ปลา(ตอนที่ 2)

การเลี้ยงปลาดุก

เป็นปลาที่มีตาเล็กผิดส่วนกับขนาดของตัว แต่มีหนวดซึ่งรับความรู้สึกได้ไว ฉะนั้น ปลาดุกจึงใช้หนวดมากกว่าตา เมื่อหาอาหารตาพื้นหน้าดินตามปกติ ปลาดุกมีนิสัยว่องไว ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงอาจจะใช้อาหารจำพวกพืชและสามารถหัดให้ปลาดุกขึ้นมา
กินอาหารบนผิวน้ำได้ การเปรียบเทียบลักษณะกระดูกท้ายทอยปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ลักษณะของปลาดุก ปลาดุก เป็นปลาที่อยู่ในสกุล Clarias ลักษณะโดยทั่วไปนั้นเป็นปลาที่ไม่เกล็ด ตัวยาวเรียว ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง มีหนวด 4 คู่ และมีอวัยวะช่วยในการหายใจ ซึ่งช่วยให้ปลาดุกอดทนสามารอยู่พื้นน้ำได้นาน ความแตกต่างของปลาดุกด้านและปลาดุกอุยนั้นอยู่ที่กระดูกท้ายทอย ปลาดุกด้านมีกระดูกท้ายทอยแหลมกว่าของปลาดุกอุย ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญ นอกนั้นมีลักษณะอื่น ๆ อีก เช่น สีที่ลำตัว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญ ลักษณะเพศของปลาดุก การแยกเพศนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะก่อนที่จะนำปลาไปทำการเพาะพันธุ์ ต้องทราบเพศของปลาดุกเสียก่อนว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ลักษณะของเพศที่เห็นได้ง่ายหรือเด่นชัดคือ ตัวผู้บริเวณใกล้ช่วงทวารมีอวัยวะแสดงเพศลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา ถ้าเป็นตัวเมียอวัยวะแสดงเพศสั้นกว่าและค่อนข้างกลม ปลาดุกที่จะทราบเพศได้ดีนั้น ต้องเป็นปลาที่มีขนาดยาวกว่า 15 เซนติเมตรขึ้นไป นอกจากนี้ฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาตัวเมียจะอูมเป่งกว่าปกติ ซึ่งเป็นลักษณะที่สังเกตเห็นได้ชัดว่า ฝักไข่เจริญเต็มที่ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องของตัวเมียจะมีไข่ไหลออกมา ฤดูปลาดุกวางไข่ จากการศึกษาและสังเกต การวางไข่ของปลาดุกตามธรรมชาติ ปลาดุกจะเริ่มวางไข่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน ระยะที่ปลาดุกวางไข่มากนั้นคือ ในระหว่างเดือนที่มีฝนตกชุกและในระยะนี้จะพบปลาดุกตามท้องนาและคูเสมอ ฉะนั้นการที่จะเพาะพันธุ์ปลาดุก จึงควรจะทำการเพาะในระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น

การเพาะปลาดุก

ก. การเตรียมสถานที่เพาะปลาดุก โดยที่ปลาดุกสามารถวางไข่ได้ในท้องนาและคู หรือในทำเลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ฉะนั้น การเตรียมสถานที่สำหรับเพาะปลาดุก ก็ควรอนุโลมตามสภาพธรรมชาติที่ปลาดุกวางไข่เท่าที่จะทำการทดลองได้ผลมา
แล้วนั้น ใช้บ่อกว้างประมาณ 5 เมตร ยาว 10 เมตร ลึก 75 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลได้สะดวก ควรตั้งอยู่ในที่เงียบสงัดห่างไกลจากการรบกวน นอกจากการใช้บ่อดังกล่าวแล้ว อาจใช้คูซึ่งมีสภาพคล้ายคลึงกันเป็นที่เพาะปลาดุกได้ผลดีเหมือนกัน ข. การเตรียมที่วางไข่ เนื่องจากตามธรรมชาติปลาดุกเป็นปลาที่วางไข่ตามชายน้ำ ก่อนที่จะวางไข่นั้นพ่อปลาจะกัดดินโพรงเพื่อวางไข่ ฉะนั้น ในการเพาะปลาดุกจึงควรขุดโพรงที่ริมบ่อ หรือให้ต่ำกว่าระดับน้ำประมาณ 20 เซนติเมตร ให้ปากโพรงกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 35 เซนติเมตร ที่ก้นโพรงควรเป็นแอ่งกว้างกาปากโพรงเล็กน้อย วิธีนี้ดัดแปลงมาจากการใช้หม้อนมแขก โอ่งปากกว้าง หม้อหรือหวดนึ่งข้าวเหนียว ซึ่งใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาจำพวกเดียวกันได้ผลมาแล้วในต่างประเทศ แต่วิธีการขุดโพรงดังกล่าวแล้วข้างต้น เป็นวิธีที่ทุ่นรายจ่ายและได้ผลดีมากเหมาะสมที่จะใช้ในประเทศเรา การเตรียมโพรงเพื่อให้ปลาวางไข่ ควรให้โพรงอยู่ห่างกันพอสมควร ค. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ควรจะเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีขนาดสมบูรณ์ เป็นปลาที่เติมโตเร็วไม่มีโรคพยาธิ มีไข่และน้ำเชื้อแก่เต็มที่ นอกจากนี้ยังควรเป็นปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน โดยปกติควรใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีขนาดตั้งแต่ 20 เซนติเมตรขึ้นไป ง. อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่ลาลงเพาะ ถ้าผู้เลี้ยงปลามีบ่อหรือคูจำนวนจำกัด ภายหลังที่ใช้บ่อหรือคูในการเพาะปลาแล้ว จะใช้บ่อนี้เลี้ยงลูกปลาไปจนโตก็ได้ อัตราส่วนที่เหมาะสำหรับผู้ที่จะเพาะปลาดุก โดยวิธีนี้ควรใช้พ่อแม่พันธุ์ขนาดใหญ่ประมาณ 10 คู่ ต่อเนื้อที่บ่อ 200 ตารางเมตร ถ้าหากผู้เลี้ยงมีบ่อหลายบ่อ ภายหลังที่เพาะปลาดุกในบ่อด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว ก็อาจะช้อนปลาดุกขนาด 2-3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ลูกปลาดุกยังไม่แตกฝูง นำไปเลี้ยงในบ่อปลาที่เตรียมไว้สำหรับเลี้ยงลูกปลาอีกต่างหากก็ได้ แล้วใช้บ่อเดิมนั้นเป็นบ่อสำหรับเพาะลูกปลารุ่นอื่นต่อไป ทั้งนี้จะเพาได้อีกประมาณ 2 รุ่น โดยปล่อยพ่อแม่ปลาชุดใหม่ลงไปครั้งละประมาณ 10 คู่ ถ้าหากบ่อดังกล่าวสามารถถ่ายเทน้ำได้สะดวก ภายหลังที่เพาะปลาดุกรุ่นแรกแล้วควรระบายน้ำออก โดยจับพ่อแม่ปลารุ่นแรกออก กำจัดศัตรูและตบแต่งหลุมวางไข่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย จากนั้นจึงไขน้ำใหม่เข้าเพื่อเพาะลูกปลารุ่นต่อไป

จ. การวางไข่ปลาและการผสมพันธุ์ การวางไข่และการวางผสมพันธุ์ของพ่อและแม่ปลาที่ปล่อยนั้น จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอ่อนแก่ของไข่และน้ำเชื้อ รวมทั้งสภาพของสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้ามีฝนตกชุก อุณหภูมิของน้ำพอเหมาะพอดี ปลาดุกก็จะวางไข่และผสมพันธุ์เร็วขึ้นคือ หลังจากที่ได้ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 3-7 วัน ในฤดูวางไข่ฤดูหนึ่ง ๆ ปลาดุกสามารถวางไข่ได้ประมาณ 2 ครั้ง และปลาดุกคู่หนึ่งสามารถให้กำเนิดลูกปลาได้ประมาณ 2,000 ถึง 5,000 ตัว ในขณะที่ปลาผสมพันธุ์กันนั้น เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ตัวผู้และตัวเมียจะว่ายเข้าออกในบริเวณโพรงการวางไข่ ตัวเมียจะวางไข่ติดดินหรือติดกับรากหญ้าบริเวณก้นหลุม ไข่ปลาดุกมีลักษณะสีเหลือองอ่อนขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ภายหลังการวางไข่และผสมพันธุ์แล้ว ปลาตัวผู้จะเฝ้าดูแลรักษาไข่ซึ่งอยู่ในโพรงจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัวและจนถุงไข่แดง ซึ่งอยู่ที่บริเวณท้องของลูกปลายุบทั้งนี้จะกินเวลาประมาณ 5-7 วัน ในระหว่างนี้ลูกปลาจะผุดขึ้นผุดลงเพื่อหายใจบนผิวน้ำบริเวณโพรง การอนุบาลลูกปลาดุก การอนุบาลลูกปลาดุกนั้น ทำได้หลายวิธีตามความจำเป็นของผู้เลี้ยง โดยอาจแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ ก. การอนุบาลในบ่อดิน ปรากฏว่าลูกปลาดุกเจริญเติบโตดีกว่าการอนุบาลในบ่ออื่น ทั้งนี้เนื่องจากในบ่อดินมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ ช่วยให้ลูกปลาเจริญเติบโตเร็ว บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ - บ่อดินขนาดเล็ก เหมาะสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงลูกปลาไว้ชั่วระยะหนึ่ง เพื่อจำหน่าย บ่อขนาดนี้นอกจากจะเป็นบ่อพักลูกปลาแล้วยังสะดวกในการดูแลรักษา ตลอดจนการคัดขนาดและการจับเพื่อจำหน่าย การคัดขนาดมีความจำเป็นสำหรับการเลี้ยงปลาโดยเฉพาะปลาดุกเป็นอย่างมาก เพราะปลาจะกินกันเอง ปลาที่มีขนาดโตกว่าจะกินปลาขนาดที่เล็กกว่า บ่อดินขนาดเล็กที่ใช้ทั่วไปควรมีขนาด 2-3 ตารางเมตร น้ำลึกประมาณ 60 เซนติเมตร และควรปล่อยลูกปลาขนาดเล็กลงเลี้ยงประมาณ 10,000-30,000 ตัว - บ่อดินขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ที่จะเลี้ยงลูกปลาดุกให้เติบโตเป็นขนาด 3-5 นิ้ว ไว้จำหน่าย บ่อดังกล่าวนี้เมื่อปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่กับลูกปลามากนัก เพราะการปล่อยปลาลงในบ่อขนาดใหญ่ดังกล่าว อัตราส่วนที่ปล่อยน้อยกว่าปล่อยเลี้ยงในบ่อขนาดเล็กคือ ประมาณตารางเมตรละ 1,000 ตัว ลูกปลาดุกที่อนุบาลในบ่อขนาดใหญ่นี้จะมีความเจริญเติบโตรวดเร็ว เพราะอาหารในบ่อมีอาหารธรรมชาติเพียงพอ

คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

ที่มา : http://www.pramong2000.com/thaipage.html

โดย : นาย อภิชาต สุขเศรษฐ์, โรงเรียนราชสีมายาลัย, วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547