พิพิธภัณฑ์การเมืองไทย
จากการที่ได้เข้าฟังการเสวนาเรื่อง พิพิธภัณฑ์การเมืองไทยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวาระครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คำถามแรกที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ถามขึ้นก็คือ วันเป็นวันอะไร (วันที่ 14 กรกฎาคม ) ในจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เสวนา ที่มีประมาณ 30 – 40 คน เป็นบุคคลที่มีอายุมากกว่าผม 1- 2 เท่า และผู้ที่ยกมือตอบมี 4 คน 2 คนตอบว่า เป็นวันเกิด และ วันเสียชีวิตของ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม คำตอบ คือ เป็นวันเกิด ของจอมพล ป พิบูลย์สงคราม เป็นคำตอบ ที่ถูกแต่ไม่ตรงกับความต้องการ ของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ส่วน 2 คนที่ สามรถตอบได้ถูกและตรงกับความต้องการก็ คือ เป็นวัน ชาติฝรั่งเศษ เป็น วันเกิด ของพรรค ไทยรักไทย จะเห็นได้ว่า เป็นวันที่ สำคัญที่เราไม่ค่อยได้จดจำกัน มากนัก นั่นอาจหมายความได้ ว่า ใน 365 วันของทุกประเทศทั่วโลกต่างก็มีวันที่มีสิ่ง สำคัญของประเทศตัวเอง จากนั้น ท่านก็ได้พูดถึง เรื่องประวัติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในอดีต ซึ่งผมเองก็ยอมรับว่ามีความรู้ไม่มากนักเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในทางกลับกันก็เป็นความผิดพลาดของผมเอง ที่ไม่ศึกษาประวัติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อน จากนั้นก็ เป็นการเข้าสู่หัวข้อ ของการเสวนา โดยมีวิทยากรร่วม อีก 3 ท่าน ซึ่งก็ได้แก่ นส.จุลลดา มีกุล นายสุพจน์ แจ้งเร็ว บรรณาธิการของหนังสือศิลปวัฒนธรรม นายชีวสิทธิ์ บุณเกียรติ ดร.ชาญวิทย์ เป็นผู้เปิดประเด็นเรื่อง การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ต้องมี 1. เจตจำนง แบ่งเป็น ความคิด 20 % การลงมือทำ 80 % 2. ทรัพยากร แบ่งเป็น เงิน วัตถุ จากนั้นนายสุพจน์ แจ้งเร็วก็ได้ให้ความรู้ เสริมว่า พิพิธภัณฑ์ ไม่จำเป็น ที่จะต้องเป็นตึก ทุกๆที่สามารถเป็นได้ ด้วยตัวของมันเอง ถ้าเป็นตึกก็เหมือนกับเป็น ห้องเก็บของ คือ จะไม่มีการเคลื่อนไหว ก็แค่มี บรรณภัณฑ์ ( ผมไม่แน่ใจว่ามาจากคำว่า บรรณารักษ์ + พิพิธภัณฑ์ หรือเปล่า น่าจะหมายถึงคนที่คอยดูแล และให้ความรู้เกี่ยวกับ สิ่งของที่นำมาจัดใน พิพิธภัณฑ์ )
คอยนั่ง เฝ้า สิ่งของรอผู้ที่สนใจเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ ก็เท่ากับว่า พิพิธภัณฑ์จะไม่มีการเคลื่อนไหว จากนั้น คุณสุพจน์ ยังได้ตั้งคำถาม ขึ้นอีกว่า การตั้งพิพิธภัณฑ์ ทางการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ควรเป็นผู้ที่ จะจัดตั้ง และถ้า มีการจัดตังพิพิธภัณฑ์ ขึ้น จริงๆ จะมีการชี้นำไปทาง ไหน ประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ และที่สำคัญ คือ การเมืองจะเสนอพิพิธภัณฑ์ หรือ พิพิธภัณฑ์จะเสนอการเมือง นี่คือคำถามที่ไม่มีคำตอบตราบใดที่ ยังไม่มีการ สร้างพิพิธภัณฑ์ทางการเมืองขึ้น

   จากนั้นคุณ จุลดา มีกุล นักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก็ให้ให้ความรู้เป็นคน ต่อไป ว่า เมื่อมีพิพิธภัณฑ์ แล้วจะทำอย่างไร พิพิธภัณฑ์นั้นจัดเป็น สื่อที่ไม่เป็นทางการ และจัดเป็นที่รวบรวมคนหลายๆ คนเข้ามาทำงานร่วมกัน และบุคคลที่ จะทำงานร่วมกันนี้ จะต้องมี 1. จิตวิญญาณ 2. มีศรัทธา ต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม สิ่งที่จะนำเสนอต้องไม่เกิดจากความอยาก คนที่จะทำงานด้วยกัน ต้องสัมพันธ์กัน ต้องมีเครือข่ายที่ชัดเจน ( พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ไกล้กันควรมีการเกื้อหนุนกัน ) 3. การให้บริการ ต้องเน้นให้คนดุมีความประทับใจ ต้องให้คนดูได้อะไรออกไป ( ไม่ใช่การโขมยของออกไป ) หมายถึงว่าต้องได้ความรู้ออกไป การที่จะจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ได้ จะต้องมี 3 อย่าง คือ
1. ทำไม —ภาระหน้าที่ วัตถุประสงค์
2. ใคร —เจ้าหน้าที่ ฝ่ายจัดหากองทุน
3. อย่างไร จะจัดตังพิพิธภัณฑ์ จะต้องมี นโยบาย แผน ประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การทำเอกสารแนะนำ หรือ
การจัดเเสดง จะแบ่ง เป็น นิทรรศการชั่วคราว หรือนิทรรศการถาวร จะต้องมีหลักในการสื่อข้อมูล และที่สำคัญ คือทุกคนที่เข้ามา ( สถานะภาพต่างกัน ) ได้รับบริการและข้อมูลที่เท่าเทียมกัน

   หลังจากนั้น คุณชีวสิทธ์ บุณยเกียรติ ได้ให้ความรู้เป็นคนต่อไป ว่า การที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์จะต้องมี วัตถุประสงค์ และมีการทำวิจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งของ การเมือง หรือเรื่องประเด็นร้อนในสังคม ไม่ควรจัดทำพิพิธภัณฑ์อยู่แค่ที่ประวัติศาสตร์ และต้องคำนึงถึงผู้ชม ว่าจะให้ใครเข้าดู ต้องมีการเปิดกว้าง

   จากการที่ได้รับฟัง วิทยากรทั้ง 4 ท่านพอที่จะสรุปหลักความคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ได้ดังนี้
1. การที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ จะต้องมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อใคร และจัดตั้งอย่างไร
2. ในด้านงบประมาณ นั่นเป้นเรื่องของผู้บริหารที่จะพิจรณาลงมาถึงผู้บริหารระดับกลางและระดับล่าง
3. พิพิธภัณฑ์ ที่จัดตั้งขึ้นจะต้องไม่ตาย ( ในที่นี้หมายถึงจะต้องมีการเคลื่อนไหว และไม่ให้ผู้ที่เข้ามาชม มีความรู้สึกว่าถูกบังคับให้มาดู
4. ทุกๆที่สามารถที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ด้วยตัวของมันเองไม่มีความจำเป้นต้องเป็นตึก
5. ต้องให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ทัดเทียมกัน

   ในส่วนนี้ ตัวของผมเองจะขอทำการสรุปประเด็นของการเสวนาว่ามี 2 ประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับเกี่ยวกับ 1. ผู้บริหาร 2.ผู้ให้บริการ 3.ผู้ใช้บริการ
1. ผู้บริหาร แบ่งออกเป็น
1.1 ผู้บริหารระดับสูง มีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนการทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน ถ้าผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ หรือ โครงการไม่ทำการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน การทำงานของหน่วยงานนั้นก็จะไม่มีความคืบหน้า
1.2 ผู้บริหารระดับกลาง เป็นบุคคลที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่า ผู้บริหารระดับสูง คือเป็นบุคคลที่จะทำการเสนอเรื่องโครงการ หรือ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ไปยังผู้บริหารระดับสูงทั้งนี้ทั้งนั้น โครงการที่จะทำการจัดทำนั้น จะต้องมาจากผู้ที่ ปฏิบัติงาน หรือมาจากผู้บริหารระดับล่าง หรือเกิดจากการประชุมร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อที่การจัดทำโครงการหรือการกระทำการใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ผู้ให้บริการ ( ผู้ปฎิบัติการ) ผู้ปฏิบัติการ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะว่าจะปฏิบัติงานได้ดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับขวัญและกำลังใจบองผู้ปฏิบัติการ ทั้งนี้การทำงานของผู้ปฏิบัติการอาจจะมาจาก 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 เป็นการสั่งให้ทำจากผู้บริหารระดับสูง 2. เป็นการเสนอให้ผู้บริหารระดับสูงรับทราบว่าจะทำอะไร หรือทำโครงการอะไรและให้ผู้บริหารระดับสูงอนุมัติ ผู้ให้บริการจำเป็นที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ โครงการที่จัดทำมีการเคลื่อนไหว คือ มีผู้เข้ามาใช้บริการ
3.ผู้ขอใช้บริการ ผู้ที่มาขอใช้บริการ จะต้องมีความรู้สึกไม่เบื่อหน่ายกับการเข้าชมพิพิธภัณฑ์และได้ความรู้ออกไป

   การนำมาประยุกต์ใช้กับ สำนักวิทยบริการ
   ในแต่ละปี งานแต่ละงานของสำนักวิทยบริการจะมีการทำโครงการเพื่อ ของบประมาณ ทั้งนี้การเขียนของบประมาณ หัวหน้างานควรที่จะทำการปรึกษา กับผู้ที่อยู่ร่วมในงานก่อนเพื่อที่จะหาข้อดีข้อเสีย ของโครงการที่จะจัดทำ เพื่อที่จะปรับทัศนคติที่จะปฏิบัติงาน ในการเขียนโครงการ หรือจะทำอะไรนั้น หัวหน้างานควรที่จะคำนึงถึงว่า จะทำอะไร เพื่อใคร และจะทำอย่างไร เพราะถ้าจะทำโครงการ แต่ไม่รู้จะทำเพื่อใครโครงการที่ทำอยู่อาจไม่ได้รับความสนใจจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการก็ได้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว หัวหน้างานก็ทำเรื่องเสนอไปยัง ผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติ เพื่อที่จะให้พิจารณาว่าโครงการนี้ มีประโยชน์ หรือไม่ ถ้ามี ก็จะทำการสนับสนุน ถ้ามีส่วนที่ขาดตกบกพร่องก็ควรเสริมเข้าไป แต่ถ้าทำแล้วไม่มีประโยชน์ หรือไม่มีผู้ใช้เข้ามาใช้บริการ ก็ควรที่จะหยุดทำโครงการแล้วไปพัฒนางานในส่วนอื่นจะดีกว่า หรือถ้าโครงการที่หัวหน้างานที่จะจัดทำนั้นมีประโยชน์ แต่ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจไม่เห็นด้วยกับโครงการที่หัวหน้างานจะจัดทำทั้งๆที่โครงการที่จะทำอาจมีประโยชน์กับผู้ใช้บริการ โครงการหรือแผนงานที่จะทำก็ไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับโครงการว่าจะมีความน่าสนใจ และมีประโยชน์กับผู้ใช้บริการแค่ไหน


แหล่งอ้างอิง : http://lib.vru.ac.th/seminar/seminar2547-07.htm

โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 28 มกราคม 2547