บรรณารักษ์ยุคใหม่

      การเกิดขึ้นของห้องสมุดดิจิทัลมีผลไม่น้อยกับการดำเนินงานของห้องสมุดแบบดั้งเดิม  ที่มีเป้าหมายการสร้างหรือการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัล หรือการเป็นห้องสมุดแบบผสม บรรณารักษ์เองก็ดูเหมือนว่าจะได้รับแรงกดดันในเรื่องหน้าที่และบทบาทมากขึ้นในแนวคิดห้องสมุดดิจิทัลนั้น บรรณารักษืจำเป็นต้องเป็นเสมือนสถาปนิกเพื่อที่จะสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพและมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ หรือ บรรณารักษ์ที่มีความรู้เรื่องดิจิทัลจะสามารถช่วยระบุชั้นหนังสือจริงและชั้นหนังสือแบบดิจิทัลเพื่อหาสารสนเทศได้ หากเป็นเช่นนี้บทบาทของบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล ไม่ได้ลดลงหรือถูกมองข้ามไปอย่างที่หลายๆคนหรือแม้แต่ตังบรรณารักษ์เองวิตก ถึงแม้ว่าจะมีการระบุว่าแหล่งสารนิเทศต่างๆจะให้บริการผู้ใช้ขั้นสุดท้ายโดยตรง และกระบวนการดังกล่าวนั้นข้ามผ่านบรรณารักษืแบบดั้งเดิม

และมองว่าบรรณารักษ์แบบพวกนี้ได้ล้มหายตายจากไปแล้วด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่อย่างไรก็ตามยังคงเห็นว่าบรรดาบรรณารักษ์ที่ได้มีการเตรียมปรับตัวก็ดูเหมือนว่าทำได้ไม่เลวเลยทีเดียว  ดังนั้นความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ ก็ดูจะเป็นประเด็นหลักของการเข้าสู่โลกดิจิทัลของบรรณารักษ์ ทักษะและความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ดูจะใช้ได้ดีกับการจัดการทรัพยากรดิจิทัล เป้นที่น่าสังเกตว่าโปรแกรมค้นหา เช่น Yahoo ได้ใช้บรรณารักษ์ในการเริ่มต้นการจัดระบบช่วยค้น ทักษะและความสามารถในการจัดระบบ การทำรายการและดรรชนีทำให้บทบาทของบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัลโดดเด่นขึ้น นอกจากนั้นบรรณารักษ์ยังสามารถถ่ายโอนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ของตนให้กับผู้ใช้ได้อีกด้วย

          ห้องสมุดดิจิทัลมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถของกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า " บรรณารักษ์ดิจิทัล "(Digital librarians) ในการที่จะสร้างจัดเก็บ วิเคราะห์ จัดระบบและเผยแพร่ สารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล ได้ระบุบทบาทของบรรณารักษ์ดิจิทัล ในการจัดการระบบสาสนเทศดิจิทัล ในการเป็นผู้ดูแลรักษาทางด่วนสารสนเทศ และห้องสมุดดิจิทัลสารสนเทศของโลก นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางระหว่างสารสนเทศดิจิทัลกับผู้ใช้ขั้นสุดท้ายเป็นผู้กลั่นกรอง และนำทางที่จะช่วยการค้นคืนสารสนเทศจากเครือข่าย รวมทั่งการช่วยผู้ใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัล โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือการเข้าถึง และในการที่จะมีบทบาทเช่นนี้ได้บรรณารักษ์ดิจิทัลดิจิทัลควรมีทักษะและความรู้ความสามารถในเรื่อง

             1) อินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ

             2) การจัดการมัลติมีเดีย เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล

             3) ระบบสารสนเทศดิจิทัลออนไลน์และออปติตัล

              ทักษะและความรู้ความสามารถเหล่านี้ได้มีการพิจารณาให้เข้าสู้เนื้อหาหลักสูตรการเยนการสอน สำหรับบรรณารักษ์ไม่อยู่ในระบบการศึกษาปกติ ก็อาจเพิ่มพูนทักษะความรู้ไดก้จากการฝึกอบรมและการศึกษาต่อเนื่องอย่างไรก็ตามการที่จะเป็นบรรณารักษ์ดิจิทัลนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือองค์การของตนว่าได้มีการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลหรือไม่ และหากองค์การจะใช้แนวคิดห้องสมุดแบบผสม จะมีการผสมผสานทักษะแบบดั้งเดิมกับทักษะแบบใหม่อย่างไร บรรณารักษ์ยุคใหม่ดูเหมือนว่ากำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ และการปรับต้วก็คงจะเป็นคำหลักสำหรับบรรณารักษ์ ผู้ที่จะต้องช่วยเหลือผู้ใช้ในการท่องโลกผ่านโลกดิจิทัลเพื่อค้นหาสารสนเทศ ช่วยในการจัดเปลี่ยนรูปแบบสารสนเทศให้เป็นดิจิทัลและทำดรรชนีช่วยในการเลือกแหล่งและทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บ รวมทั้งออกแบบและอนุวัตฐานข้อมูลบนเว็บที่สำคัญก็คือยังเป็นผู้ที่จะรักาไว้ซึ่งงานของบรรณารักษ์ที่มีมาแต่เดิมคือ การเลือกสรร รวบรวมสารนิเทศที่มีคุณประโยชน์แก่ผู้ใช้อีกด้วย

              ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นศุยน์กลางของชุมชนวิชาการ และป็นหัวใจของกระบวนการสื่อสารทางวิชาการนั้น กล่าวกันว่ายังมีลักษณะผสมผสานของห้องสมุด 3 แบบคือ 1) ห้องสมุดจากอดีตที่ยังคงได้รับการคาดหวังในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรให้ครอบคลุมกว้างขวาง และการให้การเข้าถึงวัสดุสิ่งพิมพ์โดยตรง 2) ห้องสมุดปัจจุบันที่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติ และการสงวนรักษาสิ่งพิมพืที่กำลังเสื่อมสภาพ และ 3) ห้องสมุดในอนาคตที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนา และอนุวัตแนวคิดใหม่ต้นแบบ และเทคโนโลยีสำหรับการพิมพ์ การจัดหา การจัดเก็บ และการให้การเข้าถึงสารสนเทศ โดยเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ว่าลักษณะของห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะป็นเช่นไร ภารกิจหลักก็คงยังเป็นการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี


ที่มา : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรรารักษ์ยุคใหม่ วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่9 พ.ศ.2545

โดย : นางสาว สุวรรณา แซ่โป่ว, สถาบันราชภัฏวลัยอลงกรณ์, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547