โคลงสีสุภาพ
โคลง แบ่งเป็น โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ ซึ่งจัดเป็นโคลงสุภาพ และยังมีโคลงดั้น อีกหลายชนิด มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น โคลงดั้นวิวิธมาลี จัตวาทัณฑี บาทกุญชร นอกจากนั้นยังมีโคลงพิเศษอีกหลายชนิด ได้แก่ โคลงกระทู้ โคลงกลอักษร มีชื่อต่างๆ กัน และโคลงห้า หรือมณฑรคติ ที่ใช้ในประกาศแช่งน้ำพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
โคลงสี่สุภาพ มีลักษณะบังคับของร้อยกรอง ดังนี้
คณะ คณะของโคลง ประกอบด้วย โคลงบทหนึ่งมี 4 บาท บาท 1, 2 และ 3 มีบาทละ 2 วรรค และมีจำนวนคำเท่ากันทั้ง 3 บาท ส่วนบาทที่ 4 ก็มีสองวรรค เช่นเดียวกัน แต่มีจำนวนคำเพิ่มขึ้นในวรรคท้ายอีก 2 คำ
พยางค์และคำสร้อย จำนวนพยางค์หรือคำในโคลงแต่ละบทมีดังนี้
บาทที่ 1 มี 2 วรรค วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ
บาทที่ 2 มี 2 วรรค วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ
บาทที่ 3 มี 2 วรรค วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ
บาทที่ 4 มี 2 วรรค วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 4 คำ
รวม 4 บาท มีจำนวนคำทั้งหมด 30 คำ
คำสร้อย คือ คำที่แต่งเติมท้ายบาทของโคลงตามข้อบังคับ เพื่อทำให้ได้ความครบ ถ้าโคลงบาทใด ได้ความครบแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเติมคำสร้อย ตำแหน่งที่กำหนดให้เติมคำสร้อย คือ ท้ายบาทที่ 1 และท้ายบาทที่ 3 คำสร้อยต้องมีแห่งละ 2 คำเสมอไป คำแรกเป็นคำสุภาพที่ต้องการเสริมความให้สมบูรณ์ ส่วนคำหลังมักลงท้ายด้วยคำต่อไปนี้ คือ นา นอ เนอ พ่อ แม่ พี่ เรา แล เลย เอย ฤาฮา แฮ เฮย และอีกคำหนึ่งที่มักพบในโคลงโบราณคือคำ บารมี ใช้เป็นคำสร้อยได้ครบพยางค์ไม่ต้องเติมคำอื่
สัมผัส ดูได้จากผัง ดังนี้ 0 0 0 0 0 0 0 ( 0 0 ) 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 ( 0 0 ) 0 0 0 0 0 0 0 0 0
การแบ่งวรรคตอน 2 / 3 2 ( 2 ) 2 / 3 2 2 / 3 2 ( 2 ) 2 / 3 2 / 2
คำเอกและคำโท มีตามตำแหน่งที่เขียนตามผัง รวมทั้งหมด มีคำเอก 7 คำ และคำโท 4 คำ นอกนั้นเป็นคำสุภาพอีก 19 คำ คำสุภาพก็คือคำธรรมดา ไม่จำเป็นต้องเป็น เอก โท จะเป็นเสียงวรรณยุกต์อะไรก็ได้
คำเป็นคำตาย คำตายใช้แทนคำเอกทุกแห่งที่บังคับ ไม่ว่าคำตอบนั้นๆ จะมีเสียงวรรณยุกต์อะไร อาจเป็นคำตายเสียงเอก เช่น จาก โศก คำตายเสียงโท เช่น โชค ลาภ หรือคำตายเสียงตรี เช่น คิด ทรัพย์ เป็นต้น |