คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ |
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ
แมว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Felis Domesticus ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ คือ CAT หรือ DOMESTIC CAT หรือ HOUSE CAT อยู่ในตระกูล FALIDAE ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงห์โตและเสือดาว
ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก เป็นแมวที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากแมวป่าแถบอาฟริกา และแถบยุโรป คนไทยเลี้ยงแมวมาแต่สมัยโบราณ มีการแต่งตำราแมวไทย ไว้ในสมุดข่อยโดยแบ่งเป็นแมวลักษณะให้คุณ 17 ชนิด และแมวลักษณะร้าย 6 ชนิด
แมวลักษณะให้คุณ ได้แก่ วิลาศ, นิลรัตน์, นิจจักร, เก้าแต้ม, มาเลศ(โคราช), แซมเศวต, รัตนกัมพล, วิเชียรมาศ, ศุภลักษณ์(ทองแดง), มุลิลา, กรอบแว่น(อานม้า), ปัตเศวต, การเวก, จตุบท,โสงหเสพย, กระจอก, โกญจา
แมวลักษณะร้ายได้แก่ ทุพพลเพศ, ลายเสือ, ปิศาจ, หินโทษ, กอบเพลิง, เหน็บเสนียด
คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ อุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น
แมวไทย ค่อยๆ สูญพันธุ์ไป ปัจจุบันเหลือเฉพาะแมวที่มีลักษณะให้คุร เพียง 4 ชนิด ได้แก่
แมววิเชียรมาศ
เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มอบแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อนาย โอเวน กูลด์ (OWEN GOULD) แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษพากันเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น จนถึงขั้นตั้งเป็นสโมสรแมวไทยถึง 2 แห่ง
นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ยังทรงมอบแมวไทยให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ เช่น อเมริกา จนทำให้แมวไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในสมัยนั้น แมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยชนิดแรกที่ฝรั่งรู้จัก และตั้งชื่อว่า SIAMESE CAT หรือ SEAL POINT (แมวแต้มสีครั่ง) อันเป็นแมวไทยต้นตระกูลที่ฝรั่งนำไปปรับปรุงสายพันธุ์ จนได้แมววิเชียรมาศลูกผสมต่าง ๆ อีก 8 ชนิด
แมววิเชียรมาศ สายพันธุ์แท้ จะมีนัยตาสีฟ้าประกายสดใส ขณะอายุน้อยมีขนสีครีมอ่อน เมื่อโตขึ้น สีขนจะเข้ม เป็นสีน้ำตาล มีแต้มสีน้ำตาลไหม้อยู่ 9 แห่ง คือ ปลายจมูก 1 ปลายหูสองข้าง ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหาง 1, และที่อวัยวะเพศ 1 (ทั้งเพศผู้และเพศเมีย) นับเป็นแต้มสีที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะเจาะน่าพิศวง แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่นที่มักมีแต้มสีเลอะเทอะไม่เป็นที่ และเป็นลักษณะเด่นที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ไม่ว่าจะนำไปผสมกับแมวพันธุ์อื่นจะได้แต้มสีตามร่างกาย ตามตำแหน่งเดียวกันเสมอ แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่าและอุปนิสัยจะไม่ถ่ายทอดไปยังลูกผสม
แมววิเชียรมาศเป็นแมวไทยโบราณ ในสมุดข่อยยกย่องว่าเป็นแมวให้ลาภ เลี้ยงกันเฉพาะในราชสำนัก ผู้ใดเลี้ยงไว้จะได้เป็นขุนนาง ปัจจุบัน เรียกแมวพันธุ์นี้ว่า แมวเก้าแต้ม แต่เป็นแมวคนละชนิดกับแมวเก้าแต้มสมัยโบราณ ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว
แมวโคราช (สีสวาด) | |