่อบวกกับความมุ่งมั่นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็เพียงพอจำทำให้เบาใจได้ว่า

     ต้องมีก้าวต่อๆไป เพื่อความก้าวหน้าของเด็กไทยและการศึกษาชาติ !



แหล่งอ้างอิง : แดงเดช พุทธารักษ์.เด็กไทยกับไอที ห้องเรียนวันนี้...ไม่มีใครอยากโดด.การศึกษานอกโรงเรียน.ปีที่4.ฉบับที่ 11.ส.ค.2544

โดย : นางสาว ชารินี รัตนโชติ, มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548