ใบความรู้

การสืบค้นในอินเตอร์เน็ต

การค้นหาข้อมูลอาจไม่ง่ายเสมอไป แต่ก็มีเครื่องมือฟรีที่สามารถนำมาค้นหาข้อมูลได้ตามต้องการ เครื่องมือเหล่านี้รู้จักกันดีในชื่อ “เว็บสืบค้นข้อมูล”หรือ”search engine” อย่างไรก็ตาม search engine เป็นเพียงเครื่องมือค้นหาชนิดหนึ่งเท่านั้น

ทางเลือกในการค้นหา

ในอินเตอร์เน็ตมีเครื่องมือค้นหาข้อมูลอยู่ 3 ประเภท คือ search engine , search directory และ search agent ข้อแตกต่างของเครื่องมือทั้ง 3 ประเภทคือ วิธีรวบรวมข้อมูลในฐานข้อมูล

Search engine

Search engine หรือเว็บสืบค้นข้อมูลจะใช้โปรแกรมตรวจสอบเว็บไซต์ และดึงเนื้อหาข้อมูลจากเว็บไซต์จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ search engine จึงเป็นฐานข้อมูลเว็บไซต์จำนวนมากและมีการอัพเดทประจำ

ในการค้นหาข้อมูลคุณเพียงแต่ระบุคำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักเรียนต้องการค้นหา จากนั้นเครื่องมือนี้จะค้นหาดัชนีและแสดงผลลัพธ์ภายในไม่กี่วินาที โดยจะแสดงชื่อเว็บไซต์ต่างๆให้นักเรียนคลิกเข้าไปดูตามความต้องการ แม้เว็ฐสืบค้นจะทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพแต่เนื่องจากดัชนีที่สร้างขึ้นไม่ได้เจาะจงไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเลย ผลลัพธ์ที่แสดงขึ้นมาจึงมีเป็นร้อยเป็นพันเว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บสืบค้น เช่น google (www.google.co.th)

Search Directory

Search directory หรือเว็บไดเรกทอรี จะใช้บุคลากรคัดเลือกเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต แล้วนำมาจัดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ และหมวดย่อยๆให้คุณค้นหาได้ตามประเภท เว็บไดเรกทอรีจะมีเว็บไซต์ไม่มากเพราะบุคคลากรไม่สามารถจัดเรียงข้อมูลได้รวดเร็วพอ แต่จะแสดงรายชื่อของเว็บไซต์ที่มีคุณภาพดีกว่าเว็บสืบค้นข้อมูล

การค้นหานักเรียนจะต้องเลือกหัวข้อและหัวข้อย่อยไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเว็บไซต์ที่ตรงตามความต้องการ แต่นักเรียนยังมีทางเลือกอื่นอีกโดยการใส่คำสำคัญ(keyword)ลงไปในช่องค้นหาของเว็บไดเรกทอรี เช่น yahoo (www.yahoo.com) , sanook(www.sanook.com)

Search agent

Search agent ส่วนใหญ่ไม่มีฐานข้อมูลของตนเองแต่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนไปค้นหา

ข้อมูลในฐานข้อมูลอื่นๆโดยสามารถค้นหาได้หลายฐานข้อมูลในคราวเดียว

เมื่อนักเรียนพิมพ์คำสำคัญ(keyword)ลงไปใน Search agent เครื่องมือนี้จะเข้าไปค้นหาข้อมูลใน search engine หลายแห่งพร้อมกัน Search agent เช่น

Surfsearcher (www. surfsearcher.net)

เงื่อนไขการค้นหา

ในการค้นหาข้อมูลนั้นยิ่งนักเรียนระบุเงื่อนไขการค้นหาได้เจาะจงเท่าใด ผลลัพธ์ที่ได้จะยิ่งเที่ยงตรงมากเท่านั้น search engine ทั่วไปจะให้คุณใส่เงื่อนไขการค้นหาในหน้าเว็บเพจหลัก แต่นักเรียนอาจเจอลิงค์ไปยัง ‘Advance search’ (การค้นหาขั้นสูง) หรือเทคนิคอื่นที่ควรศึกษาให้เข้าใจ

Advance search อาจเป็นฟอร์มให้นักเรียนใส่ข้อมูลสิ่งที่ต้องการค้นหาอย่างเจาะจง เช่น คำที่นักเรียนต้องการให้รวมเข้าไปหรือตัดออกจากการค้นหา หรือวันที่สร้างเว็บไซต์นั้น

นอกจากนั้น ยังมีสัญลักษณ์อื่นๆที่สามารถนำไปใช้ร่วมกับเงื่อนไขต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพธืที่เที่ยงตรงและแน่นอนยิ่งขึ้น ดังนี้

1. เมื่อใส่เครื่องหมาย “+” หน้าคำใด search engine จะทำการค้นหาแต่เว็บไซต์ที่มีแต่คำนี้อยู่เท่านั้น เว็บไซต์ใดที่ไม่มีคำดังกล่าว search engine ก็จะตัดออกจากผลลัพธ์ทันที

2. ถ้าใส่เครื่องหมาย “-” หน้าคำใด หมายถึง นักเรียนไม่ต้องการเว็บที่มีคำนี้อยู่ ตัวอย่างเช่น ‘King Charles – Spaniel’ เว็บสืบค้นจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับกษัตริย์ชาร์ลส์ แต่จะตัดเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ออกไป

3. ถ้าใส่เครื่องหมาย “*” ที่คำใด หมายถึง ให้ค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำขึ้นต้นด้วยคำนั้นโดยไม่สนใจว่าจะลงท้ายอย่างไรเช่น คำว่า ‘garden*’ เว็บสืบค้นก็จะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำว่า gardening , gardens และ gardeners รวมถึงคำว่า garden ด้วย

4. ถ้าใส่คำหรือวลีในเครื่องหมายอัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด (“ ”) search engine จะหาแต่เว็บไซต์ที่มีคำหรือวลีที่ตรงกับคำในเครื่องหมายนี้เท่านั้น เช่น “hanging gardens of babylon” ก็จะพบแต่เว็บที่มีคำทั้งหมดนี้ซึ่งอาจจะมีไม่มากแต่ตรงความต้องการที่สุด


โดย : นาย weerawat wongmek, comsci, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547