หลักสูตรหลวงพ่อทองดำ

            

           ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านมา แม้โรงเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องถิ่นซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมต่างกันไป แต่ผู้เรียนในทุกภูมิภาคกลับต้องเรียนเพียงแค่หลักสูตรที่มีเนื้อหาวิชาแกนกลางซึ่งถูกกำหนดจากส่วนกลางเช่นเดียวกันหมด ส่งผลให้ผู้เรียนขาดความรู้ที่เชื่อมโยงกับทิ้งถิ่น เกิดความรู้สึกแลกแยกกับสังคมชุมชนที่เป็นอยู่ ครั้นพลาดหวังกับการสอบเรียนต่อไนระดับมหาวิทยาลัย ก็ไม่รู้ว่าจะดำรงชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนอย่างไร นอกจากต้องอพยพเข้าเป็นแรงงานรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม การจัดการศึกษาที่ผ่านมาจึงนับว่าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง
ด้วยปัญหาดังกล่าว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 จึงกำหนดให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น และยังกำหนดไว้ชัดเจนใน ม.27 วรรค 2 ว่า ให้สถานศึกษาขึ้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนสังคมในท้องถิ่นตลอดจนเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จักท้องถิ่นของตนมากขึ้น (
http://www.msu.ac.th/museum/web/articles/local%20curiculum.html อ้างใน"สานปฏิรูป" ปีที่ 3 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2543. หน้า 16-22 )

            การจัดการศึกษาไทย พ.ศ. 2445-2475 เริ่มมีการนำแนวทางการจัดการศึกษาจาก ตะวันตกมาใช้ในประเทศไทยแต่พระสงฆ์ยังมีบทบาทสำคัญ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2445 การจัดการศึกษายังอยู่ในวัด มีพระสงฆ์เป็นผู้สอนหนังสือวิชามูลศึกษา ต่อมาบทบาทการเป็นครูผู้สอนของพระสงฆ์เริ่มลดลง โรงเรียนแยกออกจากวัด แต่พระสงฆ์ยังมีบทบาทในฐานะผู้นำชุมชนในการร่วมกันก่อสร้างโรงเรียนในบริเวณวัด และเป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนในชุมชนการจัดการศึกษาไทยมีรูปแบบที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติ 4 ประการ ได้แก่

    1. ค่านิยม
    2. วินัย
    3. ประสบการณ์
    4. ความงอกงาม
      เพื่อให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ในทางพุทธศาสนาพระสงฆ์จะกำหนใหผู้เรียนอ่าน เขียนหนังสือได้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาพระไตรปิฎก สอดคล้องกับปรัชญาสารัตถวิทยา มีหลักการที่ว่าการศึกษาเป็นหน้าที่ของผู้สอน ผู้สอนเป็นผู้บอกเนื้อหาสาระ และการจัดการศึกษาเป็นการสร้างวินัยแก่ผู้เรียน

แนวคิดของนักปราชญ์ทางการศึกษาไทยในอดีต จำนวน 12 ท่าน มีความเห็นว่าการศึกษามีความสำคัญต่อประเทศชาติ จุดมุ่งหมายของการศึกษาต้องการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และมีกระบวนการการจัดการศึกษาโดยการสอนด้วยแบบอย่างที่ดี ( ครรชิต ชำนาญและคณะ.2545 : 12 )
          
จากสภาพปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมไทยทุกวันนี้ เยาวชนรุ่นใหม่ละเลยด้านคุณธรรมจริยธรรมทำให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมามากมายดังที่เป็นข่าวตามสื่อต่าง ๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องปลูกฝังแนวคิดและสร้างทัศนคติที่ดีด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดแก่เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมไทยให้มีความร่มเย็นและสงบสุขมากยิ่งขึ้น การนำอัตชีวประวัติของหลวงปู่ทองดำมาให้เยาวชนได้ศึกษาค้นคว้าเล่าเรียนเพื่อต้องการให้เยาวชนของจังหวัดอุตรดิตถ์ได้รู้ซึ้งถึงวัตรปฏิบัตรอันเรียบง่ายงดงาม เปี่ยมด้วยความเมตตาและการสร้างคุณประโยชน์อันมากมายต่อสังคมชาวจังหวัดอุตรดิตถ์สมควรที่เยาวชนและประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ควรยึดมั่นศรัทธาและเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจและเผยแพร่คุณงามความดีของหลวงปู่ให้แพร่หลายพร้อมน้อมนำความดีที่หลวงปู่พร่ำสอนนำมาประพฤติปฏิบัติให้เป็นคนดี อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตลอดไปและเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทองดำ โดยการจัดทำเป็นสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในช่วงชั้นที่ 2 ( ป.4-ป.6) ซึ่งหลักสูตรสาระแกนกลางได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมจำนวน 5 สาระ ได้แก่

สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน ส ๑.๑ : เข้าใจประวัติ ความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรมของศาสนา มาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน

มาตรฐาน ส ๑.๒ : ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม และศรัทธาในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

มาตรฐาน ส ๑.๓ : ประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือหรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

มาตรฐาน ส ๒.๑ : ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมายประเพณีและ

และวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข

มาตรฐาน ส ๒.๒ : เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส ๓.๑ : เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจอย่างพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

มาตรฐาน ส ๓.๒ : เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ของระบบ

เศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส ๔.๑ :เข้าใจความหมายความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ และสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

มาตรฐาน ส ๔.๒ : เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องตระหนักถึงความสำคัญและ

สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

มาตรฐาน ส ๔.๓ : เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

สาระที่ ๕ ภูมิศาสตร์

มาตรฐาน ส ๕.๑ : เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของ สรรพสิ่งที่ปรากฏในระวางที่ ซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาข้อมูลภูมิสารสนเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน ส ๕.๒ : เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม และมีจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
         
ในการจัดทำสาระเพิ่มเติมหลักสูตร ”หลวงพ่อทองดำ” ได้กำหนดสาระมาตรฐาน การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังดังนี้

สาระที่ 1 ประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองและวัดท่าทอง

มาตรฐาน ส 1.1 เข้าใจประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองและ วัดท่าทองเพื่ออธิบายและเล่าให้บุคคลอื่นได้รู้เกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองและวัดท่าทอง

มาตรฐาน ส 1.2 มีความภาคภูมิใจและเจตคติที่ดีต่อถิ่นกำเนิดและชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

สาระที่ 2 ประวัติชาติภูมิ และสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจประวัติและชาติภูมิหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจถึงความเป็นมาเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐาน ส 2.3 นำความรู้เกี่ยวกับประวัติชาติภูมิ และสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

สาระที่ 3 เกร็ดชีวิตและวิทยอาคมของหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจเกร็ดชีวิตของหลวงปู่ทองดำสามารถนำเกร็ดชีวิตในด้านต่างๆมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

มาตรฐาน ส 3.2 ศึกษาวิทยาอาคมของหลวงปู่ทองดำเพื่อนำมาวิเคราะห์เหตุผลในด้านความเชื่อถือและศรัทธาในทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

สาระที่ 4 การทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคม ( ด้านศาสนาและการศึกษา )

มาตรฐาน ส 4.1 ศึกษาการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านศาสนา

มาตรฐาน ส 4.2 ศึกษาการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้าน การศึกษา

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

สาระที่ 1 ประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองและวัดท่าทอง

มาตรฐาน ส 1.1 เข้าใจประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองและ วัดท่าทองเพื่ออธิบายและเล่าให้บุคคลอื่นได้รู้เกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองและวัดท่าทอง

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 2 ป. ๔ -๖

  1. รู้และเข้าใจประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทอง
  2. อธิบายและเล่าประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองได้
  3. รู้และเข้าใจประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของวัดท่าทอง
  4. อธิบายและเล่าประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านวัดท่าทองได้

มาตรฐาน ส 1.2 มีความภาคภูมิใจและเจตคติที่ดีต่อถิ่นกำเนิดและชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 2 ป. ๔ -๖

  1. มีความภาคภูมิใจต่อถิ่นกำเนิดและชุมชนของตน
  2. มีเจตคติที่ดีต่อถิ่นกำเนิดและชุมชนของตน
  3. ตระหนักและเห็นคุณค่าของชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง

สาระที่ 2 ประวัติชาติภูมิ และสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจประวัติและชาติภูมิหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่2 ป. ๔ -๖

  1. ชื่นชม เลื่อมใสและศรัทธาในประวัติชาติภูมิของหลวงปู่ทองดำ
  2. ยกย่องการทำความดีของหลวงปู่ทองดำพร้อมทั้งบอกแนวปฏิบัติของตนเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจถึงความเป็นมาเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่2 ป. ๔ -๖

  1. รู้และเข้าใจถึงความเป็นมาเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำ

2. เห็นคุณค่าการกระทำความดีของหลวงปู่ทองดำและเสนอเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ ของตนเอง กลุ่มเพื่อนและสังคมใกล้ตัว เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

มาตรฐาน ส 2.3 นำความรู้เกี่ยวกับประวัติชาติภูมิ และสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำ

มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่2 ป. ๔ -๖

  1. ตระหนักถึงการกระทำความดีของหลวงปู่ทองดำที่เป็นแบบอย่างทางศีลธรรมจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ความเป็นเหตุเป็นผลของสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ
  2. นำความรู้เกี่ยวกับประวัติชาติภูมิ และสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำเป็นแนวทางการปฏิบัติของตนเองในกลุ่มเพื่อน ชุมชนและสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

สาระที่ 3 เกร็ดชีวิตและวิทยาอาคมของหลวงปู่ทองดำ

มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจเกร็ดชีวิตของหลวงปู่ทองดำสามารถนำเกร็ดชีวิตในด้านต่างๆ มาเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่2 ป. ๔ -๖

  1. รู้และเข้าใจเข้าใจเกร็ดชีวิตของหลวงปู่ทองดำ

2. นำเกร็ดชีวิตในด้านต่างๆของหลวงปู่ทองดำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

มาตรฐาน ส 3.2 ศึกษาวิทยาอาคมของหลวงปู่ทองดำเพื่อนำมาวิเคราะห์เหตุผลในด้านความเชื่อถือและศรัทธาในทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 2 ป. ๔ -๖

  1. วิเคราะห์ความเป็นเหตุผลในด้านวิทยาอาคมของหลวงปู่ทองดำในทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

2. วิเคราะห์เหตุผลในด้านความเชื่อถือและศรัทธาที่มีต่อหลวงปู่ทองดำในทางที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม

สาระที่ 4 การทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคม ( ด้านศาสนาและการศึกษา )

มาตรฐาน ส 4.1 ศึกษาการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านศาสนา

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่2 ป. ๔ -๖

  1. ตระหนักถึงการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านศาสนา
  2. นำเสนอตัวอย่างการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านศาสนาและสามารถ นำไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่น

มาตรฐาน ส 4.2 ศึกษาการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้าน การศึกษา

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 2 ป. ๔ -๖

1. ตระหนักถึงการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านการศึกษา

2. นำเสนอตัวอย่างการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านการศึกษาและสามารถ นำไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. อธิบายและเล่าประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านท่าทองได้
  2. อธิบายและเล่าประวัติการตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของบ้านวัดท่าทองได้
  3. บรรยายและอธิบายถึงความภาคภูมิใจต่อถิ่นกำเนิดและชุมชนของตนได้
    4. บอกข้อดีของชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง
    5. บรรยายถึงความเลื่อมใสและศรัทธาในประวัติชาติภูมิของหลวงปู่ทองดำ
    6. อธิบายถึงความดีของหลวงปู่ทองดำพร้อมทั้งบอกแนวปฏิบัติของตนเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
    7.บอกความเป็นมาเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำ
    8. บอกแนวการปฏิบัติของหลวงปู่ทองดำและเสนอเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติของตนเอง กลุ่มเพื่อนและสังคมใกล้ตัว เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
    9.วิเคราะห์แนวทางการกระทำความดีของหลวงปู่ทองดำที่เป็นแบบอย่างทางศีลธรรมจากการศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์
    10.นำความรู้เกี่ยวกับประวัติชาติภูมิ และสมณศักดิ์ของหลวงปู่ทองดำเป็นแนวทางการปฏิบัติของตนเองในกลุ่มเพื่อน ชุมชนและสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
    11.เล่าเกร็ดชีวิตของหลวงปู่ทองดำในด้านต่าง ๆได้และนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
    12.วิเคราะห์ความเป็นเหตุผลในด้านวิทยาอาคมของหลวงปู่ทองดำในทางที่เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง
    13. วิเคราะห์เหตุผลในด้านความเชื่อถือและศรัทธาที่มีต่อหลวงปู่ทองดำในทางที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม
    14.บอกถึงการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านศาสนาได้
    15.นำเสนอตัวอย่างการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านศาสนาและสามารถ นำไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่น
    16.บอกการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านการศึกษาได้
    17. นำเสนอตัวอย่างการทำคุณประโยชน์ของหลวงปู่ทองดำต่อสังคมทางด้านการศึกษาและสามารถนำไปถ่ายทอดสู่บุคคลอื่น

โดย : นาง สุนิสสัย มาต้น, โรงเรียนด่านแม่คำมันพิทยาคม, วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547