สำนักวิทยบริการกับการบริหาร

        การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและเกิดอย่างต่อเนื่อง  การเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อตัวเรา  ไม่มากก็น้อย  การเปลี่ยนแปลงบางอย่างและบางครั้งก็รุนแรง  ผลของมันย่อมรุนแรงไปด้วยแต่การเปลี่ยนแปลงบางครั้งอาจอยู่ไกลตัวผลของมันอาจไม่กระทบมากนัก  อย่างไรก็ตามเราคงต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่เราจะได้ปรับตัวและสามารถจัดการมันได้

     การเปลี่ยนสถนะจากสำนักหอสมุดกลาง  มหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วิทยาเขตมหาสารคามไปเป็นสำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วิทยาเขตมหาสารคาม  เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ  โดยเฉพาะทำให้โครงสร้างบริหารงานเปลี่ยนไป  จกการที่ผู้บริหารห้องสมุดเป็นได้เพียงรองผู้อำนวยการ  (ผู้อำนวยการอยู่ที่ประสานมิตร)  นโยบายเรื่องกำลังคนตลอดจนงบประมาณต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กับส่วนกลาง  ทำให้การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  ดังนั้นเมื่อสำนักหอสมุดกลาง  มศว.มหาสารคาม  ได้รับการอนุมัติให้เป้นสำนักวิทยบริการ  มีสถานภาพเทียบเท่าคณะต่าง ๆ  การบริหารจัดการไม่ต้องขึ้นตรงสำนักหอสมุดกลงเหมือนที่เคยเป็น  ดังนั้นการขยายอัตรากำลังและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่าง ๆ  จึงทำให้คล่องตัวขึ้น

     

 

ในระยะนี้อัตรากำลังของสำนักวิทยบริการเพิ่มข้นค่อนข้างมาก  งบประมาณของสำนักวิทยบริการก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

       การปรับเปลี่ยนจากระบบมือเป็นระบบอัตโนมัติ  ในปี  พ.ศ.2529  สำนักวิทยบริกรได้เข้าร่วมเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยลัยส่วนภูมิภาค  หรือเรียกย่อ ๆ  ว่า  PULINET  ซึ่งตามโครงการนี้  ห้องสมุดในเครือข่ายได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  ซึ่งสำนักวิทยบริการได้จัดซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  ของบริษัท  INNOVATIVE  เหมือนกับสมาชิกเครือข่ายส่วนใหญ่ซึ่งรายนี้มีระบบการทำงาน  (Module)  5  ระบบ  คือ  ระบบกาจัดหา  (Acquisition  Module)  ระบบการวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการ  (Cataloging  Module)  ระบบยืมคืน  (Circulation  Module)  ระบบสืบค้น  (Opac  Module)  และระบบงานวารสาร  (Serial  Module)

       การจะมีระบบนี้ได้หน่วยงานต้องมีระบบ  Interner  รองรับและเป็นความโชคดีของสำนักวิทยบริการที่ช่วงนั้น  สำนักวิทยบริการได้เข้าร่วมโครงการไทยสาร  (Thaisarn)  ของ  NECTEC  ทำให้ได้ระบบ  Internet  มาใช้  การเข้าสู่ระบบอัตโนมัตินี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการสารสนเทศ  การบริหารสารสนเทศ  ตลอดจนการบริหารบุคลากร  ของสำนักวิทยบริการครั้งสำคัญ  และัเป็นการเปลี่ยนที่ส่งผลให้สำนักวิทยบริการสามารถพัฒนาไปสู่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  หรือห้องสมุดดิจิตอลในปัจจุบันทำให้สำนักวิทยบริการสามารถให้บริการได้ตลอด  24  ชั่วโมง  ผู้ใช้สามารถเข้าใช้สารสนเทศในระบบโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

       ประการต่อมา  คือ  การทำงานในรูปแบบความร่วมมือหรือเครือข่ายห้องสมุด  ด้วข้อจำัดในเรื่องของทรัพยาร  และด้วยความเจริญ้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้องค์กรไมสามารถงนตัวคนเดียวได้การทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือจึงเป็นสิ่่งจำเป็น  สำนัวิทยบริการมีเครือข่ายความร่วมมือกับ  ห้องสมุดมหาวิทยลัยส่วนภูมิภาค  (PULINET)  มานาน  นอกจากนี้  ยังมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  (Thailis)  การทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ  ทำใให้สำนักวิทยบริารพัฒนไปพร้อม ๆ  กับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทั้งที่อยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  และเมื่อไม่นานมานี้  สำนักวิทยบริการได้ร่วมือกับสำนักหอสมุดมหาวิทยลัยเชียงใหม่และสำนับรรณสรและสื่อารศึกษามหาวิทยลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ไดรวมกันจัดชื่อหนังสืออิเล็ทรอนิกส์  หรือ  E-book  ในลักษณะภาคีความร่วมมือ  (Consortium)  ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบริารสรสนเทสและเป็นการใช้ทรัพยารสรสนเทศที่คุ้มค่าขึ้น

       ประการสุดท้าย  การที่มหวิทยลัยมหาสารคามได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลลัยเอกเทศทำให้ารขยายตัวของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว  มหาวิยลัยมหาสารคามมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ  (Comprehensive)  มากขึ้น  โดยเฉพาะมีารขยายสขาวิชาต่าง ๆ  มากมาย

       กลาวโดยสรุป  ถึงแม้จะมีควมเปลียนแปลงมากมยเกิดขึ้น  แตสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนก็คือ  การทำงานของชวสำนักวิทยบริารที่มุ่งทำงานเพื่องาน  และการเป็นนำ้าหนึ่งใจเดียวัน  สิ่งที่ท้าทายของสำนัวิทยบริารอยู่ข้างหน้า  คือ  การเป็นห้อสมุดที่มีชีวิต  เป็นแหล่งกาเรียนรู้ของมวลมนุษย์อย่างแท้จริง

 

    

 


ที่มา : สุจิน บุตรดีสุวรรณ สารนิเทศ สำนักวิทยบริการกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง ปีที่ 9 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-ธันวาคม 2545

โดย : นางสาว นันทวรรณ์ สุวรรณชาติ, สถาบันราชภัฎวไลย์อลงกรณ์, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547