กวี คงภักดีพงษ์."โยคะสำหรับโรคทั่ว ๆ ไป".หมอชาวบ้าน. 23,271 (พฤศจิกายน 2544) : 8 -9.
ในการใช้โยคะเพื่อจัดการกับโรคใดโรคหนึ่ง เราต้องฝึกปฏิบัติเทคนิคต่าง ๆ ของโยคะเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ที่สำคัญ โยคะมีเทคนิคเกียวกับจิตใจ ซึ่งเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างยิ่ง กล่าวได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในเบื้องต้น โยคะแนะนำให้มนุษย์ฝึกปรับทัศนคติของตนเอง ให้มองโลกในแง่บวก ซึ่งถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของการเดินบนเส้นทางแห่งโยคะ เทคนิคของโยคะแบบหนึ่งก็เหมาะสำหรับโลกอีกแบบหนึ่ง ขณะที่บางโรคจะต้องหลีกเลี่ยงเทคนิคเทคนิคโยคะนั้น ในการออกแบบโยคะให้เข้ากับโฌรคของตน โดยจะเน้นการฝึกเทคนิคโยคะทีเอื้อต่อการบำบัดอาการของตนเอง และหลีกเลี่ยงเทคนิคโยคะที่เป็นอันตรายต่อโรคของตัวเอง จากนั้นก้กำหนดตารางเวลาในการฝึก ฝึกทำโยคะโดยส่ำเสมอด้วยทัศนคติที่ว่า เราคือผู้มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการเยียวยา รักษาตนเอง ฝึกทำโยคะด้วยสติ เทคนิคใดที่ทำแล้วรู้สึกดีขึ้น น่าจะเป็นเทคนิคที่เหมาะสม เมื่อฝึกทำไปได้ระยะเวลาหนึ่งจนได้รับผลจากเทคนิคโยคะที่ทำ เห็ษนพัฒนาการที่ดีขึ้น จึงลองหาความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติโยคะของเราให้เหมาะสมกับสภาวะของตนเองที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ค่อย ๆ ดำเนินงานไปที่ละขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่ได้หลงทาง เพื่อให้แน่ใจว่า ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากการฝึกโยคะ
|