เยือนเมืองช่อแฮ
ประวัติความเป็นมา

         เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธ์ คู่บ้านคู่เมือง ของ จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕๑หมู่ ๑ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ ๘ กิโลเมตร

องค์พระธาตุ มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบ สูง ๓๓ เมตร

ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร เป็นศิลปแบบเชียงแสน สร้างขึ้นระหว่างจุลศักราช ๕๘๖- ๕๘๘ ( พ.ศ.๑๘๗๙ –๑๘๘๑) ในสมัยพระธรรมราชา (ลิไท) เพื่อให้คณะสงฆ ์และชาวบ้าน ได้ศึกษา และ วิปัสสนา ขุนลัวะอ้ายก้อม ได้นำพระบรมสารีริกธาตุ (พระเกศาธาตุและพระข้อศอกซ้าย) บรรจุในท้องสิงห์ทองคำและนำมาบรรจุในองค์พระเจดีย์
จากนั้นก็จัดงานสักการะ ๗ วัน ๗ คืน รององค์พระเจดีย์ประกอบด้วยผ้าแพรสีต่างๆ พระเจดีย์องค์นี้จึงได้ชื่อว่า
“ พระธาตุช่อแฮ ” (คำว่า “ ช่อแฮ ” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ แพร่ ” ) ชาวจังหวัดแพร่ได้จัดงานประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮขึ้นระหว่าง ขึ้น ๙ ค่ำ –ขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๖ เหนือ ทุกปี โดยใช้ชื่องานว่า “งานไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ” จังหวัดแพร่ กำหนดให้องค์พระธาตุช่อแฮประดิษฐ์บนหลังม้าเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดแพร่

ของดีในวัด


 

เป็นพระประธานที่สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นหลังจากสร้างองค์พระธาตุช่อแฮแล้วมีหลายร้อยปี เป็นศิลปสมัยสุโขทัย


เป็นพระพุทธรูปปางพระนาคปรกที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ประดิษฐานอยู่ในวิหารศิลปะลานนาประยุกต์ ภายในมีจิตรกรรมภาพฝาผนังอย่างสวยสดงดงามซึ่งมี พ่อแสน แม่ปั้น มนกลม, คุณฉันทิพย์ กลิ่นโสภณ และครอบครัวสร้างขึ้นในปี ๒๕๓๕ โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร ป.ธ.๙) เป็นองค์เบิกพระเนตร

พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูป ลงรักปิดทอง ปางสมาธิสร้างโดยชาวไทยใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ใครมาขอพรแล้วก็จะได้สิ่งนั้นสมประสงค์ ด้านหลังซุ้มพระเจ้าทันใจมีไม้เสี่ยงทายใช้แทนไม้เซียมซี หากต้องการสิ่งใดก็นำไม้เสี่ยงทายมาทาบกับช่วงแขนเหยียดให้สุด แล้วทำเครื่องหมายไว้และอธิฐานขอพรต่อพระเจ้าทันใจ หากสำเร็จขอให้ความยาวของตนเลยจุดที่ทำเครื่องหมายไว้

คำไหว้หลวงพ่อทันใจ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาพุทธธัสสะ ว่า ๓ จบ
นะโมนะมะ สะขัง โกธะมัง ใจจะคุ



สร้างด้วยไม้สัก หน้าตักกว้าง ๓๓ นิ้ว สูง ๘๗ นิ้ว เป็นศิลปสมัยลานนา



อยู่ทางทิศตะวันออก และทิศใต้ขององค์พระธาตุมีอายุหลายร้อยปีสันนิษฐานว่า สร้างหลังจากสร้างองค์พระธาตุช่อแฮเสร็จแล้ว



  
มีความเชื่อว่า นาคที่เฝ้าบันไดองค์พระธาตุชอบหนีไปเล่นน้ำแม่สายบ้านในเป็นประจำ ชาวบ้านจึงสร้างกุมภัณฑ์นั่งทับขดหางนาคไว้ สร้างขึ้นจากสร้างบันไดนาคเสร็จแล้ว



มีความสวยงามวิจิตรบรรจง ลวดลายไทยผสมศิลปะทางเหนือ ซึ่งมีนางแก้ว ทองถิ่น สร้างอุทิศให้ นายคลอง ทองถิ่น เมื่อวันที่ ๓ เม.ย. ๒๔๘๒


          
  
บรรจุอัฏฐิธาตุ ๑ ส่วน จาก ๙ ส่วน นักบุญยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระคุณของท่านที่ได้ทนุบำรุงพระพุทธศาสนา



เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดแพร่เคารพนับถือ ก่อนจะขึ้นไหว้องค์พระธาตุช่อแฮ ชาวบ้านมักจะแวะมาไหว้พระเจ้าพระนอนก่อนเสมอ พ่อจอง ปันจิต๊ะแค แม่ออน ปรางสุวรรณเป็นผู้สร้าง เมื่อขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ พ.ศ. ๒๔๗๕



 
ได้จารึกเรื่องราวการสร้างบันไดนาคด้านทิศตะวันตกว่า นายจองทูล, นางแก้ว มาลูน สร้างขึ้นในเดือน ๑๐ เหนือ ขึ้น ๑๒ ค่ำ วันเสาร์ พ.ศ.๒๔๖๒




 


พระธาตุช่อแฮเป็นพระธาตุ ๑ ใน ๑๒ ราศี คือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรบท่านที่เกิดปีเสือ (ปีขาล) หากนำผ้าแพรสามสีไปถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้ การสวดและไหว้เริ่มต้นนะโม ๓ จบ แล้วสวดตามด้วยคาถาบูชาพระธาตุ ๕ จบ พลังบารมีจะดลบันดาลให้ชีวิตที่ดีขึ้น



 


 



  


 


           
  



 


 
 




 


 

 

 

ซอพระลอเดินดง

          สืบเนื่องจากจังหวัดแพร่ เป็นถิ่นสถาน ตำนานพระลอ เพื่อระลึกถึงตำนานพระลออันมีค่า และเพื่ออนุรักษ์ศิลปะวัฒนะธรรมบ้านเรา Webmaster จึงขอเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดเราเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก คือเรื่อง "ซอพระลอเดินดง"

          "ซอพระลอเดินดง" เป็นบทขับที่ท้าวสุนทรพจนกิจในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี แต่งขึ้น เป็นบทชมป่าที่ไม่ยาวนัก เนื้อความเป็นเรื่องราวในวรรณดี เรื่องพระลอ ตอนที่นางรื่นนางโรย พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง เข้าป่าไปหาปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อขอให้ช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอหลง ใหลในพระเพื่อนพระแพงและเสด็จสู่เมืองสรอง บทขับนี้ใช้ทำนองซอล่องน่าน เช่นเดียวกับ บทละครเรื่องน้อยไชยา ในตอนหลังมีผู้เรียกว่า ซอพระลอ หรือ ซอล่องน่าน ทำนองซอนี้ "อ้ายปั๋น ครูเพลง" ได้บรรเลงด้วย "ซึง" เครื่องดนตรีล้านนาให้ผู้ที่สนใจได้ฟังเพลงประกอบไปด้วย และอีกไม่นานจะนำช่างซอมาร้องให้ คลิ๊ก ฟัง กันในโอกาสต่อไป


          Webmaster ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่า คือหนังสือเรื่อง "วรรณกรรมล้านนา" โดยศาตราจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และขอขอบคุณ อาจารย์สนั่น ธรรมธิ นักวิชาการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้มอบหนังสือเล่มนี้ให้กับผู้จัดทำ เพื่อใช้เป็นประโยชน์กับล้านนาคดี

บทขับตามต้นฉบับมีดังนี้

  สองพี่เลี้ยง แม่งามสวย นางรื่นนางโรย สองคู่ส้าง
ลงจากช้าง ท่องเดินเทียว หมอแก่คร้าว นำสองเฉลียว
สองเดินเทียว เข้าดงป่าไม้ เหลียวผ่อเหนือ วันตกออกใต้
ค็หันเปนโท่ง เปนนา ผ่อพูเขา เปนเงาเมฆฝ้า
ปลอมมัวเมฆ สว่างนา ฯ  
   
แลละลิ้ว ไพสุดเช่นตา ผ่าดอยดง เข้าพงป่าไม้
สักเคียนสูง ยางยูงไม้ไหล้ เพาดูแงะคะยอมยม
เถาวัลย์พัน กิ่งก้านเกลียวกลม พระพายลม พัดดวงดอกไม้
มาหอมหวน ชื่อชวนใจใบ้ ยามเพื่อท่อง เดินทาง
หอมบุปผา แบ่งนานส้อยส้าง สองนางชื่น ช้อยนา ฯ
   
ชมดอกเอื้องไม้ มีต่างสี หลายหลากมี ที่จำชื่อได้
พวงคะยอม กลิ่นหอมอยู่ใกล้ ชื่นบานใจ แท้นา ฯ
   
หมู่ดอกยก จ่อหยกดีหลี โมดดะชะนี ทังเอื้องเขาแพะ
ดอกเอื้องคำ กลิ่นหอมเอื้องแซะ สุดปลายส้าว มณฑา
ผ่อเถิ้มดอยพู้น ติดที่หน้าผา หนวดนาคา เปนเครือม้วนห้อย
สายมอรกต อย่อนลงเปนส้อย สามพอยดง ช้างน้าว ฯ
   
สองแน่งน้อย รูปร่างฉวี ต่างจอรลี เข้าไพรป่ากว้าง
หอมบุปผา นานาสล้าง เล็บมือนาง อ่อนช้อย ฯ
   
พวงกุหลาบ จำปีจำปา ทังสะบันงา บานเหลืองเอื้องผิ้ง
ดอกเอื้องเงิน ติดกิ่งไม้เนิ้ง พัดไหว ไพมา
ตามลมพัดพริ้ว ปลิวต้องนาสา ฝูงภุมรา แว่ชมใจ้ ๆ
จับต้นเหนือ โผไพต้นใต้ ไอยรงค์ ชอกช้ำ ฯ
   
อันเอื้องดอกไม้ มีอยู่มากหลาย เหลือจักบรรยาย ในดงทุกเชื้อ
ธัมมชาติ เหมือนมีใจเอื้อ ช่างแต่งสัรค์ งามดี
จักว่าไพนัก ค็จักขัดขวาง บ่ใช่อำพราง ปัญญาข้าน้อย
ขอท่านทังหลาย อภัยแก่ข้อย ขอปลงไว้ ก่อนแล ฯ
   
เข้าป่าไม้ ไพบ่เหิง เถิงเนินเขา แลสล้าง
แลลิงค่าง บ่างนางนี ได้ยินเสียงผี ร้องครางคะต้อย
ผีโพรงดง เสียงโขงบ่น้อย ผีอี่ค้อย ส่งเสียงคราง
เสือโคร่งพรุ้ย ค็ถ่อมทวยหลัง แรดควายกวาง กระทิงละโว้ ฯ
   
เสียงช้างโขลง มาร้องโอ่มโอ้ หักไม้อยู่ ริมทาง
สองพี่นาง ร้องบ่เปนไห้ กลัวตายในป่าไม้ใหย่ ฯ
   
ไพเถิงน้ำแม่ สระหนอง สองฝั่งคลอง มีจระเข้
ตัวยาวแล้ อยู่กลางฝั่งน้ำ เลือกเอาคน วิ่งโยนปลุกปล้ำ
ลอยกลางน้ำ ตาเหลือกโมง ๆ ผีอี่กุด ร้องอยู่โหว้ง ๆ
เตมป่าดง อีค้อยกะละเนอ ฯ  
   
เดินตางเล่น ขึ้นพูเขา บ่นานเนา เถิงพระปู่เจ้า
พระปู่เจ้า กลายเปนเสือโผ ตัวใหย่โต ตัวลายพรุ้ยพร้าย
กลายเปนพระปูเจ้า ย่างย้าย ค็ซ้ำเกิด เปนแมว
เสียงร้องขาน ดังอยู่แก้วแก้ว เปนแมวโพรงด่าง พร้อยเนิอ ฯ
   
แมวด่างพร้อย ก็กลับหาย กลายเปนองค์ พระปู่ไธ้
หนอจิ่งสา บังคมกราบไหว้ ว่าเปนพี่เลี้ยง พระเพื่อนแพงมา
เรามีทุกข์ โสกเส้าหนักหนา จิ่งมาหาปู่ ค้ำจิ่ม ฯ

หมายเหตุ : ภาษาที่ใช้ในบทร้องนี้ เป็นภาษาล้านนา ในรูปแบบที่ปริวรรตแล้ว ดังนั้นการอ่านก็ให้อ่านตามสำเนียงภาษาล้านนา



แหล่งอ้างอิง : www.phreathailand.com

โดย : เด็กหญิง รติพันธ์ พุทธรักษา, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 7 มีนาคม 2547