บันทึกบนหาดทรายหลังเกาะ หลีเป๊

"หลีเป๊ะ" เกาะชื่อแปลก ที่ฉันคุ้นหูดูหน้ามาจากหนังสือของอ้น สราวุธ มาตรทอง พร้อมทั้งภาพ คุณอ้น กำลังเต้นแร้งเต้นกาบนหาดทรายขาวนวลเป็นฝุ่นแป้ง เพียงแค่ 1 ภาพกับอีก 1 คำบอกเล่า ก็ทำเอาใจ ฉันนับจังหวะเต้นตามคุณอ้นไปด้วย ฉันปิดหนังสือพร้อมกับให้สัญญากะสายตาและขาตัวเองว่าสักวันฉัน จะไปเต้นแร้งเต้นกาจุด เดียวกับคุณอ้นให้ได้

เวลาผ่านไปหลายต่อหลายเดือน ฉันมัวแต่วุ่นวายกับงานที่ล้นจนเต็มโต๊ะ มานึกสงสารตัวเองอีกทีก็อีตอน วันที่แบตฯใกล้หมดอยู่รอมมะล่อ นานหลายปีแล้วที่คนขี้เที่ยวอย่างฉันและผองเพื่อนไม่มีโอกาสนุ่งกาง เกงเลสะพายเป้กะเขาเลย ถึงเวลาที่ฉันต้องรวมพลคนแบตฯหมดเสียที

เวลา 04.00 น. คงเป็นเวลาที่ใครหลายๆคนยังนอนน้ำลายไหลอยู่ที่บ้าน ส่วนฉันนั่งดูดกาแฟโบราณ แกล้มปาท่องโก๋ อย่างสบายอารมณ์อยู่บนรถ เพื่อเดินทางไปสนามบินดอน เมือง ( 2 ชั่วโมงจาก ชลบุรี ) จากนั้นนั่งเครื่องบินไปลงหาดใหญ่ (1 ชั่วโมง) และต่อรถไปท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล (1 ชั่วโมง ครึ่ง) ต่อเรือ Speed boat ไปยังเกาะหลีเป๊ะ(1 ชั่วโมง 45 นาที ) เป็นการเดินทางที่ นาน หลายชั่วโมงทีเดียว เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ช้างเผือกยังต้องอยู่ในป่าลึก ของดีๆที่ไหนจะหาได้ แค่ปลายจมูกกันเล่า .......

ทัวร์ทิปนี้ฉันได้หัวหน้าทัวร์เป็นคนท้องถิ่นที่พูดภาษาไทยสำเนียงใต้ได้ไพเราะน่าฟัง ชื่อ"บังก๊อต" ซึ่งฉันขอยกย่องให้บังก๊อตเป็นเพื่อนสนิทของทะเล เพราะทุกอย่างที่ฉัน สงสัยเกี่ยวกับทะเลที่นี่ ไม่มีคำถามไหน ที่ไม่มีคำตอบ ถึงแม้ บัง จะไม่ได้อยู่สังกัดเดียวกับกรมอุตุฯแต่ บัง ก็รู้ทุกอย่างในทะเลได้ดีพอๆกับดาวเทียมของกรมอุตุ เพราะด้วยประสบการณ์ที่โตมากับน้ำ และทราย ที่สตูลนี่เองจึงทำให้ความสามารถของบังไม่เป็นสองรองใคร

ระหว่างทางนั่งเรือผ่านเกาะตะรุเตา อีกหนึ่งคุกที่ตั้งอยู่บนเกาะเมื่อปลายปีก่อนฉันได้ไปเที่ยวคุกบน เกาะอัลคาทัชที่ซานฟรานซิสโกรับรู้ได้ถึงระบบการจัดการท่องเที่ยวที่ดี ทั้งการตกแต่งสถานที่ บรรยากาศ เสียงให้ดูคล้ายเรากำลังเดินอยู่ในคุกจริง ถึงกับต้องเหลียวหลังดูให้แน่ใจว่าไม่มีคนใส่โซ่ตรวนเดิน ตาม มา บรรยากาศดังกล่าวยังตรึงอยู่ในใจ ...วันนี้มาถึง ตะรุเตา หมายมั่นจะไปชม ดมกลิ่นคุกซ้ำอีกสักครั้ง
"เกาะตะรุเตา" ตั้งอยู่ในทะเลฝั่งอันดามัน ใต้สุดของประเทศ ไทยจังหวัดสตูล พื้นที่ 931,250 ไร่ ส่วนที่เป็น แผ่นดินเพียงร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือเป็นทะเล มีเกาะใน การ ปกครองถึง 51 เกาะ แบ่ง ออกเป็นหมู่เกาะ ตะรุเตา และ หมู่เกาะอาดัง-ราวี และประกาศตัว เป็นอุทยานแห่งชาติ อัน ดับ ที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 และใน อีก 8 ปีต่อมา Unesco ได้ยกย่องให้ ตะรุเตาเป็น "มรดกแห่งอาเซียน" นับเป็นรางวัลที่เหมาะสมจริงๆ
ก้าวแรกที่เหยียบแผ่นดิน เกาะตะรุเตา เล่นเอางงเป็นไก่ตาแตกมี แผ่นพับให้ 1 แผ่น แล้วเชิญเลิกเดิน เอาตามใจชอบ ฉันจึงเลือก ไปนมัสการเจ้าพ่อตะรุเตาก่อน วนซ้ายวนขวา อยากอ่านประวัติให้ รู้จักกันสักนิดก็ไม่มีเห็นที ก็อาศัยได้แต ่บังก๊อต ที่ขยันหมั่นเล่าให้ฉันฟังเป็นเนืองนิจ
บังเล่าว่า ประวัติของเจ้าพ่อตะรุเตามีมา 2 กระแส คือ เจ้าพ่อตะรุเตาเป็นเพียงนักโทษธรรมดาคนหนึ่ง ที่มาติดคุกอยู่บนเกาะ แต่ด้วยมีนิสัยโหดร้ายและมีบารมีทุกคนบน เกาะและชาวเรือในย่านนี้จึงนับถือ เป็นเจ้าพ่อ หากชาวเรือจะมาจับปลาในย่านเกาะตะรุเตาและคลอง พันเตมะละกาต้องมาขออนุญาต เจ้าพ่อ ก่อน วันหนึ่งบนเกาะไม่มีอาหารกินและมีโรคระบาดนักโทษกว่าสามพันคนตายกันเป็นเบือ เมื่อเห็น ดัง นั้น เจ้าพ่อฯจึงขออนุญาติพัสดี ไปปล้นระดมชาวบ้าน เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารและปัจจัย 4
ส่วนอีกกระแสหนึ่งเล่าว่า เจ้าพ่อตะรุเตาเป็นเพียงคนธรรมะธัมโม มา จากอินโดนีเซีย มาตั้งหลักแหล่งที่ เกาะตะรุเตา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็น หมอรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยความเป็นคนมีจิตใจดีเวลาชาวเรือจะออก เรือมักจะมาขอพรทำให้ได้ปลากลับมาครั้งละมากๆ หลังจากท่านได้เสีย ชีวิต จึงได้รับขนานนามว่า เจ้าพ่อตะรุเตา 
หากมีการแจกเอกสารหรือทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวอ่านกัน เป็นเรื่องเป็นราวก็คงจะดี เป็นเพราะประวัติศาสตร์สำคัญต่างๆย่อมมี มนต์เสน่ห์ของตัวเองดีอยู่แล้ว เว้นเสียแต่ว่าจะสามารถสื่อให้นักท่องเที่ยว ได้รู้มากน้อยเพียงใด รู้สึกเสียดายแทนนักท่อง เที่ยวอื่นที่ไม่มีหัวหน้าทัวร์ เลย ได้แต่มาเหยียบแผ่น ดินไม่ได้เก็บอะไรกลับไป

โดย : นางสาว ชุติมา จิตจํา, โรงเรียนสวนศรีวิทยา, วันที่ 2 ธันวาคม 2547