วันลอยกระทง,วันเพ็ญ,26 พ.ย.

วันลอยกระทง


ความหมาย
ลอยกระทง หมายถึง ประเพณีบูชารอยพระพุทธบาท แสดงความ
สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำอันมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและเป็นการ
การบูชาพระแม่คงคาเทวีตามความเชื่อแต่โบราณด้วยกระทงดอกไม้ธูป
เทียน ประกอบกับสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้

loy.gif (25238 bytes)

ประวัติความเป็นมา
ประเพณีลอยกระทงเป็น
ประเพณีที่สำคัญสืบทอดกันมา
ตั้งแต่โบราณ นิยมทำกันในกลาง
เดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์
หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเพณี
ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ซึ่ง
ได้แก่การลอยกระทง เพื่อ

๑. บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๒. บูชารอบพระพุทธบาท ณ หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา
๓. บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน
๔. ขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์
๕. ขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ
๖. เป็นการลอยส่งของแก่ญาติที่อยู่ห่างไกล
๗. เป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
๘. ลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์
๙. อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนา

คุณค่าความสำคัญ
ประเพณีลอยกระทง นับเป็นประเพณีที่มีคุณค่าต่อ
ครอบครัวชุมชน สังคม และศาสนา กล่าวคือ
๑. คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำ
กิจกรรมร่วมกัน เช่น การประดิษฐ์กระทง แล้วนำไปลอยน้ำ
เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อน้ำที่ให้คุณประโยชน์แก่เรา
บางท้องถิ่นจะลอยเพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษอีกด้วย
๒. คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี
ในชุมชนเช่น ร่วมกันคิดประดิษฐ์กระทงเป็นการส่งเสริมและ
สืบทอดศิลปกรรมด้านช่างฝีมืออีกด้วย ทั้งยังเป็นการพบปะ
สังสรรค์ สนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจร่วมกัน
๓. คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยการช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำ ลำคลอง โดยการขุดลอก
เก็บขยะในแม่น้ำลำคลองให้สะอาด และไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป
ในแม่น้ำลำคลองอีกด้วย
๔. คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันรักษาทำนุบำรุงศาสนา เช่น
ทางภาคเหนือ ลอยกระทงเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทของ
พระพุทธเจ้า และยังจัดให้มีการทำบุญให้ทาน การปฏิบัติธรรม
และฟังเทศน์ด้วย

สภาพปัจจุบันและปัญหาในการลอยกระทง
กิจกรรมที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน
๑. การทำความสะอาดแม่น้ำ ลำคลอง เช่น ขุด ลอก คูคลอง
๒. การทำบุญให้ทาน
๓. การปฏิบัติธรรม การฟังเทศน์
๔. การประดิษฐ์กระทงใหญ่ กระทงเล็ก
๕. การจัดกิจกรรมการประกวดต่าง ๆ เช่น การประกวด
กระทง การประกวดนางนพมาศ ประกวดโคมลอย
๖. การจัดขบวนแห่กระทง
๗. การนำกระทงไปลอยในแม่น้ำ
๘. การปล่อยโคมลอย
๙. การจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ เพื่อเป็นการ
เฉลิมฉลอง
๑๐. การละเล่นรื่นเริง ตามท้องถิ่นนั้น ๆ

กิจกรรมที่เบี่ยงเบนไป
๑. การจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ โดยเฉพาะเด็กและ
วัยรุ่นจุดเล่นกันอย่างคึกคะนองไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ระมัดระวัง
จุดเล่นตามถนนหนทาง โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้คน
และยวดยานที่สัญจรไปมาและอาจเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้
บ้านเรือนได้
๒. การประกวดนางนพมาศ ให้ความสำคัญมากเกินไป
ถือเป็นกิจกรรมหลักของประเพณี ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่แก่นแท้
ของประเพณีเลย เป็นเพียงกิจกรรมที่เสริมขึ้นมาภายหลังเพื่อให้
เกิดความสนุกสนานและเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว
๓. การประดิษฐ์กระทง สมัยก่อนใช้วัสดุพื้นบ้านหรือ
ตามธรรมชาติ เช่น ทำจากใบตอง หยวกกล้วย ซึ่งเป็นวัสดุที่
ย่อยสลายง่าย แต่ปัจจุบันกลับนิยมใช้วัสดุโฟม ซึ่งย่อยสลายยาก
ทำให้แม่น้ำลำคลอง สกปรก เน่าเหม็น เกิดมลภาวะเป็นพิษ



แหล่งอ้างอิง : นภาภรณ์ กิติคู้ เลขที่ 13 ม.3

โดย : เด็กหญิง นภาภรณ์ กิติคู้, โรงเรียนบ้านแม่ยางเปี้ยว, วันที่ 12 พฤศจิกายน 2547