ห้องสมุดมหาวิทยาลัย-ผู้ใช้

   ห้องสมุดดิจิทัลกับผู้ใช้

   นักวิชาการได้พยายามให้คำจำกัดความห้องสมุดดิจิทัลในหลายแง่มุม  หากพิจารณาในเชิงสังคมแล้วนักวิชาการพิจารณาว่าห้องสมุดดิจิทัลเกิดขึ้นจากชุมชนผู้ใช้ มีการรวบรวมและจัดระบบโดยผู้ใช้และเพื่อผู่ใช้ขีดความสามารถของห้องสมุดจะสนับสนุนการใช้และความต้องการสารสนเทศของชุมชนนั้น ห้องสมุดดิจิทัลเป็นองค์ประกอบของชุมชนที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลจะมีความปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ใช้ข้อมูลสารสนเทศ ทรัพยากรความรู้ และระบบต่างๆ ด้วยกัน โดยนัยนี้ห้องสมุดดิจิทัลจะเป็นส่วนขยายเพิ่มเติม และเป็นส่วนผสมผสานกับสถาาบันต่างๆ ที่ทำหน้าที่เลือกสรร รวบรวม จัดระบบสงวนรักษา และให้การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เพื่อสนับสุนชุมชนของผู้ใช้ สถาบันต่างๆ เหล่านี้รวมถึงห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ และโรงเรียน แต่ห้องสมุดดิจิตอลยังขยายให้บริการกับส่วนอื่นๆ ของชุมชน ซึ่งรวมทั้งห้องเรียน สำนักงาน ห้องปฏิบัติการ บ้านและะสถานที่ สาธารณะอื่นๆ

   จากคำจำกัดความที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าจุดสำคัญของห้องสมุดดิจิทัล ก็คือ ผู้ใช้จะเป้นผู้สร้างด้วย และความต้องการของผู้ใช้จะมีส่วนกำหนดทิศทางการดำเนินงานปละการดำรงอยู่ของห้องสมุดดิจิทัล

   ในสภาพแวดล้อมของห้องสมุดโดยทั่วไป การศึกษาเพื่อเข้าใจผู้ใช้เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับห้องสมุดดิจิทัลก็เช่นเดียวกัน จุดเริ่มต้นของการเริ่มต้นสร้างห้องสมุดดิจิตอลก็คือการเข้าใจผู้ใช้เพื่อที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการได้ตรงตามความต้องการ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการอีกด้วย

   ในการให้บริการกับผู้ใช้ คงจะต้องมีการพยายามสืบเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป เช่น ชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ เช่น เนื้อหา ภาษา รูปแบบของผลลัพธ์จากระบบ รวมทั้งข้อมูลเชิงประวัติเกี่ยวกับการใช้และการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ  ข้ิอมูล เหล่านี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจและวางแผนการให้บริการต่างๆ

   ห้องสมุดดิจิทัลบนเครือข่าย ได้กลายเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญ ในการสื่อสารทางวิชาการ ( Scholarly communications ) ความต้องการและการแสวงหาสารสนเทศของนักวิชาการในสาขาต่างๆ ได้รับความสนใจที่จะได้รับการศึกษาวิจัยอยู่มาก มีข้อน่าสังเกตุประการหนึ่ง คือ นักวิชาการมักจะแสวงหาสารสนเทศจากแหล่งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างงาทางวิชาการใหม่ๆ และกระบวนการนี้มักจะเป็นการกระำำทำโดยอิสระส่วนตัวและด้วยเทคโนโลยีทำการไหลเวียนของกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในการสื่อสารวิชาการทา่งอิเล็กทรอนิกส์นี้ว่าจะทำใ้ห้เกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยที่เป็น " Information - rich " และ " Information poor มากกว่าี่ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบเดิมที่ใช้สื่อสิ่งพิมพ์


ที่มา : พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย-ผู้ใช้. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 9 พ.ศ.2545

โดย : นางสาว วรรณพร ทองกูล, สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547