ร้านเนตเกลื่อนเมืองแล้วดีหรือ

มีร้านเนต เกลื่อนเมือง แล้วดีหรือ?

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ดิฉันเป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เนต และก็ทราบดีว่าอินเตอร์เนตนั้นมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีโทษมหันต์สำหรับคนที่ใช้ผิดทาง

มารู้จักอินเตอร์เนตกันเถอะ

อินเตอร์เนต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตราฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียวซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร,ภาพกราฟิก และเสียงได้รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

อินเตอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร

รากฐานของอินเตอร์เนตเกิดขึ้นเมื่อประมาณ20ปีมาแล้วโดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANET ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลังจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่นๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลก ดังนั้นอินเตอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะ

ทำไมถึงต้องมีอินเตอร์เนต

ในยุคสังคมข่าวสารข้อมูลดังทุกวันนี้การสื่อสารรูปแบบต่างๆ ถูกพัฒนาขึ้นให้คนเราสื่อสารง่ายที่สุด และสะดวกที่สุดการสื่อสารถึงกันด้วยคำพูดผ่านทางโทรศัพท์ย่อมไม่เพียงพออีกต่อไปเราต้องการมากกว่านั้น เช่น ภาพ เสียง และข้อความ ตัวอักษร รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งอินเตอร์เนตสามารถเข้ามาตอบสนองได้ในจุดนี้

เมื่อเราเชื่อมต่อเครือข่ายของอินเตอร์เนต

เราสามารถติดต่อกับเพื่อนของเราในสหรัฐเมริกาผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เมล์, ข้ามไปค้นหาข้อมูลข้อมูลที่ยุโรปแล้วกอปปี้ไฟล์ไปที่ออสเตรเลีย ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านมหาวิทยาลัย หรือที่ทำงานของเราโดยใช้เวลาทั้งหมดภายในไม่กี่นาทีทำให้การติดต่อสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายก็ยังถูกกว่าวิธีอื่นเมื่อเทียบกับการติดต่อทางโทรศัพท์,การส่งโทรสาร และการส่งข้อมูลผ่านโมเด็มโดยตรงกับปลายทางแล้วการใช้งานผ่านอินเตอร์เนตมีค่าใช้ใช้จ่ายถูกกว่าหลายเท่านี่เป็นเหตุผลหลักที่ว่าทำไมเราต้องใช้อินเตอร์เนตซึ่งนับเป็นการปฏิวัติสังคมข่าวสารครั้งใหญ่ที่สุดในโลก

อินเตอร์เนตทำอะไรได้บ้าง

ในด้านการศึกษาเราสามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เนตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้อินเตอร์เนตจะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ของเราในเวลาไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่งโลกไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, ศิลปกรรม, สังคมศาสตร์, กฎหมาย และอื่นๆ นักศึกษามหาวิทยาลัยสามารถติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นคว้าข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร, ภาพ และเสียงหรือแม่แต่มัลติมิเดียต่างๆ

ในด้านการรับส่งข่างสารผู้ใช้ที่ต่อเข้าอินเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่งโลกในเวลาอันรวดเร็วได้โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำมากเมื่อเทียบกับการส่งจดหมายหรือส่งข้อมูลวิธีอื่นๆ นอกจากนั้นยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น แฟ้มข้อมูลรูปภาพจนไปถึงข้อมูล รูปภาพจนไปถึงข้อมูลที่เป็นรูปภาพและเสียงได้อีกด้วย

ในด้านธุรกิจและการค้าอินเตอร์เนตของเราในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ของเราสามารถเลือกดูสินค้าพร้อมทั้งคุณสมบัติต่างๆ ผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเราแล้วสั่งซื้อและจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต ได้ทันทีซึ่งนับว่าสะดวกและรวดเร็วมากนอกจากนี้ผู้ที่ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของคนผ่านอินเตอร์เนตได้ เช่น การตอบคำถาม, ให้คำแนะนำรวมถึงการให้ข่าวสารใหม่ๆ แก่ลูกค้าได้

ในด้านการบันเทิงเราสามารถเข้าไปเลือกอ่านหนังสือวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เนตได้ ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ดนตรีและอื่นๆ อีกมากมายซึ่งปัจจุบันเราสามารถทำเป็นภาพเลื่อนไหว และมีเสียงประกอบได้อีกด้วย

ความสามารถของอินเตอร์เนต เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษา วิจัยและอยู่ในแวดวงการศึกษาเท่านั้นต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้นทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลกสามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่างๆ มาได้ฟรีสามารถค้นคว้าวิจัยเปรียบเหมือนคุนเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่างๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปห้องสมุดนั้น สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่างๆ สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์, สวนสัตว์เป็นต้น

สิ่งใดๆ ก็ตาม เมื่อมีประโยชน์แล้วก็ย่อมมีโทษด้วยเช่นกัน ปัจจุบันดิฉันขับรถไปทางไหน ก็จะเห็นร้านเนตแทบจะทุกซอกทุกมุมของจังหวัด ราคาชั่วโมงละ 20 บาท ก็ไม่แพงเกินไปที่จะแวะเวียนเข้าไปท่องโลกอินเตอร์เนต หากดูจากนอกร้าน จะเห็นว่ามีเด็กๆ เต็มร้านไปหมด ตอนแรกก็นึกชมว่าเด็กสมัยนี้ดีจัง รู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมแต่ที่ใหนได้ เมื่อเข้าไปดูจริงจัง ร้านเนต ก็ไม่ต่างอะไรไปจากร้านเกมดีๆ นี่เอง!

ดิฉันได้ถามเด็กกลุ่มหนึ่งที่กำลังเล่นเกมอย่างสนุกสนานว่ามาเล่นตั้งแต่เวลาเท่าไหร่ และส่วนใหญ่จะเล่นไปจนถึงกี่โมง ก็ได้คำตอบว่า “ตั้งแต่ร้านเปิดครับจะกลับก็ประมาณสี่โมงเย็น” สรุปว่าเด็กๆ เหล่านี้แล้วจะอยู่ที่หน้าจอถึงประมาณ 8 ชั่วโมง ทางก็ร้านจะมีบริการซื้อข้าว และน้ำดื่มฟรี เพื่อที่เด็กเหล่านี้จะไม่ต้องลุกจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปทางไหน จะได้ไม่ขาดช่วงในการเล่น

เหตุการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์เท่านั้น แต่เมื่อลองสังเกตร้านอินเตอร์เนตในวันจันทร์ ถึงศุกร์ ก็ยังมีเด็กๆ ใส่ชุดนักเรียนไปนั่งเล่นเกมอยู่ในร้านอีก ทั้งๆ ที่เป็นเวลาเรียน ก็ไม่ทราบว่าโรงเรียนอนุญาตให้ออกมาเล่นได้ในช่วงที่มีชั่วโมงว่าง หรือว่าหนีเรียนมาเล่นกันแน่ ! บริการดีๆ ที่เจ้าของร้านมีให้ก็เช่นเคย หาข้าว หาน้ำดื่มมาให้ถึงที่ ช่างไม่นึกเลยว่าหากลูกหลานของตนหนีเรียนมาเล่นเกมอย่างนี้แล้วจะรู้สึกเช่นไร

การที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวภายหลังหารือกับชมรมผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เนตแห่งประเทศไทยว่า “กระทรวงฯ ได้ขอให้ชมรมผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เนตไปตรวจสอบร้านอินเตอร์เนตที่ดีและไม่ดี โดยตั้งกรอบพิจารณาร้านอินเตอร์เนตที่ควรส่งเสริมต้องประกอบด้วย การกำหนดห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เข้าใช้บริการหลังเวลา ๒๒.๐๐ น. ห้ามนักเรียนในเครื่องแบบเข้าใช้บริการในช่วงเช้า ถึง ๑๔.๐๐ น. ไม่ขายของมึนเมาและอบายมุขภายในร้าน และต้องออกแบบร้านที่มีรูปแบบที่โปร่งใสทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัย เพื่อให้มีกิจการร้านอินเตอร์เนตที่ดีแพร่หลาย เป็นแหล่งสืบค้นความรู้ของประชาชน” ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรเลยหากผู้ประกอบการยังไร้ซึ่งคุณธรรม และทางตำรวจไม่มีความเข้มงวดในเรื่องนี้

กิจการร้านอินเตอร์เนต นั้นเปิดบริการเพื่อเป็นแหล่งสืบค้นความรู้ของประชาชน แต่เมื่อเปิดบริการแล้วมิได้เป็นไปตามเป้าหมาย กลับนำไปใช้ส่งเสริมเด็กไปไปในทางที่ผิดอย่างยิ่ง อนาคตเด็กไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้าหากมีร้านอินเตอร์เนตอย่างนี้แพร่หายไปทั่วประเทศ มาถึงตรงนี้แล้วผู้เขียนจึงอยากจะถามว่า “ดีแล้วหรือเมื่อมีร้านอินเตอร์เนตเกลื่อนเมือง”


โดย : นาง อรอนงค์ รักนิยม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์, วันที่ 26 มกราคม 2547