ระบบเครือข่ายในสถานศึกษา

 

ยุคปัจจุบันระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความต้องการและความจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร การแสวงหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา จึงก่อให้เกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้น แม้กระทั้งการใช้งานในหน่วยงานหย่อย ระบบเครือข่ายก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้เป็น และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

 

 


ยุคปัจจุบันระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความต้องการและความจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร การแสวงหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา จึงก่อให้เกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้น แม้กระทั้งการใช้งานในหน่วยงานหย่อย ระบบเครือข่ายก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้เป็น และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม

การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ


 

ระบบเครือข่ายในโรงเรียน คืออะไร

ระบบเครือข่าย หมายถึง การเชื่อต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่น ๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันได้ โดยแบ่งตามลักษณะการติดตั้ง ดังนี้1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : Lan) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่ เช่น ภายในอาคารเดียวกัน หรือภายในบริเวณเดียวกัน ระบบ LAN จะช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : Man) เป็นเครือข่ายขนาดกลางใช้

ภายในเมืองหรือจังหวัด ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี

3.เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : Wan)เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งใช้

งานบริเวณกว้างมีสถานีเหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือดาวเทียม

ระบบเครือข่ายท้องถิ่น ( Local Area Network หรือ LAN ) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ เช่น ภายในโรงเรียน มหาวิทยาลัย สำนักงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทักษะการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายระยะใกล้ท้องถิ่น เพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ

ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่าย ( LAN ) ในโรงเรียน

    1. การติดต่อสื่อสาร การถ่ายโอน สืบค้นข้อมูลกระทำได้โดยง่าย สะดวก
    2. ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน
    3. สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้ หากมีไม่เพียงพอกับความต้องการ
    4. เป็นสื่อในการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อ CAI หรือบทเรียนสำเร็จรูป
    5. การสืบค้นข้อมูลจากระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยผ่านระบบ LAN

ได้อะไรบ้างจากการใช้ระบบเครือข่าย (LAN ) ในโรงเรียน

องค์กรสถานศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องมีการปรับตัวเองให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ แม้กระทั้งระบบการจัดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ การสืบค้นเอกสาร หรือการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอาจเป็นการจัดอันดับคุณภาพของตนเองให้ได้มาตรฐานมาที่ สมศ.กำหนด ตามนโยบายต้นสังกัด หรือตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ซึ่งถือเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนได้เสีย

ในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านเครือข่าย โดยครูไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แสดงบทบาทเพียงคนเดียว ในหนึ่งห้องงเรียนนักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล หรือเรียนร่วมกันหลาย ๆ วิชา เพียงแต่มีเครื่องควบคุม ที่เรียกว่า Server ผ่านระบบเครือข่ายระยะใกล้ ที่เรียนกว่า LAN ประกอบไปด้วย Hub เป็นสื่อต่างได้การเข่งขัน การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจคงอยู่ได้ โดยเฉพาะในปัจจุบัน โครงสร้าง ระบบธุรกิจมีแนวโน้มของการเปิดเสรี และเปิดกว้างเพื่อแข่งขันกันได้ทั่วโลก จากวิกฤติการณ์ทางด้าน เศรษฐกิจของประเทศไทยที่ผ่านมา ทำให้บริษัทดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่ประสบปัญหา

สถานศึกษาต้องสร้างจิตสำนึกร่วมหลายๆ อย่างโดยเฉพาะผู้เรียน ครู ถึงความจำเป็นในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในสถานศึกษา ในขณะเดียวกันต้องสร้างค่านิยมและความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความตรงต่อเวลา ความประหยัดและเน้นในเรื่องประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ตัวบุคคลเป็นหลักก่อน จากนั้นเน้นการทำงานเป็นแบบเวิร์กกรุ๊ฟ เพื่อสนับสนุนงานภายในทีม หรืองานภายนอกแผนก เพื่อคุณภาพ และการทำงานร่วมกัน จากนั้น ก้าวเข้าสู่การรวมกลุ่มงานย่อยเป็นงานหรือแต่ละกลุ่มสาระ และขยายระบบเครือข่ายจากส่วนกลางสู่ห้องเรียน ห้องพิเศษต่าง ๆโดยการสร้างการทำงานร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน โดยเฉพาะการจัดการข้อมูลข่าวสาร และการจัดระบบการเรียนการสอน

ทำไมต้องจัดระบบเครือข่า ( LAN ) ในโรงเรียนบ้านประถมศึกษา

ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลหรือการติดต่อสื่อสารจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ การจัดกระบบวนการเรียนรู้ให้แก่ผุ้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย ทั่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ เรียนรู้อย่างมีความสุขโดยยึดเด็กเป็นสำคัญ ครูผู้สอนสามารถให้สื่อต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม หรือใช้บทเรียนสำเร็จรูป ทั้งยังเป็นสื่อที่เร้าความสนใจ ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร ประหยัดงบประมาณ และยังมีประสิทธิภาพสูงด้วย นักเรียนได้อะไรจากการใช้ระบบเครือข่าย ( LAN ) ในโรงเรียน

    1. นักเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่าย แม้ว่าจะไม่มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน
    2. สร้างความมั่นใจแก่ผู้เรียน และฝึกทักษะการเรียนรู้โดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
    3. มีความรอบรู้ สามารถใช้ระบบเครือข่ายเป็น
    4. ฝึกทักษะการสืบค้นข้อมูล และรู้จักการประมวลผลข้อมูล

ครูได้อะไรจากการใช้ระบบเครือข่าย ( LAN ) ในโรงเรียน

    1. สำหรับครูที่มีงานอื่น ๆ มาก สามารถให้นักเรียนเรียนรู้โดยใช้สื่อ CAI
    2. ค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ โดยผ่านระบบ LAN
    3. ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น Printer เป็นต้น
    4. ครูมีเวลาในการผลิตสื่อ เตรียมการสอน เตรียมกิจกรรมเสริม เป็นต้น

จะเห็นว่าการใช้ระบบเครือข่ายในโรงเรียนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แก้ปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียนประถมศึกษา แสดงถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สร้างแรงใจและความภาคภูมิใจแก่ ผู้เรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา และยังเป็นการแสดงถึงศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงาน การประกันคุณภาพ และได้มาตรฐานตามต้องการ เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าที่ทันสมัยทันเหตุการณ์ ตลอดจนเป็นการประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า


โดย นางสาวกรรณิการ์ ม้าอุตส่าห์

นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

 

 

 

  1. บรรณานุกรม 5 เล่ม, Web site อ้างอิง 5 Web
  2. บรรณานุกรม 5 เล่ม, Web site อ้างอิง 5 Web

    แหล่งที่มา www.thaigoodview.com บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
    แหล่งที่มา
    http://www.thai.net/rallycomputers/index.html ไทยเน็ต

    แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/utaradit/suporn/network.html

    แหล่งที่มา http://oho.ipst.ac.th/Roomnet/Room2-44/c0249/l04/l04-02.htm

    แหล่งที่มา www.udomsuksa.ac.th/Latphrao/ Knowledge/Technology/network/menunetwork.html - 4k

    แหล่งที่มา http://bc.siamu.ac.th/sriprai/chap13.9.htm

  3. คำหลักที่ใช้ในการสืบค้น
  • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • บทความทางการศึกษา
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีทางการศึกษา
  • อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

 

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวกรรณิการ์ นามสกุล ม้าอุตส่าห์

ชื่อเล่น การ์

วัน เดือน ปี เกิด 18 กรกฎาคม 2508

สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านใหม่(สมบัติทวีประชาสรรค์)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 2 อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

โทรศัพท์ 054 – 589118(ห้องธุรการ) , 054 - 589192 (ห้องคอมพิวเตอร์ )

ประสบการณ์การทำงาน 12 ปี

ที่อยู่ปัจจุบัน 63 ม.11 ตงห้วยม้า อ.เมือง จ.แพร่ 54000

โทรศัพท์ บ้าน 054 –649292 มือถือ 09 –8537144

สัตว์เลียงตัวโปรด เจ้าแป๊ปซี่ (สุนัขตัวโปรด )

คติประจำตัว ขยัน อดทน พยายาม แล้วจะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

 


ที่มา : แหล่งที่มา www.thaigoodview.com บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา

โดย : นางสาว กรรณิการ์ ม้าอุตส่าห์, ร.ร.บ้านใหม่(สมบัติทวีประชาสรรค์), วันที่ 21 สิงหาคม 2547