ห้องสมุดสถานบันอุดมศึกษา
1. คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
    การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา  หมายถึง  การมีระบบและกลไกลในการควบคุม  ตรวจสอบ  และประเมินการดำเนินงานในแค่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด  เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้มั่นใจว่าสถาบันนั้นๆ  สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

    การประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา  หมายถึงการประเมินผลผละการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสภานศึกษาเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

    สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา  หมายถึง  สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไปทั้งของรัฐและเอกชน  ซึ่งอาจเรียกว่า  สำนักหอสมุดหรือชื่ออื่นใด

    ดัชนีบ่งชี้  หมายถึง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในห้องสมุดของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่ง
    เกณฑ์  หมายถึง  ข้อกำหนดที่ใช้วัดคุณภาพ  เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงผลที่ได้จากการประเมินว่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษานั้น  มีคุณภาพอยู่ในระดับใด


2. หลักเกณฑ์ในการกำหนดองค์ประกอบและดัชนี
    ทบวงมหาวิทยาลัย  ได้กำหนดองค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ  และองค์ประกอบย่อย 28 องค์ประกอบ  เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดดัชนีตรวจสอบคุณภาพและดัชนีประเมินคุณภาพระกับอุดมศึกษา  องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ  ได้แก่ (1) ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์และแผนดำเนินงาน  (2)  การเรียนการสอน  (3)  กิจกรรมการพัฒนานิสิต  นักศึกษา  (4)  การวิจัย  (5)  การบริการวิชาการแก่สังคม  (6)การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  (7)  การบริหารและการจัดการ  (8)  การเงินและงบประมาณ  (9)  ระบบกลไกการประกันคุณภาพ
 นอกจากนี้ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่อง “มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  พ.ศ. 2544”  ได้กำหนดมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไว้ 8 มาตรฐาน  (ตอน)  ได้แก่  (1)  โครงการและการบริหาร  (2)  งบประมาณและการเงิน  (3)  บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  (4)  ทรัพยากรสารสนเทศ  (5)  อาคาร  สถานที่  และครุภัณฑ์  (6)  การบริการ  (7)  ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  (8)  การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  กังนั้นสำนักหอสมุดทุกสถาบันจำเป็นต้องใช้มาตรฐานนี้เป็นกรอบในการกำหนดดัชนีการประเมินคุณภาพให้ครบทั้ง 8 มาตาฐาน
 ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่อง  “เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา  พ.ศ. 2542”  ข้อ  15  เกี่ยวกับการประกันคุณภาพหลักสูตรระบุไว้ว่า  ให้กำหนดระบบประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ทุกหลักสูตร  ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย  ระบบการจัดการเรยนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาสามารถศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  (ซึ่งเกี่ยวข้องกับหอสมุดโดยตรง)  ระบบสอบวิทยานิพนธ์  ระบบการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยและให้มีระบบประเมินเพื่อการัฒนาหลักสูตรทุก 5 ปี
 เมื่อสันที่ 8 ธันวาคม  พ.ศ. 2544  สมศ.  ได้กำหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.  ไว้ 8 มาตรฐาน  รวม 27 ตัวบ่งชี้  ในมาตรฐานด้านสนับสนุนการเรียนรู้ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับหอสมุด 1 ตัวบ่งชี้  ได้แก่  “ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในระบบห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศต่อนิสิตเต็มเวลา  และ/หรือ  ค่าใช้จ่ายของหนังสือ/ วารสาร/ ข้อมูลสารสนเทศ ฯลฯ  ต่อนักศึกษา”  ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการประเมินสำนักหอสมุดของสถาบันอุดมศึกษาโดย สมศ.
 สรุปแล้วอาจกำหนดองค์ประกอบในการตรวจสอบหรือประเมินคุณภาพของสำนักหอสมุดของสถาบันอุดมศึกษาเป็น 10 องค์ประกอบ  ดังนี้
 1. วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ วัตถุประสงค์  และแผนดำเนินงาน
 2. โครงสร้างและการบริหาร
 3. งบประมาณและการเงิน
 4. บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
 5. อาคาร  สถานที่  และครุภัณฑ์
 6. ทรัพยากรสารสนเทศ
 7. การบริการ
 8. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
 9. การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
 10. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน

3. ดัชนีและเกณฑ์การตรวจสอบหรือประเมินคุณภาพ

    ดัชนีและเกณฑ์การตรวจสอบหรือประเมินคุณภาพตามองค์ประกอบตุณภาพห้องสมุดควรครอบคลุมสาระสำคัญและมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  พ.ศ. 2544  ตามตัวอย่างในตาราง 1  ส่วนเกณฑ์การตรวจสอบดัชนีตามองค์ประกอบต่างๆ คือ  มีระบบ  และกลไก  มีการปฏิบัติตามระบบและกลไก  และมีผลการดำเนินงานตามระบบและกลไก

    ดัชนีและเกณฑ์ประเมินคุณภาพห้องสมุด  อาจใช้ดัชนีตรวจสอบคุณภาพแค่กำหนดเกณฑ์ต่างกัน

 ส่วน(มาตรฐานด้าน)   ดัชนีตามมาตรฐานเพื่อกำหนดเกณฑ์ PDCA หรือลักษณะอื่น
 1. โครงสร้างและการบริหาร

- กำหนดนโยบายการบริหารเป็นลายลักษณ์อักษร

- มีคณะกรรมการกำหนดนโยบายและคณะกรรมการบริหาร

 2. งบประมาณและการเงิน - ได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิธิภาพ
 3. บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
- มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด
 4. ทรัพยากรสารสนเทศ
- ทรัพยากรสารสนเทศพื้ฐาน (4 ด้าน)
 5. อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์

- มาตรฐานครุภัณฑ์ห้องสมุด (เป็นไปตามมาตรฐาน)

- ระบบควบคุมอุณหภูมิความชื้น  การระบายอากาศและแสงสว่าง ฯลฯ

 6. การบริการ

- การจัดปฐมนิเทศน์/ การสอน/ ค้นคว้าและให้คำปรึกษาทางวิชาการ

- การจัดบริการยืม - คืน

- การจักบริการสืบค้นผ่านเครือข่ายภายในประเทศ/ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

- จำนวนชั่วโมงบริการ (สม่ำเสมอ/ เหมาะสม)

- การพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง

 7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ - การดำเนินการให้เกิดความร่วมมือโดยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
 8.การประเมินคุณภาพห้องสมุด

- ระบบการประเมินคุณภาพห้องสมุด (เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุดฯ)

- ความสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของชาติ

    เกณฑ์การประเมินคุณภาพห้องสมุดควรใช้เกณฑ์มาตรฐานกำหนดตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  พ.ศ. 2544  โยอาจทำเป็นเกณฑ์ 3 ระดับ  4 ระดับ  5 ระดับ

   ส่วน(มาตรฐานด้าน)        ดัชนีตามมาตรฐานเพื่อกำหนดเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ
 1. งบประมาณและการเงิน  - จัดสรรงบประมาณอย่าน้อยร้อยละ 8 ของงบดำเนินการของสถาบัน (ร้อยละ 8 = A, 6 = B, 4 = C, 2 = D)
 2. บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
 - จำนวนบุคลากร (ตามสูตรคำนวณ) ; จำนวนบรรณารักษ์ 1 คน ต่อนักศึกษา 500 คน หรือ บรรณารักษ์ 1 คน ต่อ หนังสือ 150,00 เล่ม
 3. ทรัพยากรสารสนเทศ
 - จำนวนทรัพยากร (ตามสูตรคำนวณ) ; หนังสือ 15 เล่ม/ นักศึกษา 100 เล่ม/ อาจารย์ 500 เล่ม/ สาขาวิชาปริญญาตรี 6,000 เล่ม/ สาขาวิชาปริญญาโท 25,000 เล่ม 
 4. อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์  - พื้นที่สำหรับผุ้ใช้/ สำหรับเก็บหนังสือ/ สำหรับบุคลากรปฏิบัติงาน (ตามสูตรคำนวณ) ที่นั่งสำหรับผู้ใช้ร้อยละ 25 ของผู้ใช้เฉลี่ยต่อวัน  พื้นที่ประมาณ 2.25-3.15 ตารางเมตร/ คน

    และบางดัชนีอาจกำหนดเกณฑ์เป็นขั้นตอน เพื่อพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ มีแผน (P) ดำเนินตามแผน (D) ตรวจสอบ (C) ปรับปรุง (A) เป็น PDCA ตามตัวอย่างในตารางที่ 1 หรือ กำหนดเกณฑ์เชิงเปรียบเทียบสมรรถนะ (bench mark) ทั้งนี้ขึ้นกับดัชนีที่กำหนดโดยเฉพาะเกณฑ์ที่กำหนดมาตรฐานตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ควรใช้เกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ ตามตัวอย่างในตารางที่ 2

    ตาราง 1 ตัวอย่างดัชนีมาตรฐานห้องสมุดตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2544 ที่กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็น PDCA หรือลักษณะอื่น

    ตาราง 2 ตัวอย่างดัชนีมาตรฐานห้องสมุดตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2544 ที่กำหนดเกณฑ์ประเมินเปรียบเทียบสมรรถนะ

4. สรุป

    การประกันคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนมั่นใจได้ว่า ห้องสมุดนั้น ๆ สามารถให้บริการทางวิชาการและบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

    องค์ประกอบหลักในการตรวจสอบหรือการประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรประกอบด้วยองค์ประกอบตามสาระสำคัญในประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันการศึกษา พ.ศ. 2544 ทั้ง 8 องค์ประกอบ โดยมีองค์ประกอบด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และแผน และองค์ประกอบด้านระบบและกลไกประกันคุณภาพภายในเพิ่มอีก 2 องค์ประกอบ

    ดัชนีการตรวจสอบและประเมินกำหนดมาจากรอบในองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ทั้ง 10 องค์ประกอบ ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งวัตถุประสงค์ของหอสมุดและระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในของหอสมุด ดัชนีการตรวจสอบตามรายการงานการศึกษาตนเอง (SSR) และดัชนีการประเมินตามรายงานการประเมินตนเอง (SAR) อาจใช้ดัชนีเดียวกันแต่เกณฑ์การประเมินต่างกัน

   เกณฑ์การตรวจสอบดัชนีตามองค์ประกอบต่าง ๆ คือมีระบบ กลไก มีการปฏิบัติตามระบบและกลไก และมีผลการดำเนินงานตามระบบและกลไก ส่วนเกณฑ์การประเมินตามดัชนีการประเมินอาจมี 2 ลักษณะ คือ (1) ดัชนีที่กำหนดคุณภาพตามมาตรฐานห้องสมุด ที่มีเกณฑ์คิดเชิงปริมาณ เช่น จำนวนบรรณารักษ์ จำนวนหนังสือ จำนวนพื้นที่ใช้สอย ควรกำหนดเกณฑ์ประเมินเป็นลักษณะการเปรียบเทียบสมรรถนะ (2) ดัชนีที่กำหนดคุณภาพตามมาตรฐานห้องสมุดฯ ที่ไม่มีเกณฑ์กำหนดเชิงปริมาณ ควรใช้เกณฑ์ประเมินในลักษณะขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพคือ PDCA หรือลักษณะอื่น

 

                                               บรรณานุกรม

     มหาวิทยาลัย,ทบวง.นโยบาย แนวทางและวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา.กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544.
     มหาวิทยาลัย, ทบวง. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงหาวิทยาลัย, 2544
     ทักษิณ,มหาวิทยาลัย. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2543
      สำนักงานรองรับมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา. ร่างกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพ การศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานรองรับมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา, 2544


ที่มา : ประดิษฐ์ มีสุข. \"องค์ประกอบ/ ดัชนี และเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพและประเมินตุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา\" วารสารสำหรับหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 1,1 (มกราคม - มิถุนายน 2545) : 1-6

โดย : นางสาว จุฑามาศ มั่งคั่ง, สถานบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547