ห้องสมุดสำหรับนักศึกษาหูหนวก
        การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการของห้องสมุด  ความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในงานบริการห้องสมุดในด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์  อาคาร  สถานที่  ด้านการสื่อสาร  โปรแกรมคอมพิวเตอร์  และบุคลากรของคนหูหนวกและคนหูตึง  และศึกษาเปรียบเทียบสภาพของบริการที่ได้รับและความต้องการของคหูหนวกและคนหุตึงในงานบริการห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา  ใน  5  ด้าน  ได้แก่  ด้านผู้ให้บริการห้องสมุด  เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก  อาคารสถานที่  ทรัพยากรสารสนเทศ  และการให้บริการ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

        การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศชาติ  เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำให้ประชาชนมีความรู้  ความสามารถในการดำรงชีวิต  นอกจากการศึกษาของคนทั่วไปึ่งมีอวัยวะครบ  32  ประการ  และสติปัญญาครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว  ยังมีกลุ่มคนพิการอีกหลายคนที่ต้องการได้รับการศึกษาเช่นเดียวกัน  คนพิการเหล่านี้จึงต้องการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลให้เขาเหล่านั้นได้รับสิทธิ  ดังนั้นจึงได้ออกมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  มาตรา  10  ความว่า  การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  การสื่อสารและการเรียนรู้  หรือมีร่างกายพิการ  ต้องจัดให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ  ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ  ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง  (สำนักนายกรัฐมนตรี,2542)

        การรับคนพิการเข้าศึีักษาในระดับอุดมศึกษานั้น  เมื่อได้รับการศึกษาแล้วคนพิการส่วนใหญ่มักประสบปัญหาการเรียนร่วมกับคนปกติ  เช่น  ขาดอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ  นักศึกษาที่พิการแขน  ขา  ลำตัว  ก็ไม่สามารถเข้าใช้ห้องเรียน  ห้องสมุกหนึ่งซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีความรับผิดชอบในการส่งเสริมการศึกษา  ห้องสมุดจึงควรเอื้อต่อการมาใช้บริการต่อคนพิการ  สำหรับผู้พิการทางหู  ความต้องการในทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อมาใช้ในงานบริการ  ตลอดจนประเภทของการให้บริการของห้องสมุดก็ควรมีความแตกต่างกับความต้องการของผู้พิการด้านอื่น  ๆ คนหูหนวกและคนหูตึงมีความต้องการใช้ห้องสมุดและบริการจากผู้ให้บริการที่แตกต่างจากคนปกติและคนพิการประเภทอื่น  ๆ  ความต้องการในเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนหูหนวก  หูตึงเพื่อเกิดความรู้  ความเข้าใจ  ทัศนคติที่ดี  และทักษะการให้บริการต่อคนหูหนวกและคนหูตึง  สามารถจัดหาทรัพยากรสารสนเทศและงานบริการประเภทต่าง ๆ  ได้ตรงความต้องการสำหรับคนหูหนวกและคนหูตึง

ข้อเสนอแนะสำหรับห้องสมุดที่มีคนหูหนวกและคนหูตึงศึกษาอยู่

1.  สถาบันที่มีคนหูหนวกและคนหูตึงศึกษาอยู่ควรมีหน่วยงานเฉพาะหรือห้องสมุดที่จัดให้มีบริการสำหรับคนหูหนวกและคนหูตึงในด้านบุคลากรผู้ให้บริการ  ทรัพยากรสารสนเทศ

2.  ห้องสมุดที่ไม่มีทรัพยากรสารสนเทศเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนหูหนวกและคนหูตึงจึงควรมีการจัดหาให้เพียงพอ


ที่มา : ดารารัตน์ ก่ำเสริฐ บริการห้องสมุดสำหรับนักศึกษาหูหนวกและหูตึง : กรณีศึกษาวิทยาลัยราชสุดา Library Service for the Deaf and Hard Hearing Students : A Case Study of Ratchasuda College ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2547

โดย : นางสาว ปานทิพย์ กระต่ายทอง, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547