ปลาอาหารสุขภาพ

อองคำ."ปลาอาหารสุขภาพ".แม่และเด็ก.24,351((พฤษภาคม 2544) : 152-153.
เหตุที่ทำให้ปลาเป็นอาหารที่ผู้คนนิยมบริโภคกัน (จะเรียกได้ว่าทั่วโลกเลยก็ได้) ก็มาจากคุณค่าทางโภชนาการที่มีมากมาย เช่น เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงรองจากเนื้อสัตว์ ไข่ มีปริมาณไขมันต่ำ เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน เช่น วิตามิน เอ ดี และบี โดยเฉพาะวิตามิน บี 1 บี 2 และไนอาซีน ซึ่งวิตามินเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งการทำงานของหัวใจ ปลาส่วนมากโดยเฉพาะปลาทะเลมีธาตุไอโอดีนสูง หากเราจะแบ่งประเภทของปลาที่บริโภคกันทั่วไป ก็จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปลาน้ำจืดได้แก่ ปลาสวาย ปลายซิวหางไหม้ ปลาตะเพียนขาว เฉาฮื้อ ปลาดุกด้าน และปลาช่อน เป็นต้น และ ปลาน้ำเค็ม เชื่อกันว่าปลาน้ำเค็มมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าปลาน้ำจืดนั้นเพราะในปลาน้ำเค็มมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ในปริมาณสูงกว่าปลาน้ำจืด ซึ่งกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวนี้มีคุณประโยชน์ในการช่วยลดระดับไมันในเลือดได้ จะเห็นได้ว่าคุณค่าของปลาแต่ละชนิดมีองค์ประกอบของสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่ต่างกันไป ซึ่งคุณค่าทางอาหารนอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดของปลาแล้วยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ขนาดอายุของปลา รวมไปถึงส่วนองปลา เช่น ส่วนหัวจะมีโปรตีนสูง ส่วนหางมีไขมันและน้ำมาก บริเวณตับและไส้ของปลามีวิตามินเอและดีอยู่เป็นจำนวนมากอย่างไรก็ตามการบริโภคปลาก็มีข้อควรระวังเช่นกัน คือ 1. การบริโภคปลาควรทำให้เนื้อปลานั้นสุกเสียก่อนโดยเฉพาะการบริโภคปลาน้ำจืดเนื่องจากในปลาน้ำจืดมักมีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ 2. ผู้ที่เป็นโรคเก๊าต์ไม่ควรบริโภคปลาในปริมาณมากเนื่องจากปลามีปริมาณพิวรีนสูงพอ ๆ กับเนื้อต่าง ๆ ที่มีสีแดง



โดย : นางสาว malee pinkes, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 31 มกราคม 2545