มัคคุเทศน์น้อย(ตอนที่ 3)

มัคคุเทศน์น้อย กับการส่งเสริมการเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศุนย์กลาง และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

Mini Guide for improving English skills and Learner – Centredness Teaching

PHANPHEN YOUNGLEK

ยุทธศาสตร์หนึ่งที่ถูกระบุไว้ในแบบปฎิรูปการศึกษาไทย คือ การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เนื่องจากผู้เรียนคือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดการศึกษาโดยตรงที่ผ่านมาเราพบว่าการจัดการศึกษาของไทยผู้เรียนมีส่วนร่วมน้อยมาก หรือแทบไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในด้านการจัดการศึกษา บางครั้งสิ่งที่หลักสูตรกำหนดให้ผู้เรียนต้องการเรียนจึงม่สอดคล้องกัน บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้งในด้านแนวคิด จุดมุ่งหมาย วิธีการ การวัดประเมินผล โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น และการปรับเปลี่ยนบทบาทครู จากผู้สอนมาเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และการฝึกกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้วิธีการเรียนภาษาด้วยตนเอง เพื่อผู้เรียนจะได้พึ่งตนเองได้ และสามารถเรียนรู้ได้เองตลอดชีวิตทั้งด้านภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้ในการเรียนวิชาอื่นๆ ในการศึกษาต่อ รวมทั้งในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นจุดหมายสำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ผู้เรียนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศและมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถความถนัดในภาษาต่างประเทศ ตามความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้มีทักษะเบื้องต้นด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อใช้ในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ รวมทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมที่สอดแทรกอยู่ในภาษา การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ก้าวหน้าไปให้ทันกับความจำเป็นใช้จริง เนื่องจากภาษาอังกฤษ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสาร เพราะเป็นภาษาสากลที่มีผู้นิยมใช้ติดต่อกันมากที่สุด(พูนรัตน์ แสงหนุ่ม.2538.หน้า2)ผู้มีความรู้ทางภาษาอังกฤษจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบในด้านการประกอบอาชีพ หนทางในการประกอบอาชีพจะเปิดกว้าง เช่นการประกอบอาชีพในต่างประเทศธุรกิจท่องเที่ยว การส่งออก และการขนส่งติดต่อกับต่างประเทศ(แรมสมร อยู่สถาพร.2532:2)

ในด้านแนวการสอน กระทรวงศึกษาได้แนะแนวทางในการจัดกิจกรรม เป็นแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร(Comunicative Approach)เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการสื่อความหมายในแต่ละสถานการณ์ เน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนครูจะลดบทบาทจากการพูดมาเป็นพูดเท่าที่จำเป็น และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกพูดมากขึ้น ในการฝึกจะใช้กิจกรรมต่างๆ หลากหลายชนิดนำมาช่วยในดำเนินการสอน จะเน้นกิจกรรมกลุ่มมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนกล้าพูดกล้าแสดงออกมากขึ้น เพราะนักเรียนได้ฝึกพูดกับเพื่อนจะเกิดความสบายใจ ช่วยให้นักเรียนฟังข้อความ เข้าใจ และสามารถพูดโต้ตอบได้อย่างคล่องแคล่ว นักเรียนภูมิใจที่ตนสามารถพูดภาษาต่างประเทศ ได้บ้าง และยังเพิ่มความสนุกสนานเพราะมีกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้มีทัศนคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษดีขึ้น

เหตุผลและความจำเป็นในการใช้หน่วยการเรียนรู้มัคคุเทศน์น้อยโดยแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นนอกจากเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางแล้วคือ

1.นักเรียนสามารถนความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาตน ครอบครัว ชุมชน รวมทั้งภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน

2.ทรัพยากรท้องถิ่น โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านของไทยมีอยู่มากมายมีคุณค่าบ่งบอกถึงความเฉลียวฉลาดของคนไทย ซึ่งในการใช้หน่วยการเรียนรู้มัคคุเทศน์น้อยทำให้สามารถบูรณาการทรัพยากรท้องถิ่นและภูมปัญญาชาวบ้านมาใช้ ซึ่งเป็นผลทำให้ผู้เรียนได้รู้จักท้องถิ่นของตน เกิดความรัก ความผูกพันกับท้องถิ่นของตน และสามารถใช้ทรัพยากร ในท้องถิ่นในการประกอบอาชีพได้

จากที่อภิปรายมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรมัคคุเทศน์น้อยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในด้านต่างๆเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และการใช้แหล่งความรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน ซึ่งนักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้

บรรณานุกรม

วิชัย วงษ์ใหญ่.(2521)พัฒนาหลักสูตรและการสอน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

วาสนา ชาวหา.(2533)สื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์

วารสารวิชาการ.(2545) การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ:กรมวิชาการ

บุญเกื้อ ครรหาเวช.นวัตกรรมการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4.นนทบุรี:ภาควิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

ดร.ประมวล ดิคคินสัน(2537).อังกฤษในฐานะภาษาสากล.กรุงเทพฯ:พบลิคบิสเนสพริ้น

คำที่ใช้ในการสืบค้น

พรรณเพ็ญ, มัคคุเทศน์น้อย


โดย : นาง เพ็ญพรรณ ศรีตนไชย, ร.ร นาน้อย อ.นาน้อย จ.น่าน, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2548