การเรืองแสงของหิ่งห้อย
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ
การเรืองแสงของหิ่งห้อย
  หิ่งห้อย หรือ "หญิงฮอย" (ในสำเนียงถิ่นใต้) มีชื่อทั่วไปเป็นภาษาอังกฤษว่า firefly,lightningbug, หรือ glowworm เป็นแมลงที่จัดอยู่ใน family lampyridae เป็นแมลงปีกแข็งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกแมลงเต่าทอง ตามปกติมีหลายชนิด แต่ที่ต่างจากเต่าทองคือหิ่งห้อยมีปีกแค่ 2 ปีกตามที่เห็น แต่เต่าทองมีปีกอ่อนซ้อนอยู่อีก 1คู่ใต้ปีกแข็งที่ปกคลุมภายนอก บริเวณที่พบมีชนิดของหิ่งห้อยหลากหลายคือในเขตร้อนชื้นแถบเอเชีย และอเมริกากลางตลอดจนอเมริกาใต้
 จากรายงานการศึกษาหิ่งห้อยในประเทศไทยที่ได้เคยลงพิมพ์ในนิตยสารสารคดี พบวาหิ่งห้อยในประเทศไทยมี 4 ชนิด แต่ละชนิดมีแหล่งที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน แต่ที่ร่วมกันคือต้องอยู่ใกล้แหล่งนำบางชนิดอาศัยในแหล่งนำและเป็นปรสิตในหอยนำจืด บางชนิดอาศัยอยู่ตามชายนำริมลำธาร บางชนิดอาศัยอยู่ตามซากไม้ใบไม้ที่เน่าเปื่อยผุพัง เฉพาะชนิดที่เป็นปรสิตในหอยเท่านั้นที่ต้องอาศัยใกล้บริเวณที่มีต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ชายนำที่หอยสามารถขึ้นมาวางไข่ได้ แต่ก็มีรายงานการพบหิ่งห้อยบางชนิดอาศัยในเขตแห้งแล้งบ้างเหมือนกัน
 ตัวอ่อนของหิ่งห้อยมักดำเนินชีวิตเป็นผู้ล่าเหยื่อ โดยกินใส้เดือนดิน หอย และทากเป็นอาหาร ในการล่าเหยื่อหิ่งห้อยใช้การตามรอยเหยื่อจากเมือกลื่นๆที่เหยื่อทิ้งไว้ตามรอยทางเดิน และเมื่อพบเหยื่อซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่า ตัวอ่อนหิ่งห้อยจะปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมาจากเขี้ยว (ซึ่งในแมลงเรียกว่า mandible แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง mandible หมายถึงขากรรไกรล่าง) ซึ่งจะมีฤทธิ์ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต หลังจากนั้นก็จะจับเหยื่อกินเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังมีการพบว่า ตัวอ่อน หิ่งห้อยสามารถกินอาหารที่เป็นซากสัตว์ที่ตายแล้วได้(คือเป็น scavenger) และเมื่อหิ่งห้อยโตเต็มวัยโดยทั่วไปมันจะกินนำหวานจากดอกไม้เพื่อใช้สร้างพลังงานในการดำรงชีวิต ในระยะนี้หิ่งห้อยจะยังมีเขี้ยวอยู่ หิ่งห้อยบางชนิดใช้การพรางตัวเพื่อทำทีว่า"อยากจะผสมพันธุ์กับหิ่งห้อยอีกชนิดหนึ่ง" แต่จริงๆแล้วก็เข้าไปเพื่อจับหิ่งห้อยอีกชนิดหนึ่งกินเป็นอาหาร
 ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของหิ่งห้อยในการสร้างแสงวับๆขึ้นมาก็เพื่อสืบพันธุ์ และหลอกล่อเหยื่อเพราะหิ่งห้อยแต่ละชนิดมีรูปแบบและระยะเวลาของการสร้างแสงวับๆแตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถจำแนกชนิดของหิ่งห้อยได้โดยการดูแสงวับๆถึงแม้จะไม่แม่นยำเหมือนการจับตัวหิ่งห้อยมาศึกษาก็ตาม เพราะเจ้าหิ่งห้อยที่ชื่อ photuris sp. (รู้แต่genus) เพศเมียสามารถเลียนแบบการเรืองแสงของหิ่งห้อยเพศเมียพันธุ์อื่นได้ เพื่อล่อให้ตัวผู้เข้ามาผสมพันธุ์กับมัน แต่เมื่อตัวผู้เข้ามาก็จะถูกหิ่งห้อยเพศเมียตัวดังกล่าวจับกินเป็นอาหารทันที
 คราวนี้ก็มาถึงคำถามที่น่าสนใจว่า"หิ่งห้อยเรืองแสงได้อย่างไร?"
 เจ้าแมลงตัวน้อยของเรา สามารถสร้างแสงวับๆในยามคำคืนได้ โดยอาศัยปฏิกินิยาเคมีภายในเซลล์พิเศษที่อยู่บริเวณส่วนท้ายของลำตัว เป็นการเกิดปฏิกิริยาระหว่างโปรตีน luciferin และเอนไซม์ luciferase โดยอาศัยพลังงานจาก ATP (adenosine triphosphate) ภายในเซลล์ และออกซิเจน
แหล่งที่มา จากหนังสือ การศึกษาวิทยาสาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี วารสารปีที่ 32 ฉบับที่ 127 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2546


แหล่งอ้างอิง : จากหนังสือ การศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี วารสารปีที่32ฉบับ127พฤศจิกายน - ธันวาคม 2546

โดย : นางสาว นำฝน ลมละมุล, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547