ห้องสมุดที่มีชีวิต

       ห้องสมุดที่มีชีวิต( Living Library) คือเป็นการประสมประสานแบบบูรณาการทั้งในส่านการทำเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library หรือ Digital Library) การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยและการสืบค้นโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT)ฯลฯ เข้าด้วยกัน  เพื่อทำให้คนที่เข้ามาใช้ห้องสมุดได้รับประโยนช์สาระที่มาศึกษาค้นคว้า

       การดำเนินการเพื่อปรับเปลื่ยนไปสู่ห้องสมุดที่มีชีวิตอาจทำได้ดังนี้

       1.จักต้องรู้สถานภาพตัวเอง  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีหลายแบบ มีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง มีงบประมาณ มีทรัพยากรสารสนเทศ และมีบุคลากรมากน้อยแตกต่างกัน สิ่งที่ต้องเพิ่มเติม คือ การให้ความสำคัญ

กับห้องเด็กและเยาวชนมากขึ้น มีหนังสือและวารสารหลากหลาย มีเครื่องเล่นและอุปกรณ์เสริมสติปัญญา มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตอย่างเพียงพอ มีบรรณารักษ์ดูแลโดยเฉพาะ

       2.คนที่มาใช้บริการเป็นใคร  เขาพอใจแล้วหรือยัง ทำอย่างไรให้เขาพอใจเพิ่มมากขึ้น ผู้ใช้บริการหลักของห้องสมุด ได้แก่ นิสิตและอาจารย์ ซึ่งส่วนนี้ห้องสมุดจะต้องให้บริการอย่างเต็มที่อยู่แล้วและจะต้องทำให้เขามีความพอใจเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

       3.ชักจูงให้คนเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น  อันได้แก่บุคลภายนอก คือ เด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป ลองสำรวจดูว่า  ทำไมเขาถึงไม่เข้ามาใช้ห้องสมุดของเรา อาจจะปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบ้งคับบางส่วนที่ไม่เอื้อต่อบุคลภายนอกและจะต้องมีการโฆษณาชักจูงเพื่อให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้นในการนี้ มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อบริการแก่โรงเรียนและชุมชนเพื่อการประชาสัมพันธ์

       4.พยายามให้คนอยู่ในห้องสมุดนานเท่าที่จะนานได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเสริมความสุข คือมีวารสารและหนังสือหลากหลาย  สิ่งพิมพ์ทุกชนิดล้วนมีคุณค่าในตัวเองทั้งสิ้น อันสังเกตุได้จากแผงหนังสือริมถนนที่ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก ห้องสมุดหน้าจะจัดให้มีสภาพอย่างเดียวกันมีบริการอาหารเครื่องดื่ม มีกิจกรรมความบันเทิงสำหรับพักผ่อนหย่อมใจไปในตัว

       กระบวนการทั้งสี่ขั้นตอนสามารถนำไปใช้กับห้องสมุดไหนก็ได้ ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก แต่หากบรรณารักษ์และบุคลากรของห้องสมุดขาดจิตบริการแล้วห้องสมุดไหนก็เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตไม่ได้


ที่มา : สัมพันธ์ พลันสังเกตุ.\\\"ห้องสมุดที่มีชีวิต\\\"วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ.2 ,1( มกราคม-มิถุนายน 2546):16-19

โดย : นางสาว พาขวัญ แซ่ล้อ, ราขภัฎวไลอลงกรณ์, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547