สื่อลามกเด็ก

สื่อลามกเด็กคืออะไร
 การให้ความหมายของคำว่า "สื่อลามกเด็ก" หรือ Child Pornography ให้เป็นความหมายที่เข้าใจร่วมกันได้เป็นเรื่องที่ยากมาก ในแต่ล่ะวัฒนธรรมย่อมตีความความลามกอนาจาร ความเป็นศิลปะ หรือความเย้ายวนทางเพศแตกต่างกันได้หลายระดับ ในประเทศ แม้แต่สื่อที่แสดงออกทางกามารมณ์ก็อาจถือว่าเป็นสื่อลามกด้วยเช่นกัน

คนจำนวนมากมักคิดภาพไม่ออกว่า ภาพของเด็กๆนั้นจะมีความลามกอนาจารไปได้อย่างไร หลายคนไม่เข้าใจว่า "สื่อลามกเด็ก" นั้นหมายความว่าอย่างไร หลายคนสงสัยว่าภาพลามกของเด็กโดยตัวของมันเองเท่านั้นก็ถือว่าเป็นอาชฌากรรมได้ด้วยหรือ จะต้องมีเด็กจริงๆถูกกระทำชำเราด้วยหรือเปล่า แล้วภาพลามกที่เกิดขึ้นจากการตัดต่อหรือตบแต่งล่ะ เป็นส่วนหนึ่งของการทำลามกอนาจารหรือไม่

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมต่อเด็กขององค์กรตำรวจสากลได้กล่าวไว้ว่า "สื่อลามกเด็กคือผลลัพธ์ของการเอาเปรียบหรือการละเมิดทางเพศต่อเด็ก ซึ่งจะเป็นวิธีใดๆก็ตามตั้งแต่การบรรยายให้เห็นภาพ หรือโฆษณาการละเมิดทางเพศต่อเด็ก รวมไปถึงการพิมพ์หรือภาพพร้อมเสียงซึ่งมีจุดเน้นที่การกระทำทางเพศต่อเด็กหรือที่อวัยวะเพศของเด็ก"

พิธืศาลเลือกรับผนวกท้ายของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็กและสื่อลามกเด็ก (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child) ตีความว่า สื่อลามกเด็กคือ "รูปแบบใดๆโดยวิธีใดก็ตามของเด็กที่อยู่ในกิจกรรมทางเพศที่เป็นจริงหรือทำปลอมขึ้น หรือรูปแบบใดๆของอวัยวะเพศเด็ซึ่งจงใจทำขึ้นเพื่อการเชิญชวนทางเพศ

สื่อลามกเด็กอาจมีได้หลายรูปแบบ การทำอนาจารทางรูปภาพเป็นตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุด ซึ่งหมายถึงการสร้างภาพของเด็กที่อยู่ในกิจกรรมทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นภาพที่ทำปลอมขึ้นมาเอง หรือการแสดงอวัยวะเพศของเด็กในทางต่ำทราม สื่อลามกเด็กทางเสียงคือการช้เครื่องเสียงใดๆก็ตามที่ใช้เสียงของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเสียงจริงหรือเลียนเสียงขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อการสำเร็จความใคร่ของผู้ใช้ สื่อลามกเด็กอาจอยู่ในรูปของข้อความที่อธิบายถึงปฏิบัติการทางเพศหรือเพื่อใช้ในการทำให้สำเร็จความใคร่

ทำไมสื่อลามกเด็กจึงถือเป็นปัญหา
 ตามปกติแล้ว ภาพถ่ายและวีดีทัศน์ลามกถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดเด็กเกิดขึ้น การทำลามกต่อเด็กถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างร้ายแรง แม้กระทั่งเด็กซึ่งถูกบังคับหรือล่อลวงให้ดูภาพลามกก็ถือว่าถูกละเมิดด้วยเช่นกัน การผลิตสื่อลามกเด็กเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการค้าเด็กข้ามพรมแดน เพราะเด็กที่ถูกค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ในที่สุดแล้วมักจะตกเป็นเหยื่อของการผลิตสื่อลามกอนาจารด้วย

ในอินเทอร์เน็ต มีภาพลามกเด็กจำนวนมหาศาลกระจัดกระจายอยู่ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเอื้อให้มีการสร้างภาพที่หลากหลายอย่างไม่มีขีดจำกัด และช่วยให้การส่งต่อภาพเหล่านี้เป็นไปได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้การสะสมภาพลามกของเด็กกลายเป็นกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่มีขนาดมหึมา

บางครั้ง ภาพลามกอนาจารของเด็กเหล่านี้ จะมีการทำหมายเลขติดไว้ด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและเก็บสะสม และกระตุ้นให้นักสะสมพยายามหาภาพมาเติมในชุดสะสมของตน ภาพใหม่ๆจะเป็นภาพที่เคลื่อนไหวที่เป็นเรื่องราวเหมือนการ์ตูน

ในการผลิตสื่อลามกเหล่านี้ เด็กๆมักจะถูกบังคับให้ยิ้มแย้มหรือครวญครางจนภาพที่ออกมาดูเหมือนว่าเด็กชอบที่ถูกกระทำเช่นนั้น

เด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการผลิตภาพลามกอนาจาร จะได้รับผลกระทบทางลบทางด้านจิตใจในระยะยาวอย่างยากที่จะเยียวยาได้ ต่อให้ผู้ผลิตภาพลามกจะถูกดำเนินคดีไปแล้วก็ตาม ผลกระทบที่มีต่อเด็กก็ไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น เพราะทันทีที่ภาพลามกของเด็กหลุดออกไปเผยแพร่ในโดเมนสาธารณะ (Public DomainX) บนอินเทอร์เน็ต ภาพลามกนั้นก็จะถูกส่งไปเรื่อยๆจนไม่อาจเก็บคืนมาได้ และอาจจะตามหลอกหลอนเด็กไปตลอดชีวิต

สื่อลามกเด็กยังถูกใช้เป็นเครื่องมือหลอกล่อเด็กคนอื่นให้ทำแบบเดียวกัน หลายครั้ง ผู้ผลิตสื่อลามกจะนำเอาภาพเด็กที่ถูกทำอนาจารมาให้เด็กคนอื่นๆดู โดยบอกว่า การทำเช่นนี้มีอะไรผิดแปลก เด็กคนนี้ยังทำได้ และยังมีความสุขด้วย ทำไมเด็กคนอื่นๆจะทำไม่ได้ ก็จะทำให้เด็กคนอื่นๆที่ดูภาพเหล่านั้นถูกโน้มน้าวให้ทำแบบเดียวกันด้วย

ผู้ที่มีสื่อลามกเด็กไว้ในครอบครอง ม่แนวโน้มสูงมากที่จะเป็นผู้ที่มีรสนิยมชอบการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กในชีวิต
คู่มือ ECPAT ปกป้องน้องน้อยจากภัยออนไลน์
จัดพิมพ์โดย EPCAT International เมษายน 2545 328 ถ.พญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400


ที่มา : คู่มือ ECPAT ปกป้องน้องน้อยจากถัยออนไลน์ จัดพิมพ์โดย EPCAT Internaional เมษายน 2545 328 ถ.พญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โดย : นางสาว กนกวรรณ สุวรรณเศษ, โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม, วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547