เมื่อใดที่ไม่ควรออกกำลังกาย

ธารดาว ทองแก้ว."เมื่อใดที่ไม่ควรออกกำลังกาย".หมอชาวบ้าน. 23,247 (พฤศจิกายน 2544) : 48-49.
การออกกำลังกายจะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ แม้ว่าการออกกำลังกายจะมีผลดีต่อสุขภาพนานัปการ แต่ก็มีหลายกรณีที่ควรระมัดระวัง หรืองดออกกำลังกายชั่วคราว ในภาวะใดภาวะหนึ่งของร่างกายดังต่อไปนี้ เจ็บป่วยม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หลังจากฟื้นไข้มาใหม่ ๆ ที่ร่างกายยังอ่อนเพลียอยู่ หากออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายยิ่งอ่อนเพลียและหายช้า หลังการกินอาหารอิ่มใหม่ ๆ เพราะจะทำให้เลือดในระบบไหลเวียนถูกแบ่งไปใช้ในการย่อยอาหาร เพราะฉะนั้นเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนที่ออกกำลังกายก็จะลดลง ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพ และเป็นตระคริวได้ง่าย ช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนจัดและอบอ้าวมาก เพราะร่างกายจะสูญเสียเหงื่อ และนำมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือเป็นลมหมดสติได้ อาการที่บ่งบอกว่าควรหยุดออกกำลังกาย ได้แก่ รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ มีอาการใจเต้นผิดปกติ อาการขัดหรือหายใจไม่ทั่วท้อง อาการเวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้ อาการหน้ามืด ชีพจรเต้นเร็วกว่า 140 ครั้ง/นาที (ในผู้สูงอายุ) หรือ 160 ครั้ง/นาที (วัยหนุ่มสาว)หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นต้องหยุดออกกำลังกายทันที


โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 30 มกราคม 2545