header
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนคำที่ไม่ตรงตัวสะกดโดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1

ภาษามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ทุกคน เพราะภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทย และจากการเรียนการสอนภาษาไทยแต่ละสัปดาห์ครูผู้สอนจะทดสอบความรู้เรื่องการอ่านและการเขียนคำใหม่ปรากฎว่า นักเรียนส่วนมากจะอ่านและเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตัวสะกดไม่ถูกต้อง ครูผู้สอนจึงสนใจที่จะพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตัวสะกด โดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านดงคู่ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านดงคู่ ปีการศึกษา 2547
2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านดงคู่

เป้าหมาย

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านดงคู่ จำนวน 25 คนสามารถอ่านและเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตัวสะกด หลังการพัฒนาทักษะได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไปเป็นจำนวนร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีแผนการสอนที่พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตัวสะกดที่มีคุณภาพ
  2. มีสื่อประสมในการเรียนการสอนเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตัวสะกด
  3. นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตัวสะกดและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

สรุปผลการวิจัย

จากการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตัวสะกด กลุ่มสาระภาษาไทย โดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านดงคู่ พบว่านักเรียนที่สอบก่อนเรียนได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 47.73 ของนักเรียนทั้งหมด หลังจากการพัฒนานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 86.36 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งเป็นผลที่น่าพอใจ

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรเผยแพร่แนวการสอนและการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แก่ผู้สนใจนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
  2. ควรพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตัว สะกดในรูปแบบอื่นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้บริหารควรส่งเสริมด้านสื่อการเรียนการสอน
  4. ครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่นควรบูรณาการทักษะการอ่านและ       การเขียนคำที่ไม่ตรงตัวสะกดในเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน

 

 

 

 


โดย : เด็กชาย นางสาวธัญวรรณ เถาโพธิ์, โรงเรียนบ้านดงคู่, วันที่ 26 มกราคม 2547