ทำไม ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
            โดย นายประเสริฐ วงศ์ดาว

นักศึกษาปริญญาโท เอกหลักสูตรและการสอน (ทั่วไป) คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

*******************************************************
ครู เป็นเสมือน พระเอกของการเรียนการสอน
ครูเป็นผู้นำ ในการเรียนการสอน
ครูเป็นเช่นนั้น จริงหรือ ?

คงมีครูหลายคน เห็นด้วย และก็คงมี ครูอีกหลายท่านที่ไม่เห็นด้วย ทำไมเป็นเช่นนั้น? ทั้งๆที่ครู หรือคณาจารย์เราทุกท่านเองก็เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเนื้อหาวิชานั้นๆ ได้ดี แต่วิธีการสอนที่ดี คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้สอนที่จะต้องเลือกวิธีการสอน เลือกรูปแบบการสอนตลอดจนเทคนิคในการสอนเอง มีส่วนประกอบหลายอย่างเกี่ยวกับการเรียนการสอน ที่ทำให้การเรียนการสอนบางครั้งดูจะไม่เกิดประโยชน์เลย ส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆเหล่านี้ได้แก่

1. เนื้อหาวิชา บางอย่างยากมากในการสื่อความหมายให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและเนื้อหาวิชาบางอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและง่ายดาย

2. ผู้เรียน หรือนักศึกษาของเรา แต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษาที่แตกต่างกัน ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือปัจจัยอีกลายๆด้านที่แตกต่างกัน

3. ผู้สอน แน่นอน ย่อมไม่มีสื่อใดจะแทนครูได้ดี แต่หากให้ครูทำหน้าที่สอนอย่างเดียว แน่นอนคงไม่มีใครทำได้ดีในทุกๆครั้งการสอนได้

ทำอย่างไร ล่ะจะสามารถมาช่วยทดแทนหรือ แก้ปัญหานี้ได้

เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวความคิด เครื่องมือและองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดหาวิธีการ การนำไปใช้ การประเมิน และการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

 

 

 

 

"เทคโนโลยีการศึกษา" คือ การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันเนื่องมาจากกระบวนการซับซ้อนของการประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้นมาใช้เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาทางการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา คือการนำวิธีระบบเข้ามาใช้ โดยมีขั้นตอนกว้างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ คือ

- การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจปัญหา, วิเคราะห์ปัญหา
- การเลือกหรือการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา, เลือก, ออกแบบแนวทาง
- การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา, พัฒนา, วิธีการ
- การทดสอบ ประเมินและปรับปรุงวิธีการ, ทดสอบและประเมินผล
- การนำไปใช้และการควบคุมกำกับ, นำไปใช้, ควบคุม


เทคโนโลยีการศึกษา มีขอบข่ายที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน 4 ประการ คือ

1. การจัดการทางการศึกษา(Educational Management Functions)
2. การพัฒนาการศึกษา(Educational Development Functions)
3. ทรัพยากรการเรียน(Learning Resources)
4. ผู้เรียน(Learner)

เราจะกล่าวได้อย่างไรว่าTechnology จะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสีย เกิดประโยชน์หรือโทษอย่างไรก็จะต้องตอบนำไว้เลยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นไปพร้อมๆกันครับ ไม่มีสิ่งใดที่จะก่อให้เกิดผลดีในทุกด้านเป็นที่แน่ชัดอยู่แล้ว แต่อย่าเพิ่งตกใจว่าทำไมผมได้กล่าวถึง Technology ในลักษณะขวานผ่าซากเช่นนี้ เหตุจะเริ่ม และผลที่จะตาม เป็นไปตามคำอธิบายดังต่อไปนี้ครับ

หากเราต้องการจะนำ Technology ที่ต้องการจะเพิ่มเติมความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษาแล้ว ก่อนอื่นจะต้องดูก่อนว่า ระบบการเรียนการสอนของเราสนับสนุนสิ่งที่อยู่ภายใต้คำจำกัดความของ Self studyหรือยัง การปรับปรุงการสอนให้เข้ายุคเข้าสมัยนั้น เป็นเรื่องที่ต้องพึงกระทำแน่ๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

 

ระบบการศึกษาในประเทศไทยยังสอนในเรื่องของวิชาการที่ต้องเป็นหลักสูตรอย่างมากมายให้กับนักเรียน ผลที่ได้คือ เด็กมีความรู้มาก สามารถทำข้อสอบที่มีระดับความยากได้คะแนนดีในระดับหนึ่ง ต่อมาก็สามารถจะสอบเข้าสถาบันการศึกษาอื่นๆได้โดยไม่ยากเย็นนัก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน

หลายๆท่านอาจจะเคยคิดที่จะทำการปฏิรูปการศึกษาให้เปลี่ยนไปเป็นการศึกษาด้วยตนเอง เหมือนอย่างหลักสูตรในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ การให้นักเรียนทำกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลของทางโรงเรียน อาจจะเป็นภายในสถาบันการศึกษาหรือนอกสถาบันการศึกษาก็ได้ โดยใช้เวลาครึ่งวันกับกิจกรรมเสริมความรู้ต่างๆนี้ ผลที่ได้คือ ความรู้ที่ได้รับจะได้น้อยกว่า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแทนที่ก็คือ เรื่องของพฤติกรรม และความสามารถในเชิงการปฏิบัติที่ล้ำหน้ากว่าประเทศไทย

ประการต่อมา (เข้าเป้าและตรงประเด็นหน่อย) ก็คือ เราต้องการให้ Technology เข้ามาช่วยไหม แล้วให้มันมาช่วยทำอะไร และควรจะทำเมื่อไหร่ เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องขบคิดกันก่อน

ต้องการ Information Technology (IT) หรือเปล่า

คำตอบคือ ต้องการ เพราะ IT เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ และความสามารถที่สูงขึ้น และก้าวทันโลกที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การที่จะต้องให้คนทุกคนมีความรู้ในเรื่องของ IT ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Software, Hardware, Internet ทั้งหมดก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ดีแล้วก็คือ อย่างน้อยก็ให้รู้จักกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับมัน

ต้องการ Information Technology เพื่อให้มันมาช่วยทำอะไร

จะกล่าวได้ว่า คนไทยยังใช้งานในเรื่องของเทคโนโลยียังไม่คุ้มค่า (ยกเว้นโทรศัพท์มือถือ) โดยเฉพาะสื่อทางด้าน IT ในกรณีนี้จะขอยกตัวอย่างของ Internet นะครับ Internet ถ้าจะให้มาช่วยงานด้านการศึกษาแล้วนั้น ถ้ามองโดยหลักการผมบอกได้เลยว่า ประโยชน์ที่จะเกิดนั้น ยิ่งกว่าคำว่ามหาศาล เพราะทุกคนทราบดีแล้วว่า Internet เป็นแหล่งข้อมูลที่ยิ่งใหญ่ และเป็นระบบที่สามารถเข้าถึงได้แทบทุกหนทุกแห่ง เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ และใช้งานง่ายที่สุดของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ และการที่ห้องสมุดนั้นใหญ่ และเป็นสิ่งที่อิสระ แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องคัดประเภทของหนังสือแต่อย่างใด ดังนั้น เราแน่ใจมากแค่ไหน ในการที่จะเอา Internet มาใช้ประโยชน์กับการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

 

 

ขอยกกรณีตัวอย่างง่ายๆ เช่น พวกเรานักศึกษาปริญญาโท ผมสามารถบอกได้เลยว่า

ทุกคนจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลจาก Internet เพื่อมาช่วยในการทำรายงาน การส่งงานโดยทาง

e-mail โดยที่นักศึกษาแต่ละคนจะใช้งาน Internet อย่างเกิดประโยชน์ ได้สูง

ดังนั้น ควรจะเริ่มทำเมื่อไหร่

โครงการ School net เป็นโครงการที่จะให้เกิดการสอนหนังสือผ่านสายโทรศัพท์ โครงการนี้เป็นอีกมิติหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา แต่ความสำคัญ และองค์ประกอบหลักๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ การติดตั้งสื่อการสอน การกระจายงานออกสู่ภูมิภาค และในเรื่องของค่าใช้จ่ายยังเป็นปัญหาแน่ๆ ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ถ้าจะบอกว่า เราจะใช้ Internet ได้คุ้มค่ากับระบบการศึกษาได้มากขึ้น และดูแล้ว น่าจะให้กำลังใจกับโครงการนี้มากพอตัวทีเดียว

กล่าวโดยสรุปก็คือ Information Technology นั้น สามารถที่จะทำให้เกิดประโยชน์ได้สูง แต่ด้วยการที่มีบุคคลที่จะให้คำแนะนำ และให้ความรู้ถึงวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นยังมีจำกัด และไม่เป็นที่รับประกันว่า Internet นั้นจะนำผลดีหรือผลเสียมาให้ในระยะเวลาสั้นๆ และไม่รู้ว่าถ้าจะให้ผลดีนั้น จะเป็นในเรื่องของอะไร หรือให้ประโยชน์สูงในด้านไหน (ถ้าไม่ใช่ข่าวก็เป็นเรื่องของการ Chat) ทางที่ดีก็คือ หันมาให้ความรู้กับนักเรียนและนักศึกษาว่า Technology นั้นสามารถใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร นอกจากความสนุกเพลิดเพลิน ถ้าเราปลูกจิตสำนึกเพียงแค่เรื่องของการใช้งานได้ เราก็ไม่ต้องกังวลอะไรอีกแล้วล่ะครับ

โดย นายประเสริฐ วงศ์ดาว
นักศึกษาปริญญาโท เอกหลักสูตรและการสอน (ทั่วไป) คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
*******************************************************
ครู เป็นเสมือน พระเอกของการเรียนการสอน
ครูเป็นผู้นำ ในการเรียนการสอน
ครูเป็นเช่นนั้น จริงหรือ ?

คงมีครูหลายคน เห็นด้วย และก็คงมี ครูอีกหลายท่านที่ไม่เห็นด้วย ทำไมเป็นเช่นนั้น? ทั้งๆที่ครู หรือคณาจารย์เราทุกท่านเองก็เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเนื้อหาวิชานั้นๆ ได้ดี แต่วิธีการสอนที่ดี คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้สอนที่จะต้องเลือกวิธีการสอน เลือกรูปแบบการสอนตลอดจนเทคนิคในการสอนเอง มีส่วนประกอบหลายอย่างเกี่ยวกับการเรียนการสอน ที่ทำให้การเรียนการสอนบางครั้งดูจะไม่เกิดประโยชน์เลย ส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆเหล่านี้ได้แก่

1. เนื้อหาวิชา บางอย่างยากมากในการสื่อความหมายให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและเนื้อหาวิชาบางอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนและง่ายดาย

2. ผู้เรียน หรือนักศึกษาของเรา แต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษาที่แตกต่างกัน ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือปัจจัยอีกลายๆด้านที่แตกต่างกัน

3. ผู้สอน แน่นอน ย่อมไม่มีสื่อใดจะแทนครูได้ดี แต่หากให้ครูทำหน้าที่สอนอย่างเดียว แน่นอนคงไม่มีใครทำได้ดีในทุกๆครั้งการสอนได้

ทำอย่างไร ล่ะจะสามารถมาช่วยทดแทนหรือ แก้ปัญหานี้ได้

เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวความคิด เครื่องมือและองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดหาวิธีการ การนำไปใช้ การประเมิน และการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

 

 

 

 

"เทคโนโลยีการศึกษา" คือ การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันเนื่องมาจากกระบวนการซับซ้อนของการประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้นมาใช้เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาทางการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา คือการนำวิธีระบบเข้ามาใช้ โดยมีขั้นตอนกว้างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ คือ

- การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจปัญหา, วิเคราะห์ปัญหา
- การเลือกหรือการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา, เลือก, ออกแบบแนวทาง
- การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา, พัฒนา, วิธีการ
- การทดสอบ ประเมินและปรับปรุงวิธีการ, ทดสอบและประเมินผล
- การนำไปใช้และการควบคุมกำกับ, นำไปใช้, ควบคุม


เทคโนโลยีการศึกษา มีขอบข่ายที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน 4 ประการ คือ

1. การจัดการทางการศึกษา(Educational Management Functions)
2. การพัฒนาการศึกษา(Educational Development Functions)
3. ทรัพยากรการเรียน(Learning Resources)
4. ผู้เรียน(Learner)

เราจะกล่าวได้อย่างไรว่าTechnology จะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสีย เกิดประโยชน์หรือโทษอย่างไรก็จะต้องตอบนำไว้เลยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นไปพร้อมๆกันครับ ไม่มีสิ่งใดที่จะก่อให้เกิดผลดีในทุกด้านเป็นที่แน่ชัดอยู่แล้ว แต่อย่าเพิ่งตกใจว่าทำไมผมได้กล่าวถึง Technology ในลักษณะขวานผ่าซากเช่นนี้ เหตุจะเริ่ม และผลที่จะตาม เป็นไปตามคำอธิบายดังต่อไปนี้ครับ

หากเราต้องการจะนำ Technology ที่ต้องการจะเพิ่มเติมความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษาแล้ว ก่อนอื่นจะต้องดูก่อนว่า ระบบการเรียนการสอนของเราสนับสนุนสิ่งที่อยู่ภายใต้คำจำกัดความของ Self studyหรือยัง การปรับปรุงการสอนให้เข้ายุคเข้าสมัยนั้น เป็นเรื่องที่ต้องพึงกระทำแน่ๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

 

ระบบการศึกษาในประเทศไทยยังสอนในเรื่องของวิชาการที่ต้องเป็นหลักสูตรอย่างมากมายให้กับนักเรียน ผลที่ได้คือ เด็กมีความรู้มาก สามารถทำข้อสอบที่มีระดับความยากได้คะแนนดีในระดับหนึ่ง ต่อมาก็สามารถจะสอบเข้าสถาบันการศึกษาอื่นๆได้โดยไม่ยากเย็นนัก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน

หลายๆท่านอาจจะเคยคิดที่จะทำการปฏิรูปการศึกษาให้เปลี่ยนไปเป็นการศึกษาด้วยตนเอง เหมือนอย่างหลักสูตรในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ การให้นักเรียนทำกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลของทางโรงเรียน อาจจะเป็นภายในสถาบันการศึกษาหรือนอกสถาบันการศึกษาก็ได้ โดยใช้เวลาครึ่งวันกับกิจกรรมเสริมความรู้ต่างๆนี้ ผลที่ได้คือ ความรู้ที่ได้รับจะได้น้อยกว่า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแทนที่ก็คือ เรื่องของพฤติกรรม และความสามารถในเชิงการปฏิบัติที่ล้ำหน้ากว่าประเทศไทย

ประการต่อมา (เข้าเป้าและตรงประเด็นหน่อย) ก็คือ เราต้องการให้ Technology เข้ามาช่วยไหม แล้วให้มันมาช่วยทำอะไร และควรจะทำเมื่อไหร่ เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องขบคิดกันก่อน

ต้องการ Information Technology (IT) หรือเปล่า

คำตอบคือ ต้องการ เพราะ IT เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ และความสามารถที่สูงขึ้น และก้าวทันโลกที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การที่จะต้องให้คนทุกคนมีความรู้ในเรื่องของ IT ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Software, Hardware, Internet ทั้งหมดก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ดีแล้วก็คือ อย่างน้อยก็ให้รู้จักกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับมัน

ต้องการ Information Technology เพื่อให้มันมาช่วยทำอะไร

จะกล่าวได้ว่า คนไทยยังใช้งานในเรื่องของเทคโนโลยียังไม่คุ้มค่า (ยกเว้นโทรศัพท์มือถือ) โดยเฉพาะสื่อทางด้าน IT ในกรณีนี้จะขอยกตัวอย่างของ Internet นะครับ Internet ถ้าจะให้มาช่วยงานด้านการศึกษาแล้วนั้น ถ้ามองโดยหลักการผมบอกได้เลยว่า ประโยชน์ที่จะเกิดนั้น ยิ่งกว่าคำว่ามหาศาล เพราะทุกคนทราบดีแล้วว่า Internet เป็นแหล่งข้อมูลที่ยิ่งใหญ่ และเป็นระบบที่สามารถเข้าถึงได้แทบทุกหนทุกแห่ง เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ และใช้งานง่ายที่สุดของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ และการที่ห้องสมุดนั้นใหญ่ และเป็นสิ่งที่อิสระ แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องคัดประเภทของหนังสือแต่อย่างใด ดังนั้น เราแน่ใจมากแค่ไหน ในการที่จะเอา Internet มาใช้ประโยชน์กับการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

 

 

ขอยกกรณีตัวอย่างง่ายๆ เช่น พวกเรานักศึกษาปริญญาโท ผมสามารถบอกได้เลยว่า

ทุกคนจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลจาก Internet เพื่อมาช่วยในการทำรายงาน การส่งงานโดยทาง

e-mail โดยที่นักศึกษาแต่ละคนจะใช้งาน Internet อย่างเกิดประโยชน์ ได้สูง

ดังนั้น ควรจะเริ่มทำเมื่อไหร่

โครงการ School net เป็นโครงการที่จะให้เกิดการสอนหนังสือผ่านสายโทรศัพท์ โครงการนี้เป็นอีกมิติหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา แต่ความสำคัญ และองค์ประกอบหลักๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ การติดตั้งสื่อการสอน การกระจายงานออกสู่ภูมิภาค และในเรื่องของค่าใช้จ่ายยังเป็นปัญหาแน่ๆ ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ถ้าจะบอกว่า เราจะใช้ Internet ได้คุ้มค่ากับระบบการศึกษาได้มากขึ้น และดูแล้ว น่าจะให้กำลังใจกับโครงการนี้มากพอตัวทีเดียว

กล่าวโดยสรุปก็คือ Information Technology นั้น สามารถที่จะทำให้เกิดประโยชน์ได้สูง แต่ด้วยการที่มีบุคคลที่จะให้คำแนะนำ และให้ความรู้ถึงวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นยังมีจำกัด และไม่เป็นที่รับประกันว่า Internet นั้นจะนำผลดีหรือผลเสียมาให้ในระยะเวลาสั้นๆ และไม่รู้ว่าถ้าจะให้ผลดีนั้น จะเป็นในเรื่องของอะไร หรือให้ประโยชน์สูงในด้านไหน (ถ้าไม่ใช่ข่าวก็เป็นเรื่องของการ Chat) ทางที่ดีก็คือ หันมาให้ความรู้กับนักเรียนและนักศึกษาว่า Technology นั้นสามารถใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร นอกจากความสนุกเพลิดเพลิน ถ้าเราปลูกจิตสำนึกเพียงแค่เรื่องของการใช้งานได้ เราก็ไม่ต้องกังวลอะไรอีกแล้วล่ะครับ

บรรณานุกรม

http://www.sanook.to/raymika/iti.html

http://www.yonok.ac.th

http://www.kmuyy.ac.th



แหล่งอ้างอิง : http://www.yonok.ac.th

โดย : นาย นายประเสริฐ วงศ์ดาว, สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์, วันที่ 27 มกราคม 2547