อาหาร

      อาหารไทย   เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้น มีเครื่องปรุงหลายอย่าง รสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะ
ตัว การใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ  ก็ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญ
การทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญ และประสบการณ์       ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทย
ผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทาน

 
  รสชาติของอาหารไทย  
  รสเค็ม  
 
           อาหารไทยได้รสเค็มจากน้ำปลาเป็นส่วนใหญ่ การประกอบอาหารไทยเกือบทุกชนิด ถ้าต้องการรสเค็มแล้ว
จะขาดน้ำปลาไม่ได้เลย    สังเกตจากเวลารับประทานอาหาร  จะต้องมีถ้วยน้ำปลาเล็ก ๆ      รวมอยู่ในสำรับอาหาร
แต่บางครั้งนอกจากน้ำปลาแล้วยังใช้เกลือหรือซีอิ๊วขาวเป็นตัวปรุงรสอาหารให้เกิดความเค็ม

 
  รสหวาน  
 
           การประกอบอาหารไทยรสหวาน โดยทั่วไปในอาหารไทยใช้น้ำตาลทรายในการประกอบอาหารแล้ว   ยังมี
น้ำตาลอีกหลายชนิด เช่น  น้ำตาลมะพร้าว  น้ำตาลทรายแดง  น้ำตาลโตนด  น้ำตาลงบ ฯลฯ

 
  รสเปรี้ยว  
 
           อาหารไทยนอกจากจะได้จากน้ำส้มสายชู    แล้วยังมีมะนาว   และที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันมาก  โดยที่
ประเทศอื่น ๆ   ไม่มีใช้ก็คือ  ความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มมะขามเปียก น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า นอกจากนั้นรสเปรี้ยวจาก
ใบมะขามอ่อน  ใบมะดัน  ใบส้มป่อย  มะดัน  ซึ่งรสเปรี้ยวจากสิ่งเหล่านี้มีแต่ในอาหารไทย

 
  รสเผ็ด  
 
           รสชาติอาหารของประเทศใดก็ไม่เผ็ดร้อนเหมือนอาหารไทย        รสเผ็ดที่ได้จากอาหาร มาจากพริกขี้หนู
พริกชี้ฟ้าสด    เรายังนำมาตากแห้งเป็นพริกแห้ง  คั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น   รสเผ็ดเป็นรสที่อาหารไทยจะขาดไม่ได้
ในการประกอบอาหารคาวชนิดที่ต้องมีรสเผ็ด  การจะใส่พริกมากน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการรส
ของผู้บริโภค

 
  รสมัน  
 
           อาหารไทย ได้รสมันจากกะทิและน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ในการประกอบอาหารไทยโดยเฉพาะอาหารประเภท
แกงกับขนมไทย ความมันที่ได้จะมาจากแกงที่ใส่กะทิ เช่นแกงหมูเทโพ แกงเขียวหวาน ขนมชั้น ตะโก้ ฯลฯ ฉะนั้น
รสชาติของอาหารไทย จึงมีความกลมกล่อมจากรสชาติต่าง ๆ


แหล่งอ้างอิง : http://www.tipfood.com/Thaifood/Thaifood_topic1.html

โดย : เด็กชาย เกียรติศักดิ์ นาแซง, ร.รสูงเนิน, วันที่ 29 มกราคม 2547