ชิปเซ็ต ทำงานอย่างไร
Chipset คืออะไร สำคัญขนาดไหน
ในคอมพิวเตอร์นั้น โปรเซสเซอร์ถือเป็นหัวใจหลักในการประมวลผล แต่ซีพียูจะประมวลผลได้นั้น ต้องมีการรับ-ส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก จากอุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (Input-Output)จากอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งการควบคุมการทำงาน กลวิธีในการต่อเชื่อม การรับ-ส่งข้อมูลเหล่านั้น ถูกควบคุมโดยชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ที่มีโครงสร้างคล้ายซีพียู เรียกว่า ชิปเซ็ต งานทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้กระทำจะถูกทำโดยชิปเซ็ตได้แก่ การควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่างๆ เช่น VGA Card, AGP Card, Sound Card งานเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการควบคุมของ Chipset ทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านเข้าออกจากซีพียูจะต้องผ่าน Chipset ให้ Chipset เป็นผู้จัดการทั้งสิ้น

ในบทความเรื่อง "เชื่อมประสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน" ชี้ให้เห็นว่า หากปราศจาก Chipset แล้ว บรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกสร้างออกมา ได้แก่ AGP USB หรือ Ultra DMA/33 , Ultra DMA/66 จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เลย หากคอมพิวเตอร์ปราศจาก Chipset ที่สามารถเชื่อมประสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมถึงมี Chipset ใหม่ๆ ถูกผลิตออกมาเรื่อย ๆ ที่จริงสาเหตุที่ Chipset ต้องมีการพัฒนาเรื่อยๆ ก็คือ พัฒนาตามซีพียู ทุกครั้งที่มีซีพียูรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสถาปัตยกรรม Chipset ก็ต้องถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนซีพียูนั้นด้วย ตัวอย่างเช่น เพนเทียมคลาสสิคกับเพนเทียม II จะใช้ Chipset คนละตัว ทั้งนี้เพราะทั้งสองมีสถาปัตยกรรมแตกต่างกัน เพนเทียมนั้นใช้กับเมนบอร์ดที่มีแคชระดับ 2 บนเมนบอร์ด (L2 Cache หรือ External Cache Level 2) ขณะที่ เพนเทียม II นั้นมีอยู่บน SEC ของตัวซีพียูเอง ซึ่งจะทำให้การโอนย้ายข้อมูลจากแคชเร็วขึ้น ระยะเวลารอน้อยลง ดังนั้น Chipset จึงต้องถูกผลิตออกมาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของซีพียู
ปัจจุบันมีผู้ผลิต Chipset หลายรายด้วยกัน รายใหญ่ที่สุดคือ Intel รายย่อยๆลงไปได้แก่ VIA , SiS , Winbond, Acer ผู้ผลิตแต่ละรายต่างก็พยายามพัฒนาให้ Chipset ของตัวเองทำงานได้ดีที่สุด ผนวกเอาเทคโนโลยีใหม่เข้าไว้มากที่สุด
Chipset ทำงานอย่างไร
ดูตัวอย่างการทำงานของ Chipset VIA MVP3 จากแผนภาพต่อไปนี้ ลองตั้งคำถามว่า แล้ว Chipset ทำหน้าที่อะไร ที่ผมไม่ได้เขียนอธิบายไว้ตรงนี้ก็เนื่องจาก จะมีอธิบายไว้ข้างล่างอีก

จากภาพแสดงโครงสร้างการทำงานของ Chipset VIA MVAP3 ซึ่งการทำงานทั้งชุดประกอบด้วย Chipset 2 ตัว Chipset หลัก VT82C589AT หรือชื่อที่เรียกก็คือ MVP3 และ Chipset รอง VT82C586B ซึ่งทั้งสองทำหน้าที่แตกต่างกัน ภายใน Chipset จะประกอบด้วยวงจรลอจิก ทำหน้าที่แยกประสาน,จัดการงานของระบบคอมพิวเตอร์ วงจรลอจิกดังกล่าว ยังแบ่งออกเป็น 2 วงจรย่อย เรียกกันว่า Northern Bridge หรือ Chipset หลัก ทำหน้าที่หลักๆในคอมพิวเตอร์ ขณะที่ Southern Bridge หรือ Chipset รองทำหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อการประมวลลงไป

สำหรับเมนบอร์ด การจะทราบว่าเมนบอร์ดรุ่นหนึ่งนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร เช่น ใช้กับซีพียูรุ่นไหนได้บ้าง ใช้หน่วยความจำประเภทใด มีคุณสมบัติเพิ่มเติมอย่างไร วิธีการตรวจสอบอย่างง่ายๆ ก็คือ ดูว่าเมนบอร์ดนั้นใช้ Chipset อะไร Chipset เป็นส่วนประกอบที่ไม่สามารถอัปเกรดได้ เมื่อซื้อมาก็จะมาพร้อมกับเมนบอร์ดเลยทีเดียว

แหล่งอ้างอิง

http://www.ruencom.com/hardware/chipset/chipset1b.htm



แหล่งอ้างอิง : http://www.ruencom.com/hardware/chipset/chipset1b.htm

โดย : นางสาว สุจิตรา โกวิทชัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 1 ธันวาคม 2547