เทคโนโลยีสร้างหรือทำลายเด็กแน่

โดยนางสาวประภัสสร  พึ่งอินทร์

จากที่เราเริ่มปฏิรูปการศึกษากันมาเป็นเวลายาวนานพอกันสมควร

หลาย ๆ ฝ่ายได้ร่วมมือร่วมใจกันอีกมากมายทั้งยังมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาบทบาทอย่างมากมาย ซึ่งการศึกษาจะมุ่งเน้นไปที่ตัวเด็กนักเรียนหรือที่ผู้เรียนเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Child center นั่นเอง มุ่งเน้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เราหวังว่าจะพัฒนาศักยะภาพของ

ทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างแท้จริงและพร้อมกันนั้นเราได้ทุ่มเทนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการเรียนการสอนมากขึ้น จนนับได้ว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่เรานำมาปรับใช้นั้นสิ่งใดก็ตามหากมีคุณอนันต์ ก็ย่อมมีโทษมหันต์เช่นกัน

มหันต์ภัยที่แฝงมากับอินเตอร์เน็ต หรือจุดบกพร่องจากอินเตอร์เน็ตที่เราหลาย ๆ อาจจะตระหนักหรือคาดไม่ถึงก็ได้ เมื่อได้ศึกษาสภาพการใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าจากนักเรียน นักศึกษาหรือที่เราเรียกว่าเยาวชนนั่นเองจะพบว่าการใช้อินเตอร์เน็ตของพวกเขาเหล่านั้น มิได้ใช้ไปในทางสร้างสรรค์เลยเพราะ Web site ที่เขาคุ้นเคยและใช้บริการนั้นส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ใช้เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน และยั่วยุ เสียส่วนใหญ่สำหรับ Web site ทางวิชาการหรือเพื่อสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาด้านวิชาการนั้นเป็นส่วนน้อยที่จะคุ้นเคยหรือรู้จักและใช้ประโยชน์ในการสืบค้นอย่างแท้จริง จากตัวอย่างที่เราจะเห็นเด่นชัดที่สุดก็จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ Tsunamis ถล่มก็เช่นนับว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความบกพร่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเลยก็ว่าได้ จนกระทั่งตอนนี้ ปัจจุบันนี้ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ได้ดีเท่าที่ควร แต่ในทางตรงกันข้ามหากถามถึงเรื่องในวงการบันเทิง หรือ เรื่องวีซีดีโป๊ะ ส่วนใหญ่ก็จะให้ข้อมูลดังกล่าวได้ค่อนข้างครบถ้วนซึ่งก็ล้วนแต่มาจากสื่อเทคโนโลยีทั้งสิ้น

ตอนนี้ปัจจุบันนี้ เหตุการณ์ที่ว่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วกับสังคมเยาวชนของเด็กไทยและมีแนวโน้มจะดำเนินแผ่วงกว้างออกไปเราจะทำเช่นไรจึงเกิดคำถามที่ว่า เทคโนโลยีสร้างหรือทำลายเด็กไทยกันแน่ ในความคิดของข้าพเจ้าส่วนที่สร้างน่าจะมีน้อยกว่าส่วนที่ทำลายเพราะการสร้างสิ่งที่ดี ๆ นั้นทำยากลำบากแต่การทำลายนั้นทำได้ง่ายและในระยะเวลาอันรวดเร็วด้วยสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากสามัญสำนึกสาธารณะและความรับผิดชอบของไทยยังน้อยมาก ซึ่งตรงนี้เราน่าตระหนักให้มาก ๆ การปฏิรูปการศึกษาจะล้มเหลวหรือได้ผลก็ต้องเริ่มจากที่เยาวชนรู้จัก รับผิดชอบ รู้จักเสพเทคโนโลยี ควรที่จะปลูกฝังความคิดที่สร้างสรรค์กว่านี้ มิใช่เพิ่มค่านิยมที่ด้อยลงเรื่อยจากสื่อและเทคโนโลยีซึ่งนับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น

 
 

ที่มา : นางสาวประภัสสร พึ่งอินทร์ นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรและการสอน(ภาษาอังกฤษ)ปีการศึกษา2547,www.Phrathai.com,หนังสือพิมพ์ เดลินิวฉบับวันที่ 27-30 ธ.ค. 2547ส์,สภาพปัญหาการสืบค้นข้อมูลของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาจ.อุตรดิตถ์

โดย : นางสาว ประภัสสร พึ่งอินทร์, นักศึกษาปริญญาโท วิชาเอกหลักสูตรและการสอน(ภาษาอังกฤษ), วันที่ 30 มกราคม 2547