การตัดและถนอมดอกไม้
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

การตัดและถนอมดอกไม้
 แสง  ช่วยในการสังเคราะห์สร้างอาหารของพืชแสงแดดยิ่งจัดพืชจะสังเคราะห์แสงสร้างอาหารได้มากขึ้น  แต่หากแสงจัดและมีอุณหภูมิสูงด้วย  พืชจะหายใจมากขึ้น  นั่นหมายถึงใช้อาหารมากขึ้นด้วย
     ในฤดูร้อนพืชจึงใช้อาหารมาก  ทำให้มีอาหารเหลือเก็บไว้สร้างดอกน้อย  นอกจากนี้  ในอุณหภูมิสูงกระบวนการต่างๆ  ของพืชจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ตั้งแต่การสร้างตาดอก  เจริญเป็นดอก  การเกิดดอกตูม  แล้งบานกระทั่งโรย
 จะใช้เวลาสั้น
     การสร้างดอกในเวลาสั้น  มีปริมาณอาหารน้อยส่งผลให้ดอกไม้มีขนาดเล็กลง  ก้านสั้น  และแสงแดดที่จัดจ้ายังทำลายเม็ดสีในดอก  ทำให้ดอกไม้สีซีด
     เข้าสู่ฤดูหนาว  โดยเฉพาะภาคเหนือที่อากาศเย็นลงมาก  ขณะที่แดดจัด  พืชสามารถสร้างอาหารได้มาก  อุณหภูมิต่ำจึงไม่เร่งให้พืชหายใจ  การใช้อาหารก็น้อยลง  มีอาหารเก็บไว้สร้างดอกจำนวนมาก  และกระบวนการใช้อาหารก็น้องลง  มีอาหารเก็บไว้สร้างดอกจำนวนมาก  และกระบวนการสร้าง
ดอกเป็นไปอย่างช้าๆ  เม็ดสีของดอกไม้ถูกความร้อนทำลายดอกไม้ที่อยู่ในสภาพอันเหมาะสมเช่นนี้  จึงมีดอกใหญ่  ก้านยาว  สีสันสดใส  และบานอยู่ได้นาน
     จาหนังสือ  "การปฎิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้"  เขีนยโดย  รศ.ดร.นิธิยา  รัตนาปนนท์  และ  รศ.ดร.ดนัย  บุณยเกียรติ  ได้กล่าวถึงเทคนิคต่างๆในการตัดดอกไม้ปักในแจกัน  ดังนี้
      ดอกไม้ทุกชนิดเมื่อติดอยู่กับตัดจะได้รับน้ำและสารอาหารจากต้นตลอดเวลาเมื่อตัดแล้วดอกไม้ยังไม่ตาย  มีการคายน้ำ  มีการหายใจ  ใช้ออกซิเจนเพื่อออกซิไดซ์  สารอาหารให้เป็นพลังงาน  มีการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความร้อนอยู่ตลอดเวลา  ดอกไม้ในแจกันจึงยังต้องการน้ำ 
สารอาหาร  และออกซิเจน  โดยสองสิ่งแรกที่มีอยู่ในก้านดอกจะถูกใช้ไปเรื่อยๆ  ดอกไม้จะบานได้นานมากน้อยแค่ไหนจึงอยู่ที่ความสมบูรณ์ก่อนตัด  วิธีการตัด  และการปฏิบัติภายหลังตัด
      ดอกไม้ที่ตัดขณะต้นได้รับน้ำไม่เพียงพอ  จะมีน้ำอยู่ในก้านดอกน้อยเมื่อตัดก้านจากตัน  ก้านดอกจะดูดอากาศเข้าไปแทนที่น้ำในก้านดอกทางรอยตัด  ทำให้เกิดฟองอากาศภายใน  เมื่อนำก้านไปแช่น้ำ  จะดูดซึมน้ำได้ยาก  ทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็ว  วิธีป้องกันฟองอากาศคือ  การรดน้ำให้ต้นไม้มีความอิ่มน้ำก่อน
 และหากทำได้ควรตัดให้จุดตัดอยู่ใต้ผิวน้ำ  หรือตัดแล้วจุ่มโคนก้านในน้ำร้อน
      นอกจากฟอกอากาศจะปิดกั้นการดูดซึมน้ำของก้านดอกแล้ว  รอยตัดอาจอุดตันจากเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ  สาเหตุมีทั้งน้ำที่แช่ก้านดอกไม้ไม่สะอาด  หรือภาชนะใส่ดอกไม้ไม่สะอาด
       ก๊าซเอธิลีน    เป็นสารชนิดหนึ่งที่ทำให้ดอกไม้หลายชนิดโรยเร็วกว่าปกติ  ก๊าซชนิดนี้เกิดจากผลไม้สุกปล่อยออกมาหรือส่วนต่างๆ  ของพืชที่เน่าสลาย  และมีผลไม้บางชนิดที่ผลิตก๊าซนี้ขึ้นมาเอง  ฯลฯ
       เมื่อคุณตัดดอกไม้ในสวนเพื่อปักแจกัน  สิ่งที่พึงปฏิบัติคือ  มีดหรือกรรไกรที่ใช้ตัดต้องคมและสะอาด  ตัดดอกไม้ในระยะการบานที่เหมาะสมเพื่อให้มีอายุในการใช้งานได้นานที่สุด  แช่ดอกไม้ที่ตัดลงในน้ำสะอาดทันที  ควรใช้น้ำอุ่นใสในแจกัน  ล้างแจกันหรือภาชนะอื่นด้วยผงซักฟอก
 แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นอีกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์  ก่อนนำดอกไม้ปักแจกันคารตัดปลายก้นดอกออกประมาณ 2 เซนติเมตร  เด็ดใบที่จะแช่อยู่ในน้ำออกให้หมดเพื่อป้องกันใบเน่า
       หากซื้อดอกไม้จากร้าน  ถ้าสังเกตว่าดอกเหี่ยวอันเกิดจากการสูญเสียน้ำระหว่างเดินทาง  นำดอกไม้แช่น้ำ  2-3  ชั้วโมงก่อนปักแจกัน  โดยตัดปลายก้านออก  2-3  เซนติเมตร
       มีสารเคมีหลายชนิดที่ใช้ผสมน้ำเพื่อยืดอายุดอกไม้  เช่น  สารละลาย  เงินไนเตรท  แต่มีสูตรที่มคูรสามารถทำเองได้
   
      สูตรที่1      ผสมเครื่องดื่มเซเว่นอัพประมาณ  1/4 ถึง  1/2  ลิตรกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนที่เท่ากัน  เติมน้ำยาฟอกสี  เช่น คลอรอกซ์หรือน้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์ 1ช้อนชา

      สูตรที่2      ใช้น้ำสะอาด  1  ลิตรผสมกับน้ำมะนาว  2  ช้อนชา  น้ำตาล  1  ช้อนโต๊ะ  และน้ำยาฟอกสี  1/2  ช้อนชา

       ข้อปฏิบัติในการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
 
        1.วางแจกันในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ  ให้อยู่ห่างจากเตาไฟหรือใกล้เครื่องทำความเย็น
          2.ดอกไม้ที่ตัดแล้ว  ทนต่อแสงอาทิตย์โดยตรงไม่ได้  แต่แสงจากหลอดไฟจะช่วยยืดอายุดอกไม้  ทำให้ใบสดมีสีเขียวนานกว่าปกติ
          3.บิเวณที่ตั้งแจกันควรมีความชื้นสัมพันธ์สูง    ถ้าอยู่ในที่ที่อากาศแห้งควรฉีดพ่นละอองน้ำให้ดอกไม้วันล ะ  1-2  ครั้ง  หรืออย่างน้อยวันเว้นวัน  อย่าวางแจกันที่ที่มีลมโกรก  แบะควรคำนึงด้วยว่าห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศแม้อุณหภูมิต่ำ 
แต่อากาศก็มีความชื้นสัมพันธ์ต่ำด้วย

          4.หนีห่างจากแหล่งผลิตก๊าซเอธิลีน  เช่น  ผลไม้สุก  เตาแก๊สการเผาไหม้ของน้ำมันและควันบหรี่

       วิธีการตัดดอกไม้
 
          1.ใช้มีดหรือกรรไกรที่คมมากและสะอาดตัดก้านเฉพาะดอกให้เป็นมุมเฉียงและรอยตัดต้องเรียบ  โดยเฉพาะดอกไม้ที่มีก้านเป็นไม้เนื้อแข็ง   เพราะดอกไม้ปประเภทนี้จะดูดน้ำได้เฉพ่ะทางรอยตัดเท่านั้น  ใสกรณีไม้เนื้ออ่อน  ดอกไม้สามารถดูดน้ำผ่านทางเนื่อเยื่อของเซลล์ผิวได้ 
 ควรหลีกเลี่ยงการฉีดขาดหรือเกิดรอยซ้ำที่บริเวณตัด  เพราะจะทำให้ของเหลวในก้านซึ่งมีน้ำตาลไหลออกมา  เป็นการกระตุ้นการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดการอุดตันที่ก้านดอกไม้
         2.ดอกไม้ที่มีก้านดอกสมบูรณ์  ควรตัดให้ก้านติดดอกยาวที่สุด  แต่ไม่ควรตัดก้านที่อยู่ใกล้ดินมากเกินไป  เพราะก้านแก่มักเป็นไม้เนื้อแข็งดอกไม้ดูดน้ำได้น้อย  ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
          3.ดอกไม้ที่มียางเช่น  ป๊อปปี้  เมื่อตัดแล้วควรจุ่มโคนก้านดอกในน้ำร้อนอุณหภูมิ  85-90 องศานาน2-3วินาที  เพื่อให้ยางหลุด  ไม่เช่นนั้นยางจะอุดบริเวณรอยตัดทำให้ก้านดูดน้ำไม่ได้
   4.ดอกเบญจมาศชนิดดอกเดี่ยวดอกที่บานสมควรตัดคือ  ดอกที่สีเขียวใจกลางดอกจางหายไปแล้ว  ถ้าเป็นดอกช่อควรให้ดอกที่อยู่ตรงกลางช่อบานเต็มที่  ส่วนดอกข้างบางดอกอาจกำลังบานหรือยังตูมอยู่ก็ได้  ตัดให้มีก้านดอกยาวที่สุด  โดยปกติก้านดอกเบญจมาศจะมีความยาวประมาณ  60-90 เซนติเมตร  แต่ควรตัดในจุดที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นมาราว  10 เซนติเมตร  เนื่องจากจุดตัดที่มีเนื้อเยื่อแข็งเกินไปจะดูดน้ำได้น้อยปลิดใบจากปลายก้านขึ้นมาหนึ่งในสาม  นิยมนำปลายก้านไปจุ่มในน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนนาน10วินาที  เพื่อกระตุ้นให้ก้านดอกดูดน้ำได้ดีขึ้นก่อนนำไปปักแจกัน
   5.กุหลาบสีเหลืองระยะการบานจะสั้นกว่าสีอื่นจึงควรตัดเมื่อดอกยังตูม  กุหลาบสีชมพูหรือสีแดงนิยมตัดเมื่อกลีบดอกกลีบแรกหรือกลีบที่สองแย้ม  ส่วนกุหลาบสีขาวตัดเมื่อดอกบานแย้มมากกว่าสีอื่น  คุณจะสังเกตจากกลีบเลี้ยงก็ได้  นั่นคือตัดเมื่อกลีบเลี้ยงที่หุ้มดอกคลี่ออกตั้งฉากหรือดีดตัวตรง  เมื่อตัดดอกแล้วให้จุ้มปลายก้านในน้ำเย็นหรือใช้ลมเย็นเป่าดอกเพื่อลดความร้อนในแปลงที่ติดมากับดอก
    6.แกลดิโอลัส  นิยมตัดเมื่อดอกแรกมีสีของกลีบดอกปรากฏเห็นชัดเจนแต่ยังบานไม่เต็มที่  ตัดให้มีก้านยาวที่สุด  แต่อย่าวางนอนทิ้งไว้ปลายดอกจะงอ  ตัดแล้วต้องวางช่อตามแนวตั้งเสมอจนกว่าจะเอาไปปักในแจกัน
  
                       


 



แหล่งอ้างอิง : หนังสือ ต้นไม้ใบหญ้า ผู้แต่งนายผล คนสวน

โดย : เด็กชาย องอาจ รัตนพันธ์, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547