IT กับการนำมาใช้ในงานห้องสมุด

      ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย  จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (Information Technology) ซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะเจ้าตัวเทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี  รวมถึง "ห้องสมุด" เองก็ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาระบบงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

          ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" ก่อนว่ามีที่มาอย่างไร คำนี้เกิดจากคำว่า เทคโนโลยี + สารสนเทศ

          เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกียวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 : 406)

         

        สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ทุกสาขา ซึ่งได้มีการจัดรวบรวมแล้วบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุทั้งในรูปสิ่งตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลและสังคม (สารสนเทศกับการศึกษาค้นคว้า 2546 : 4)

         เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาจัดการในกระบวนการดำเนินงานสารนิเทศหรือสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ ตังแต่การเสาะแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บและการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ นำมาใช้ประโยชน์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

          โดยภาพรวมแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น สามารถนำมาใช้ในงานห้องสมุดด้านต่างๆ โดยแยกได้ดงนี้

งานบริหารของห้องสมุด ประกอบด้วย

          1. งานบัญชีและงบประมาณ  การประยุกต์คอมพิวเตอรใงานด้านี้ เป็นงานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยใช้ระบบประมวลผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์  คำนวนและรายงานผลข้อมูล ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเป็นระบบ

          2. การจัดพิมพ์เอกสาร เรื่องเอกสารต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน จดหมายโต้ตอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ช่วยทำให้งานพิมพ์มีความรวดเร็ว และสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ได้สะดวกต่อการเรียกใช้งาน นอกจากนี้ห้องสมุดบางแห่งอาจใช้ในการพิมพ์ตำราหรือผลิตหนังสือขึ้นใช้เอง

          3. งานเก็บเอกสาร ก็มีการจัดเก็บในรูปแบบคอมพิวเตอร์ โดยบันทึกในแผ่นดิสเกตส์ การใช้งานจะสะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสารภายในสำนักงานอีกด้วย

          4. งานประชาสัมพันธ์ เมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ ห้องสมุดอาจจัดทำโฮมเพจ แนะนำห้องสมุด รวมถึงงานบริการต่างๆของห้องสมุด ซึ่งสามารถค้นทางอินเตอร์เน็ตได้ ก็จะทำให้มีผู้ใช้มากขึ้น เป็นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดอีกวิธีหนึ่ง

งานเทคนิคของห้องสมุด  ประกอบด้วย

          1. การจัดหาและจัดซื้อวัสดุสารนิเทศ โดยบรรณารักษ์สามารถจัดหาหนังสือและวารสารต่างๆ ได้จากการออนไลน์จากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะมีรายการหนังสือหรือรูปแบบบรรณานุกรม มีลักษณะปกหนังสือให้เลือกชมและอาจจะมีบรรณนิทัศน์ให้ตัดสินใจเลือกซื้อด้วย ทั้งนี้เพียงแต่บรรณารักษ์นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถเลือกซื้อได้ ซึ่งการขายหนังสือในลักษณะนี้จะเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการซื้อขายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นเอง ตัวอย่าง www. ร้านขายหนังสือออนไลน์

             www.asiabooks.co.th

              www.amazon.com

              www.chulabook.com

          2. งานบัตรรายการ ห้องสมุดสมัยก่อนจะต้องพิมพ์บัตรรายการใส่ตู้ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้น แต่ปัจจุบันบัตรรายการจะอยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถสืบค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ โดยเรียกโปรแกรมค้นหาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ว่า โอแพค (OPAC=Online Public Access Catalog) แต่ก่อนที่จะค้นข้อมูลได้นั้นบรรณารักษ์จะต้องกรอกข้อมูลหนังสือลงในตัวโปรแกรมตามรูปแบบ USMARC (รูปแบบการลงรายการที่เป็นมาตรฐาน) เมื่อมีข้อมูลหนังสือแล้ว ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยเลือกการสืบค้นได้หลายช่องทาง คือ ค้นชื่อผู้แต่,ชื่อหนังสือ,หัวเรื่อง,คำสำคัญ,ISBN เป็นต้น ซึ่งทำให้การค้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อดีของการลงรายการในระบบคอมพิวเตอร์คือ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน และสามารถสืบค้นออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตได้

งานบริการของห้องสมุด ประกอบด้วย

          1. งานบริการยืม-คืน มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ เช่น บาร์โค๊ด ในงานบริการยืม-คืนหนังสือ การทำบัตรสมาชิก การต่ออายุ สามาชิก การทวงหนังสือ การปรับ การจองหนังสือ เป็นต้น ตัวโปรแกรมอัตโนมัติช่วยลดขั้นตอนในการในการทำงาน การเลือกใช้โปรแกรมห้องสมุดนั้นจะแตกต่างกันอยู่กับความเหมาะสมองขนาดห้องสมุด ผู้ใช้ และงบประมาณ เช่น โปรแกรม  INNOPAC,HORIZON,VTLS,  STAR,DYNIX เป็นต้น

          2. บริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โปรแกรมอัตโนมัติที่แต่ละห้องสมุดเลือกใช้ จะมีโมดูลที่จัดการเรื่องงานวารสารทั้งในเรื่องของการลงทะเบียน การทำกฤตภาค การทำดรรชนีวารสาร รวมถึงการค้นรายชื่อวารสารจากหน้าจอ OPAC การทำกฤตภาคนั้นจะเสนอเนื้อหาทั้งหมอหรือเนื้อหาสรุปย่อ โดยผู้ใช้สามารถเปิดอ่านได้จากหน้าจอ

 

        


ที่มา : มานัส เส็งขยัน.\"เทคโนโลยีสารสนเทศกับการนำมาใช้ในงานห้องสมุด\".วารสารข่าวสารห้องสมุดประชาชนกรุงเทพมหานคร.19,24(สิงหาคม 2546):36-38

โดย : นางสาว เบญจวรรณ เสียงเจริญ, สถาบันราชภัฎวไลยอลงกรณ์, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547