การสีข้าว

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

ลักษณะและวิธีการใช้
“สีข้าวเปลือก” เป็นชื่อเครื่องมือสำหรับบดสีข้าวเปลือกให้เมล็ดของข้าวหลุดออก จากเปลือกเพื่อนำเมล็ดข้าว หรือ เมล็ดข้าวสารไปหุงต้มเป็นอาหารต่อไป ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนเอเซีย ข้าวที่จะนำมาหุงจะต้องเป็นเมล็ดข้าว ที่ขัดสีจนขาว ปราศจากเปลือกแล้ว ซึ่งเรียกว่า “ข้าวสาร” แต่ก่อนการที่จะได้มาซึ่งข้าวสารนั้น ต้องเอาข้าวเปลือกมาใส่ในครกไม้ แล้วใช้สากตำหลาย ๆ ครั้งจนเปลือกหลุดออกไป การตำข้าว มักจะต้องนำใช้คนตำถึง ๒ คน เรียกกันว่า “ข้าวซ้อมมือ” หลังจากตำครั้งแรกพอเปลือกหลุด ออกแล้ว จะต้องนำข้าวไปผัดด้วยกระด้งให้เปลือกออกไป เหลือแต่เมล็ดข้าวสารต้องทำเช่นนั้น ๒-๓ ครั้ง จนเมล็ดข้าวสารมีสีขาว จึงนำไปรับประทานได้

สีข้าวหรือเครื่องมือสีข้าวนี้ ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทยเป็นคนคิดสร้างขึ้น โดยเลียน แบบจากโม่หินของจีน แต่มีขนาดใหญ่กว่า และทำด้วยไม้ไผ่กับดินเท่านั้น ลักษณะของสีข้าวเปลือก มีลักษณะคล้ายโม่หิน : โครงสร้างเป็นทรงกระบอกซ้อน กัน ๒ ท่อน ท่อนล่างเป็นฐานมีแกนให้ท่อนบนสวมได้ รอบ ๆ ฐานมีที่รองรับเม็ดข้าวที่สีออก มาจากฟันสีที่บดประกบกันของทรงกระบอก ในขณะที่ทรงกระบอกท่อนบนกำลังหมุนรอบตัว เองด้วยแรงคน สีท่อนบนหมุนได้คล้าย ๆ กับข้อเสือเหวี่ยงให้ข้อรถไฟหมุนนั่นเอง ที่รอย ประกบของทรงกระบอกสองท่อนประกบกันนั้น หน้าตัดของทรงกระบอกมีร่องลึกเล็กน้อยเป็น แนวเฉียงออกจากจุดศูนย์กลางของแกนโม่ทั้งสองท่อน นอกจากนั้นท่อนบนยังมีรูกว้างขนาด ๑๐ เซนติเมตร สำหรับให้ข้าวเปลือกที่บรรจุอยู่ส่วนบนสุดของทรงกระบอกนี้ให้ลงสู่รอยต่อของ โม่ เม็ดข้าวเปลือกที่ไหลลงสู่รอยต่อจะถูกฟันโม่ และน้ำหนักกดทับของโม่ท่อนบนบดให้เม็ด ข้าวเปลือกหลุดออกมาพร้อมเม็ดข้าวสารตามแรงเหวี่ยงของคนชักที่หมุนอยู่ตลอดเวลา เมื่อ ข้าวเปลือกที่นำมาสีหมดแล้วก็เติมข้าวเปลือกลงไปใหม่ก็จะได้ข้าวที่สีแล้วมากขึ้นเรื่อย ๆ ตาม ต้องการ เม็ดข้าวเปลือกที่ทำการสีจากเครื่องสีข้าวนี้แล้วเรียกว่า “ข้าวกล้อง” มีสีเหลืองอ่อนๆ สามารถนำไปหุงต้มรับประทานได้อุดมไปด้วยวิตามินบี แต่มีความแข็งกระด้างฝืดคอ ชาวบ้าน ต้องนำไปใส่ครกตำอีกครั้งให้สีเหลืองคล้ายดอกมะขามที่หุ้มเม็ดข้าวสารหลุดออกไป จนเมล็ด ข้าวสารมีสีขาว การตำข้าวครั้งนี้จะได้รำข้าวเป็นผงละเอียดเมื่อนำไปร่อนด้วยตะแกรง รำข้าว อุดมด้วยไขมันสามารถนำไปเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงได้ เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เครื่องสีข้าวดังกล่าวนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงกระบอกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร ทำด้วยไม้ไผ่ และ ดินเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันไม่มีผู้นิยมใช้เครื่องสีข้าวประเภทนี้ เนื่องจากมีเครื่องจักรสำหรับสีข้าวเป็น อุตสาหกรรมแล้ว เรียกว่า “โรงสี” ที่มีอยู่ทั่วไปในแหล่งผลิตข้าวและทำนาทั่วประเทศไทย ดัง นั้นสีข้าวจึงเป็นเทคโนโลยีของชาวบ้านในอดีต และเป็นต้นแบบในการคิดค้นในการสีข้าวสู่ ระบบเครื่องจักร และอุตสาหกรรมจนทุกวันนี้

ประโยชน์
เป็นเครื่องมือที่ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกแยกออกเป็นเปลือกและข้าวสาร เพื่อให้ ง่ายต่อการที่จะทำให้ข้าวสารสะอาด เหมาะแก่การหุง

ลักษณะและวิธีการใช้
“สีข้าวเปลือก” เป็นชื่อเครื่องมือสำหรับบดสีข้าวเปลือกให้เมล็ดของข้าวหลุดออก จากเปลือกเพื่อนำเมล็ดข้าว หรือ เมล็ดข้าวสารไปหุงต้มเป็นอาหารต่อไป ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนเอเซีย ข้าวที่จะนำมาหุงจะต้องเป็นเมล็ดข้าว ที่ขัดสีจนขาว ปราศจากเปลือกแล้ว ซึ่งเรียกว่า “ข้าวสาร” แต่ก่อนการที่จะได้มาซึ่งข้าวสารนั้น ต้องเอาข้าวเปลือกมาใส่ในครกไม้ แล้วใช้สากตำหลาย ๆ ครั้งจนเปลือกหลุดออกไป การตำข้าว มักจะต้องนำใช้คนตำถึง ๒ คน เรียกกันว่า “ข้าวซ้อมมือ” หลังจากตำครั้งแรกพอเปลือกหลุด ออกแล้ว จะต้องนำข้าวไปผัดด้วยกระด้งให้เปลือกออกไป เหลือแต่เมล็ดข้าวสารต้องทำเช่นนั้น ๒-๓ ครั้ง จนเมล็ดข้าวสารมีสีขาว จึงนำไปรับประทานได้

สีข้าวหรือเครื่องมือสีข้าวนี้ ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทยเป็นคนคิดสร้างขึ้น โดยเลียน แบบจากโม่หินของจีน แต่มีขนาดใหญ่กว่า และทำด้วยไม้ไผ่กับดินเท่านั้น ลักษณะของสีข้าวเปลือก มีลักษณะคล้ายโม่หิน : โครงสร้างเป็นทรงกระบอกซ้อน กัน ๒ ท่อน ท่อนล่างเป็นฐานมีแกนให้ท่อนบนสวมได้ รอบ ๆ ฐานมีที่รองรับเม็ดข้าวที่สีออก มาจากฟันสีที่บดประกบกันของทรงกระบอก ในขณะที่ทรงกระบอกท่อนบนกำลังหมุนรอบตัว เองด้วยแรงคน สีท่อนบนหมุนได้คล้าย ๆ กับข้อเสือเหวี่ยงให้ข้อรถไฟหมุนนั่นเอง ที่รอย ประกบของทรงกระบอกสองท่อนประกบกันนั้น หน้าตัดของทรงกระบอกมีร่องลึกเล็กน้อยเป็น แนวเฉียงออกจากจุดศูนย์กลางของแกนโม่ทั้งสองท่อน นอกจากนั้นท่อนบนยังมีรูกว้างขนาด ๑๐ เซนติเมตร สำหรับให้ข้าวเปลือกที่บรรจุอยู่ส่วนบนสุดของทรงกระบอกนี้ให้ลงสู่รอยต่อของ โม่ เม็ดข้าวเปลือกที่ไหลลงสู่รอยต่อจะถูกฟันโม่ และน้ำหนักกดทับของโม่ท่อนบนบดให้เม็ด ข้าวเปลือกหลุดออกมาพร้อมเม็ดข้าวสารตามแรงเหวี่ยงของคนชักที่หมุนอยู่ตลอดเวลา เมื่อ ข้าวเปลือกที่นำมาสีหมดแล้วก็เติมข้าวเปลือกลงไปใหม่ก็จะได้ข้าวที่สีแล้วมากขึ้นเรื่อย ๆ ตาม ต้องการ เม็ดข้าวเปลือกที่ทำการสีจากเครื่องสีข้าวนี้แล้วเรียกว่า “ข้าวกล้อง” มีสีเหลืองอ่อนๆ สามารถนำไปหุงต้มรับประทานได้อุดมไปด้วยวิตามินบี แต่มีความแข็งกระด้างฝืดคอ ชาวบ้าน ต้องนำไปใส่ครกตำอีกครั้งให้สีเหลืองคล้ายดอกมะขามที่หุ้มเม็ดข้าวสารหลุดออกไป จนเมล็ด ข้าวสารมีสีขาว การตำข้าวครั้งนี้จะได้รำข้าวเป็นผงละเอียดเมื่อนำไปร่อนด้วยตะแกรง รำข้าว อุดมด้วยไขมันสามารถนำไปเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงได้ เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เครื่องสีข้าวดังกล่าวนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงกระบอกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร ทำด้วยไม้ไผ่ และ ดินเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันไม่มีผู้นิยมใช้เครื่องสีข้าวประเภทนี้ เนื่องจากมีเครื่องจักรสำหรับสีข้าวเป็น อุตสาหกรรมแล้ว เรียกว่า “โรงสี” ที่มีอยู่ทั่วไปในแหล่งผลิตข้าวและทำนาทั่วประเทศไทย ดัง นั้นสีข้าวจึงเป็นเทคโนโลยีของชาวบ้านในอดีต และเป็นต้นแบบในการคิดค้นในการสีข้าวสู่ ระบบเครื่องจักร และอุตสาหกรรมจนทุกวันนี้

ประโยชน์
เป็นเครื่องมือที่ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกแยกออกเป็นเปลือกและข้าวสาร เพื่อให้ ง่ายต่อการที่จะทำให้ข้าวสารสะอาด เหมาะแก่การหุง



แหล่งอ้างอิง : หนังสือการสีข้าว หน้า 25-27 25 มกราคม 2530

โดย : นาย ณัฐพงษ์ ชุมแสง, ร.ร.สวนศรีวิทยา, วันที่ 27 มกราคม 2547