ความรู้เรื่องซีดี อาร์ดับบลิว
CD-RW

ในโลกของซีดีอาร์ดับบลิว

     หากว่ากันในโลกของซีดีอาร์ดับบลิวแล้ว ยามาฮ่าเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรก ๆ ที่พัฒนาไดร์ฟซีดีอาร์ ออกวางตลาดโดยล่าสุดนั้นมักจะเป็นไดร์ฟที่นิยมกันและได้รับความเชื่อถือกันอย่างกว้างขวาง เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นอย่างไรมาติดตามในก้าวทันไอทีค่ะ

     สำหรับเครื่องที่เป็นแบบ External ซึ่งเรียกได้ว่าไม่มีใครเกินไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวยี่ห้อนี้ และเมื่อกระแสของการป้องกัน Buffer Under Run เกิดขึ้น ยามาฮ่าก็ได้พัฒนาเทคโนโลยี SafeBurn มาเพื่อใช้กับไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวของตน

     เทคโนโลยี SafeBurn Buffer Management System (เรียกสั้น ๆ ว่า SafeBurn ) หลักการทำงานเริ่มแรกก็จะตรวจสอบความสามารถของแผ่นซีดีที่จะบันทึกและจะจัดการเลือกความสามารถในการบันทึกให้ตรงกับซีดีแผ่นนั้น ๆ จากนั้นจะคอยจัดการในเรื่องการทำงานไปด้วย ทำให้ทำงานได้ทั้งในการเขียนแผ่นซีดีและก็ทำงานอย่างอื่น ๆ ได้พร้อมกัน ซึ่งไดร์ฟนี้ก็มีจุดเด่นตรงที่บัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ 8 เมกะไบต์ ทำให้รองรับข้อมูลที่ไหลมาเก็บได้มากกว่า

ความนิยมของไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิว

     วันนี้มาถึงเรื่องของการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของการใช้งานไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิว เรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามในก้าวทันไอทีวันนี้ค่ะ

     ความนิยมของการใช้งานไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวนั้น หากดูกันในท้องตลาดที่นิยมกันเป็นหลัก ก็จะเป็นรุ่นแบบติดตั้งภายในที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบ IDE เป็นหลัก เหมือนกันฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ซึ่งไดร์ฟแบบนี้มีข้อดีตรงที่ความเร็วในการทำงานค่อนข้างสูง ราคาประหยัด สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ทันที และโอเอสสามารถตรวจพบเห็นไดร์ฟได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานง่าย ข้อดีก็คือความเร็วในการเขียนปัจจุบันสูงถึง 32* แล้ว แต่ข้อเสียก็คือเคลื่อนย้ายไม่สะดวกเพราะติดตั้งอยู่ภายในตัวของเครื่อง

     ไดร์ฟแบบที่สองที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมกันมากขึ้น ก็คือ ไดร์ฟแบบต่อจากภายนอก ผ่านทางพอร์ต USB โดยไดร์ฟแบบนี้ความเร็วในการเขียนจะต่ำกว่าเพราะอินเทอร์เฟซของ USB มาตรฐาน ปัจจุบันนั้นยังคงอยู่ที่เวอร์ชั่น 1.1 ซึ่งทำให้ไดร์ฟที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบนี้สามารถทำความเร็วในการเขียนได้เพียง 4*4*24 เท่านั้นเอง ส่วนไดร์ฟที่ใช้มาตราฐาน USB 2.0 นั้น ก็เริ่มมีวางจำหน่ายบ้างแล้วเหมือนกัน เพียงแต่มาตราฐาน USB 2.0 ยังไม่แพร่หลายเท่านั้นเอง ซึ่งทำให้ฟังก์ชั่นการใช้งานแบบเคลื่อนย้ายนั้นยังคงไม่สะดวกเท่าไหรนัก

     นอกจากอินเทอร์เฟซสองมาตราฐานที่นิยมกันแล้ว ยังมีอินเทอร์เฟซอีกมาตราฐานหนึ่ง แต่มักจะได้รับความสนใจจากบรรดาเหล่าผู้ใช้ไม่มากนัก เนื่องจากราคาแพงและต้องใช้ฮาร์ดแวร์ต่างหากเพิ่มเติม เช่น อินเทอร์เฟซแบบ SCSI และ Firewire หรือ IEEE1394 ซึ่งมักจะมีใช้กับคอมพิวเตอร์ในระดับเซิร์ฟเวอร์หรือแมคระดับเพาเวอร์แมคเท่านั้น

     ถ้าจะให้เหมาะที่สุดสำหรับการใช้งานในระดับยูสเซอร์ทั่วไปแบบที่ติดตั้งภายในโดยใช้อินเทอร์เฟซแบบ IDE ก็เพียงพอสำหรับความต้องการในการใช้งานแล้วค่ะ

CD-R / RW ทำงานอย่างไร

แผ่น Disk ทั้งสามแบบนี้ จะมีการ เก็บข้อมูล ในหลุมเล็ก ๆ ที่มีขนาดเพียง 1.6 ไมครอน (1ไมครอนเท่ากับ 1/1000 ของ 1 มิลลิเมตร ทั้งนี้ เส้นผม ของคนเรา จะมีขนาด ประมาณ 50ไมครอน ) แผ่นซีดี จะแตกต่าง จากอุปกรณ์ เก็บข้อมูล จำพวกสื่อ แม่เหล็ก อย่างฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมี การเก็บข้อมูล แบบ polarize ซึ่งเป็นการ บังคับ คลื่นแม่เหล็ก พุ่งตรง ไปใน ทางเดียวกัน ในขณะที่ ซีดี จะอาศัย จุดหรือหลุม ขนาดเล็กมาก จนไม่สามารถ มองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า ซึ่งหลุมพวกนี้ จะแบ่งเป็น แบบ ที่สามารถ สะท้อนแสงได้ และไม่สามารถ สะท้อนแสงได้ ( ซึ่งเป็นค่า เท่ากับ 0 หรือ 1 นั่นเอง ) เมื่อไดรฟ์ ทำการอ่านดิสก์ ก็จะมีการ ใช้แสงเลเซอร์ ไปกระทบ ผิวหน้า ของแผ่น พร้อมทั้ง บันทึก การสะท้อนแสง ของพื้นผิว แต่ละจุดไว้ เป็นค่าดิจิตอล


จุดเรืองแสง และจุด ทึบแสง บนแผ่นดิสก์ จะทำหน้าที่ อย่างใด อย่างหนึ่ง ระหว่าง การสะท้อนแสง เลเซอร์ กลับไปที่ หัวอ่านข้อมูล หรือไม่ก็ ดูดซับ หรือกระจาย แสงออกไป ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกบันทึก ลงบนแผ่น จะถูกแทนค่ าด้วยรู ขนาด เล็กมากๆ ในระดับ ไมโครสโคปิค ซึ่งไม่สามารถ มองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า ซึ่งรูต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีความ ทึบแสง และสะท้อน แสงต่างกัน ทำให้เกิด ค่าของข้อมูล ที่แตกต่าง ที่ช่วยให้ หัวเลเซอร์ สามารถ แยกแยะ ข้อมูล จากแผ่นซีดีได้

ในวงการ อุตสาหกรรม ที่ผลิตแผ่นเสียง ซีดี และซีดี-รอมนั้น จะมีการ ประทับแผ่นซีดี ให้เกิดส่วนนูน ขึ้นมา ที่เรียกว่า lands และส่วนเว้า ลงไปเป็นรู ที่เรียกว่า พิทส์ หรือ pits ในร่องข้อมูล ซึ่งพิทส์ จะมีการ สะท้อนแสง ที่แตกต่าง จากแลนด์ จากผิวหน้า ของแผ่นซีดี ซึ่งอาจทำจาก อลูมิเนียม หรือทองคำก็ได้ นั่น จะช่วยให้ หัวเลเซอร์ สามารถอ่านค่า ที่แตกต่างได้ โดยการแยกแยะ ระดับ ความสว่าง ของแสงที่สะท้อน กลับมา ที่หัวเลเซอร์ (โดยทั่วไป บนแผ่นซีดี-อาร์ หรือ ซีดี-อาร์ดับบลิว จะมีการ ฉาบผิว ด้วยสีย้อม หรือ สารเคมีบางอย่าง ที่ไวต่อแสงมาก เมื่อมีการ ฉายแสงเลเซอร์ ลงไป ตกกระทบ แผ่นซีดี สารเคมี ที่เคลือบไว้นี้ ก็จะสามารถ ซึมซับข้อมูล จากแสง ได้อย่างรวดเร็ว )


ชั้นของ สารเคมี ที่ถูกฉาบไว้ บนผิวหน้า ของแผ่น ซีดี-อาร์ และซีดี-อาร์ดับบลิว ทำให้เกิด จุด ที่มี ความสามารถ ในการ สะท้อนแสง แตกต่างกัน ขึ้น ตามร่อง ข้อมูลต่าง ๆ ทั่วทั้ง แผ่นซีดี โดยในส่วน ของแผ่น ซีดี-อาร์ นั้นจะใช้ สีย้อม แบบพิเศษ ที่ทำหน้าที่ คล้ายกับ ฟิล์มภาพยนตร์ แต่บนแผ่น ซีดี-อาร์ดับบลิว จะใช้ สารเคมี ที่สามารถ ปรับเปลี่ยนไปมา ระหว่าง การทึบแสง และ สะท้อนแสง ได้หลายร้อยครั้ง โดย การทำงานนั้น เมื่อมีการ บันทึกข้อมูล ลงบน CD-R หรือ CD-RW หัวบันทึก จะปล่อยแสงเลเซอร์ ไปเผา ที่ชั้นสีย้อม หรือชั้นฟิล์ม เพื่อให้เกิด ร่อง หรือพิทช์ อันจะทำให้เกิด ค่าของข้อมูล ที่แตกต่างกันไป

ทั้ง ไดรฟ์ ซีดี-รอม, ซีดี-อาร์ และซีดี-อาร์ดับบลิว หรือแม้แต่ ดีวีดี ต่างก็สามารถ อ่านแผ่นดิสก์ ดังกล่าว ข้างต้นได้ ยกเว้น ไดรฟ์ ซีดี-รอม รุ่นเก่า ที่ไม่สามารถ ใช้อ่านแผ่น ซีดี- อาร์ดับบลิว ได้ ทั้งนี้ เนื่องจาก ปริมาณ แสงสะท้อน จากร่อง หรือหลุม ที่บันทึกข้อมูล มีระดับ ต่างกัน นอกจากนั้น หัวเลเซอร์ ในไดรฟ์ รุ่นเก่า ก็ยังไม่มี ประสิทธิภาพ มากพอ ที่จะแยกแยะ ความละเอียด ของแสงสะท้อน จากแผ่น ซีดี-อาร์ดับบลิว ได้ดีพอ และหากคุณ สอดแผ่น ซีดี-อาร์ดับบลิว เข้าไปใน ไดรฟ์ซีดี-รอมรุ่นเก่า ไดรฟ์รุ่นเก่านี้ ก็จะ ปฏิเสธ ที่จะอ่าน ข้อมูลให้

เรื่องราวของ CD สื่อบันทึกข้อมูลแบบดิจิตอลที่เยี่ยมยอดตัวหนึ่ง

1. ลักษณะของแผ่น CD
แผ่น CD มีขนาด 4.75 นิ้วหรือ 120 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 1.2 มิลลิเมตร ทำจากพลาสติกใส ถูกทำให้เกิดร่องคล้ายแผ่นเสียง และถูกฉาบด้วยสารประเภทท Poly Carbonate และเคลือกทับอีกชั้นด้วยแล็คเกอร์ ส่วนที่ร่องหรือหลุมลึกลงไปจากผิวเราเรียกว่า pits (ทำหน้าที่กระจายแสง) และส่วนด้านบนเรียกว่า lands (ทำหน้าที่สะท้อนแสงกลับออไป)

2. CD-Rom Drive
คือ drive สำหรับอ่านแผ่น CD, VCD หรือ CD เพลงทั่วไป แต่สามารถอ่านได้อย่างเดียว เขียนข้อมูลทับลง CD ไม่ได้ ปัจจุบันมีราคาถูกว่า และถือว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

3. แผ่น CD-R
บางบนเรียกแผ่นประเภทนี้ว่า CD-WORM หรือ CD-WO (WO หมายถึง write onec) )แผ่น CD ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึก และใช้เครื่อง Recordable CD เป็นตัวบันทึก แต่การบันทึกนั้นจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ข้อสังเกต ให้ดูคำว่า CD-R บนแผ่น CD

4. แผ่น CD-RW (Rewriteable CD)
แผ่น CD ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ คล้ายกับ harddisk หรือแผ่นดิสก์ทั่ว ๆ ไป ราคาจะแพงกว่าแผ่น CD-R หลายเท่า ข้อสังเกตว่าแผ่นไหนเป็น CD-RW ให้ดูคำว่า CD-RW บนแผ่น CD สำหรับการบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions เทคโนโลยีของ CD-RW นั้นจะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ โดยสารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง

5. Drive CD-RW
เครื่องบันทึก CD สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบน CD ได้ (แผ่น CD ที่ใช้ สามารถใช้ได้ทั้ง CD-R และ CD-RW) ส่วน ซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในการบันทึก โดยปกติ ถ้าเราซื้อ recordable CD drive มาจะมีโปรแกรมแถมมาให้ด้วย เช่น Easy CD Creator, Nero Burning ROM เป็นต้น และท่านทราบหรือไม่ว่า เราสามารถนำแผ่น CR-R มาทำเป็นแผ่น CD Audio ได้ด้วย

6. การเชื่อมต่อของ Drive CD-RW
โดยปกติเราสามารถนำ Drive CD-R ต่อเป็นอีก drive หนึ่งของคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ disk drive ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน USB port ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการเชื่อมต่อที่ง่ายและสะดวกมาก และโดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายก็ยิ่งสะดวกมากด้วย และสำหรับการเชื่อมต่อที่เร็วที่สุดคงไม่พ้นการต่อด้วย SCSI Card (ต้องซื้อ card scsi เพิ่มและมีราคาค่อนข้างแพง)

7. Multi-sessions เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ CD
คุณเคยประสบปัญหานี้หรือไม่ แผ่น CD บางแผ่น นำไปอ่านกับ drive CD-Rom ตัวหนึ่งได้ แต่ไม่สามารถอ่านได้กับอัก drive หนึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นก็สืบเนื่องมาจาก CD-R แผ่นนั้นถูกเขียนในลักษณะ mulit-sessions คือการเขียนข้อมูลลงบนดิสก์หลายหน แต่ปัญหานี้จะแก้ไขได้โดย ก่อนซื้อ CD-Rom ให้เลือก drive ที่สนับสนุนระบบ multi-sessions ด้วย

8. ความเร็วในการบันทึก
หน่วยที่ใช้วัดความเร็วของ CD จะวัดจาก ความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 Kb / วินาที (ความเร็วของ CD-Rom drive รุ่นแรก ๆ) โดยใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร 'X' ต่อท้าย เพื่อบอกจำนวนเท่าของความเร็ว (ควรเลือกซื้อความเร็วอย่างน้อย 20X ขึ้นไป)

แหล่งอ้างอิง
http://se-ed.net/sanambin/h-cd-rw.html


แหล่งอ้างอิง : http://se-ed.net/sanambin/h-cd-rw.html

โดย : นางสาว นันทิดา คงนวล, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 1 ธันวาคม 2547